ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จารกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pi@k (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
เรื่องราวเกี่ยวกับจารกรรมปรากฏในประวัติศาสตร์ตลอดมา [[ซุนวู]]กล่าวถึงการหลอกลวงและ[[การบ่อนทำลาย]] [[อียิปต์โบราณ]]พัฒนาระบบของการได้มาซึ่งข่าวกรอง โดยชาว[[ฮิบรู]]ก็ใช้ระบบนี้
 
โดยทั่วไป จารกรรมที่กระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ[[กบฏ|การกบฏ]] หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น [[สหรัฐอเมริกา]]กำหนดให้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหามักได้รับข้อเสนอลดหย่อนโทษโดยแลกกับข้อมูลข่าวสาร
 
ใน[[สหราชอาณาจักร]] จารชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี ภายใต้ [[พระราชบัญญัติความลับของทางราชการ]] ขณะที่จารชนชาวอังกฤษที่เป็นสายลับให้ต่างชาติ และพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือศัตรู จะถูกพิพากษาในข้อหา[[การกบฏ]] รับโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ จารชนที่ทำงานให้[[ผู้ก่อการร้าย]]ยังถือว่ากระทำผิด[[พระราชบัญญัติการก่อการร้าย ค.ศ. 2000]]
 
ในระหว่าง[[สงครามเย็น]] มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับ[[จารกรรมในสงครามเย็น|จารกรรม]]บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้าน[[อาวุธนิวเคลียร์]] ปัจจุบันใช้สายลับกับ[[การค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมาย]]และ[[การก่อการร้าย]]