ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
ในปี [[พ.ศ. 2311]] [[เจ้าพระตา]]กับ[[เจ้าพระวอ]] เกิดผิดพระทัยกันกับสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ หรือสมเด็จ[[พระเจ้าสิริบุญสาร]]แห่งนคร[[เวียงจันทน์]] จึงอพยพไพร่พลมาตั้งแข็งข้ออยู่เมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งพระราชบิดาของตนเคยปกครองมาก่อน อันมีสาเหตุมาจากเจ้าพระตาปรารถนาจะเป็นเจ้ามหาอุปราชแห่งนครเวียงจันทน์ โดยที่ตนมิใช่เชื้อสายของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารก็ปรารถนาจะให้พระธิดาของเจ้าพระตาไปเป็นหม่อมห้าม เพื่อสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างเจ้านายราชวงศ์เวียงจันทน์และเจ้านายราชวงศ์เชียงรุ้งซึ่งเคยมีมาแต่ครั้งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ฝ่ายนครเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งแต่เดิมเป็น[[เมืองขอบด่าน]]ขึ้นแก่นครเวียงจันทน์มาก่อน การต่อสู้นั้นใช้ระยะเวลายาวนานอยู่ถึง 3 ปี ฝ่ายเมืองหนองบัวลุ่มภูเห็นว่านานไปจะสู้ฝ่ายนครเวียงจันทน์ไม่ได้ จึงส่งทูตไปขอกองทัพจากพม่าที่นคร[[เชียงใหม่]]มาช่วยรบ แต่กองทัพพม่าได้ยกมาสมทบกับกองทัพนครเวียงจันทน์ตีเมืองหนองบัวลุ่มภูแตก เป็นเหตุให้เจ้าพระตาสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ฝ่ายเจ้าพระวอกับเจ้าคำผงและพวกจึงต้องทิ้งเมืองหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนได้ไปพึ่งพระราชบารมีใน[[สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร]]แห่ง[[นครจำปาศักดิ์]] โดยตั้งค่ายอยู่บ้านดู่บ้านแก แขวงเมืองจำปาศักดิ์ ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมารทรงแบ่งรับแบ่งสู้ด้วยทรงเป็นว่าอาจเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนครเวียงจันทน์กับนครจำปาศักดิ์ร้าวฉานได้ แต่ก็ทรงพระเมตตาขอเอาเจ้านางตุ่ย พระธิดาใน[[เจ้ามหาอุปฮาชธรรมเทโว]] อุปราชนครจำปาศักดิ์ ให้เป็นพระชายาของเจ้าคำผง และทรงแต่งตั้งให้เจ้าคำผงเป็นที่ '''พระปทุมสุรราช''' ผู้ช่วยเจ้าพระวอ นายกองนอก ต่อมาพระปทุมสุรรราช (เจ้าคำผง) จึงทรงขออพยพไพร่พลมาอยู่[[ดอนมดแดง]] และสถาปนาเมืองขึ้นชั่วคราว คนทั่วไปเรียกว่า เมืองดอนมดแดง
 
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบว่า เจ้าพระวอกับพวกมาตั้งอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแกแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ และเจ้าพระวอมีกำลังพลน้อยตั้งขัดแข็งอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุโพยกทัพมาตีค่ายบ้านดู่บ้านแกแตก เป็นเหตุให้เจ้าพระวอสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ฝ่ายพระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) เห็นว่าจะสู้กองทัพนครเวียงจันทน์ไม่ได้ จึงให้ท้าวก่ำพระอนุชา (ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองเขมราฐธานี) นำพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจาก[[สมเด็จพระเจ้ากรุงเจ้าเมืองธนบุรี]] พระองค์(สิน) เจ้าเมืองธนบุรี (สิน) จีงโปรดเกล้าฯ ให้[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]ยกทัพมาช่วย เมื่อทราบสาเหตุจากพระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) แล้ว สยามจึงยกทัพตามตีทัพพระยาสุโพไปจนถึงนครเวียงจันทน์ ได้รบกันอยู่นาน 4 เดือน นครเวียงจันทน์จึงแตกเมื่อ [[พ.ศ. 2322]] ส่งผลให้หัวเมืองลาวและหัวเมืองของชาติพันธุ์ต่างๆ ในแถบสองฝั่งแม่น้ำโขงทั้งฝั่งอีสานและฝั่งลาวถูกเผาจนย่อยยับ (สงครามครั้งนี้ส่งผลให้[[อาณาจักรล้านช้าง]]ทั้ง 3 แห่ง ตลอดจนราชธานีใหญ่ๆ ในลาวและอีสานตกเป็น[[ประเทศราช]]ของ[[สยาม]]สืบมา จนกระทั่งสยามเสียดินแดนเหล่านี้ให้แก่[[ฝรั่งเศส]]ในสมัยรัชกาลที่ 5)
 
ในปี [[พ.ศ. 2319]] เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ดอนมดแดง พระประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) จึงพาไพร่พลอพยพหนีน้ำมาอยู่ที่ดอนริมห้วยแจระแม (อยู่เหนือตัวเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันประมาณ 8 ก.ม.) เมื่อน้ำลดลงจึงย้ายไปอยู่ที่ดงอู่ผึ้งริมฝั่ง[[แม่น้ำมูล]]เพื่อสร้างเมืองใหม่คนทั่วไปเรียกว่า '''เมืองอู่บน''' ฝ่ายสยามเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงบังคับขู่เข็ญให้พระปทุมสุรราช (เจ้าคำผง) เป็นเมืองขึ้นของธนบุรี เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่สยามเคยยกทัพมาช่วยเหลือ โดยที่ฝ่ายเจ้าพระปทุมสุรราช (คำผง) และพี่น้องของพระองค์เองก็หาได้พอพระทัยไม่ เมื่อสร้างเมืองแล้วเสร็จฝ่ายพระปทุมสุรราช (คำผง) จึงจำใจมีใบบอกลงไปกราบทูลพระเจ้ากรุงเจ้าเมืองธนบุรี (สิน) ขอตั้งเป็นเมืองขึ้น [[พระเจ้ากรุงเจ้าเมืองธนบุรี (สิน)]] จึงให้ตั้งเมืองตามที่ขอไปว่า '''เมืองอุบล''' เพื่อรำลึกถึงเมืองหนองบัวที่เจ้านายเมืองอุบลทั้งหลายได้จากมา แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระปทุมสุรรราชเป็น '''พระปทุมราชวงศา''' เจ้าเมืองอุบลพระองค์แรกเมื่อ [[พ.ศ. 2321]] ครั้นสยามเปลี่ยนแผ่นดินใหม่และเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่แล้วสยามก็ยังคงบังคับให้เมืองอุบลเป็นเมืองขึ้นของสยามอยู่
 
ต่อมาเมื่อพระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง) ร่วมมือกับเจ้าฝ่ายหน้า (ท้าวเจ้าฝ่ายหน้า) ผู้เป็นพระราชอนุชา ซึ่งไปตั้งกองนอกเก็บส่วยอยู่ที่บ้านสิงห์โคกสิงห์ท่า ([[ยโสธร|เมืองยโสธร]]หรือเมืองยศสุนทรในเวลาต่อมา) และถูกบังคับให้ช่วยเหลือกองทัพเมืองนครราชสีปราบปราม[[กบฏอ้ายเชียงแก้ว]]ได้ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]มหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระประทุมราชวงศา ดำรงพระยศเป็นที่ '''พระปทุมวรราชสุริยวงษ''' และทรงยกเมืองอุบลขึ้นเป็น '''เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช''' ยกฐานะเมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองประเทศราช (ลาวเรียกว่า เมืองลาดหรือเมืองสุทุดสะราช) ให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 [[จุลศักราช]] 1154 ([[พ.ศ. 2335]]) ส่วนเจ้าฝ่ายหน้า (ท้าวหน้า) พระราชอนุชาก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ มีพระอิสริยยศบรรดาศักดิ์เป็นที่ เจ้า[[พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช]] เพื่อเป็นการแก้แค้นที่เจ้านครจำปาศักดิ์องค์เดิมไม่ยอมให้ความช่วยเหลือฝ่ายของตน เมื่อครั้งทัพนครเวียงจันทน์ยกมาตี เหตุการณ์นี้ยังนำมาซึ่งความไม่พระทัยของบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายจำปาศักดิ์สายเดิมซึ่งจะมีสิทธิ์ในการขึ้นเสวยราชย์นครจำปาศักดิ์ในลำดับถัดไปด้วย
 
==พระราชประวัติจากพงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณเอกสารฝ่ายสยาม==