ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่งเบงกอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 171.96.182.17 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
}}
 
'''เสือโคร่งเบงกอล''' ([[ภาษาเบงกาลี|เบงกาลี]]:বাঘ, [[ภาษาฮินดี|ฮินดี]]: बाघ; {{lang-en|Bengal tiger, Royal bengal tiger}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Panthera tigris tigris}}) เป็น[[เสือโคร่ง]][[ชนิดย่อย]]ชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจาก[[เสือโคร่งไซบีเรีย]] (''P. t. altaica'') ที่พบในแถบ[[ไซบีเรีย]] [[ประเทศรัสเซีย]]
 
เสือโคร่งเบงกอล ตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 [[เซนติเมตร]] หนัก 180-270 [[กิโลกรัม]] ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140-140–180 กิโลกรัม
 
การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาค[[เอเชียใต้]] ใน[[ประเทศอินเดีย]], [[เนปาล]], [[บังกลาเทศ]] และกระจายเข้าไปในแถบ[[ประเทศพม่า]]ด้วย
 
สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้[[สูญพันธุ์]] เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และ[[กระดูก]], อวัยวะ เป็นยา[[สมุนไพร]]ตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่า เป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัว ในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอล เป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่น[[ละครสัตว์]]ได้<ref>นิตยสาร SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 คอลัมน์ สัตว์ป่าน่ารู้ หน้า 201-213 โดย พัชรินทร์ ธรรมรส</ref>
 
เสือโคร่งเบงกอล ขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ใน[[คริสต์ทศวรรษ 1920|คริสต์ทศวรรษที่ 20]] มีเสือโคร่งเบงกอลฆ่าคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์มากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ<ref>''Tigers'', "Biggest & Baddest". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 23 มกราคม 2556</ref> โดยเฉพาะใน[[ซันดาร์บังส์สุนทรพนะ]] ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีใส่มนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี <ref>''Killer Tigers'', "World's Deadliest Towns". สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557</ref>
 
== อ้างอิง ==