ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตั๋งโต๊ะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 171:
===การปกครองอย่างโหดร้าย===
 
เมื่อเห็นว่า ไม่มีผู้ใดจะปราบปรามตนได้แล้ว เมื่อย้ายพระนครมายัง[[ฉางอาน]]/เตียงฮัน ได้สองเดือน ต่ง จั๋ว เห็นว่า ไม่มีผู้ใดจะปราบปรามตนได้แล้ว ก็ตั้งตำแหน่ง[[ราชครู]] (太師) ให้แก่ตนเอง อันเป็นตำแหน่งแต่โบร่ำโบราณที่[[หวัง หมั่ง]]/อองมัง (王莽) ให้นำกลับมาใช้หลังจากยึดอำนาจจากราชสกุล[[หลิว (นามสกุล)|หลิว]] (劉) แห่ง[[ราชวงศ์ฮั่น]]ได้ แต่พอสกุลหลิวคืนอำนาจ ก็ให้เลิกใช้ไป นอกจากนี้ ต่ง จั๋ว ยังตั้งต่ง หมิน (董旻) น้องชาย เป็นทหารฝ่ายซ้ายประจำตัว และตั้งยศถาบรรดาศักดิ์ให้ญาติพี่น้องถ้วนหน้า เพื่อรวบอำนาจในราชสำนัก
 
ต่ง จั๋ว ให้สร้างคฤหาสน์ส่วนตัวใน[[เทศมณฑลเหมย์]] (眉縣) หมายใจจะอาศัยอยู่ที่นั่นอย่างมีชีวิตยืนยาวกว่าพวกที่มาต่อต้านตน ต่ง จั๋ว ยังให้เลี้ยงโต๊ะใหญ่โตเนือง ๆ ระหว่างเลี้ยงก็ให้เอานักโทษมาทรมานเล่นเป็นการรื่นเริง เช่น ให้ตัดแขนตัดขาควักลูกตานักโทษออกมาดูเล่น โดยต้องตัดลิ้นออกก่อน จะได้ไม่ส่งเสียงน่ารำคาญระหว่างถูกทรมาน แต่ทำทั้งนี้ต้องอย่าให้ตาย เพื่อจะได้โยนลงกระทะน้ำมันเดือดต่อไป พอสุกแล้วยกขึ้นม้วนเป็นก้อนไว้กลางงานให้แขกเหรื่อชมดู แขกทั้งหลายกระอักกระอ่วนใจในภาพน่าสังเวชที่ปรากฏเบื้องหน้า มีเพียงต่ง จั๋ว ที่ชื่นชมยินดี<ref>(于坐中先断其舌,或斩手足,或凿眼,或镬煮之,未死,偃转杯案闲,会者皆战栗亡失匕箸,而卓饮食自若。) Dong had very specific treatment for betrayers, with punishments even more severe than the ones applied to enemy captives. The betrayers would experience prolonged suffering during the process.</ref>