ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเสริม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
 
'''หลวงพ่อพระเสริม''' เป็น[[พระพุทธรูป]]ศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ ปางขัดสมาธิราบ[[ปางมารวิชัย]] หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามมาก ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร[[วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร]]
 
== ประวัติ ==
 
ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระราชธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์[[ล้านช้าง]]เวียงจันทน์ (บางท่านซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นพระาชธิดาของสมเด็จ[[พระไชยเชษฐาธิราช]]มหาราช พระมหากาัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง-ล้านนา) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอด[[พระพุทธศาสนา]] แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า [[พระสุก]] '''พระเสริม''' และ[[พระใส]] พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลางองค์กลาง ส่วนพระใสประจำคนองค์สุดท้อง
 
ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านบ้านเมืองและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นำเป็นเวลา 7 วัน แล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือญาครู (หลวงตา) กับ[[สามเณร]]น้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ ญาครู (หลวงตา) กับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ฝ่ายญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ ดูแล้วพระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า แล้ว และไม่เห็นส่วนชีปะขาวแล้วได้หายตัวไปไร่ร่องรอย
 
หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงที่[[อาณาจักรล้านช้าง]] ณ นครหลวงเวียงจันทน์มาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาประดิษฐานไว้ดังที่เดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนคร[[เวียงจันทน์]]ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] ได้เกิดกบฏเหตุการณ์การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระ[[เจ้าอนุวงศ์]]ขึ้นที่เมืองนครหลวง[[เวียงจันทน์]] [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ทำลายเมือง[[เวียงจันทน์]]เสียสิ้น จึงให้[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์]]ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมือง[[เวียงจันทน์]]สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญ[[พระสุก]] พระเสริม และ[[พระใส]]มาที่[[จังหวัดหนองคาย]] ตามหลักฐานทางเอกสารของลาวและอีสานเห็นว่าเป็นการปล้นชิงพระพุทธรูปทั้ง 3 โดยฝ่ายสยาม
 
มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองนครหลวง[[เวียงจันทน์]]โดยตรง แต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพ[[ไม้ไผ่]]ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของ[[พระสุก]]ได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียง ชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
[[ไฟล์:Luangphosermwatpatumwanaram.jpg|250px|thumb|[[พระเสริม]] [[วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร]] [[กรุงเทพมหานคร]] อัญเชิญมาจากกรุง[[เวียงจันทน์]]]]
 
ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงบริเวณปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง [[อ.โพนพิสัย]] [[จ.หนองคาย]] ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง [[พระสุก]]ได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และ[[พระใส]]มาถึง[[หนองคาย]] ชาวลาวและชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่าพระสุกไม่ปรารถนาจะไปประดิาฐานอยู่กรุงเทพมหานคร สำหรับพระเสริมนั้นสยามได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ [[วัดโพธิ์ชัย]] ส่วน[[พระใส]]ได้ อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน
 
ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยัง[[กรุงเทพ]]มหานคร ขุนวรธานีจะอัญเชิญ[[พระใส]]ไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหาริย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญ[[พระใส]]มาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไป[[กรุงเทพฯกรุงเทพ]]มหานคร เมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญ[[พระใส]]มาได้ นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า ชาวลาวเมืองหนองคายและเวียงจันทน์พากันชุมนุมขัดขวางไม่ยอมให้อัญเชิญพระใสไปกรุงเทพมหานคร
 
ส่วนพระเสริมที่อัญเชิญไป[[กรุงเทพฯกรุงเทพ]]มหานคร เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจาก[[หนองคาย]] เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ใน[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อนรับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม จากหลักฐานใน ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงระบุว่า[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมือง[[หนองคาย]]ไปประดิษฐานยัง[[พระบวรราชวัง]] ตั้งพระทัย ว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานใน[[วัดบวรสถานสุทธาวาส]]
 
ต่อมา เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจาก[[พระบวรราชวัง]] ไปประดิษฐานยังพระวิหาร[[วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร]] ตราบจนถึงทุกวันนี้
 
[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูป[[ล้านช้าง]]ที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร[[ล้านช้าง]] และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขต[[ล้านช้าง]]โดยฝีมือช่าง[[ลาวพุงขาว]]