ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองมหานาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ซึ่งปัจจุบันลูกหลานของชาวเขมรและลาวที่ถูกเกณฑ์มาขุดคลองเหล่านี้ ก็ได้รับโปรดเกล้าให้ตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งคลองหนึ่งในนั้นคือชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็น[[ชาวจาม|มุสลิมเชื้อสายจาม]]จากกัมพูชาที่ถูกกวาดต้อนมายกครัว จึงเรียกว่าบ้านครัว และยังมีลูกหลานตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน<ref>สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''กรุงเทพฯ มาจากไหน?''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 115-116</ref><ref name= "ปราณี">ปราณี กล่ำส้ม. ''ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๑]''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. 2549, หน้า 233-234</ref>
 
ครั้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้ขุด[[คลองแสนแสบ]]ต่อคลองมหานาคบริเวณ[[วัดบรมนิวาส]]ออกไปทาง[[บางกะปิ]]ทะลุออก[[จังหวัดฉะเชิงเทรา|เมืองฉะเชิงเทรา]]สำหรับขนส่งกำลังคนและเสบียงในช่วง[[อานัมสยามยุทธ]]<ref name= "ปราณี"/> และในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงโปรดเกล้าให้ขุดมาบรรจบกับ[[คลองผดุงกรุงเกษม]]<ref name= "สารานุกรม"/> นอกจากนี้ยังมี[[คลองจุลนาค]]ที่ขุดเชื่อมคลองมหานาคกับ[[คลองเปรมประชากร]]ด้วย ทำให้ผู้คนสัญจรทางน้ำได้อย่างสะดวก
 
ปัจจุบันคลองมหานาคช่วงต่อกับคลองแสนแสบนั้นประสบปัญหาภาวะน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็นแรงเนื่องจากขยะที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางจากชุมชนแออัดที่เรียงรายโดยรอบ<ref>{{cite web |url= http://www.thairath.co.th/content/571295 |title= นี่หรือนครแห่งการท่องเที่ยว อเมซิ่งกรุงเทพฯ คนมักง่ายกับเมืองน้ำเน่า! |author= สุจิตต์ วงษ์เทศ |date= 2 กุมภาพันธ์ 2559 |work= ไทยรัฐออนไลน์ |publisher=|accessdate=10 มีนาคม 2560}}</ref>