ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำไย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 21:
'''ลำไย''' {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Dimocarpus longan}}(มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) วงศ์ Sapindaceae เป็นพืชพื้นเมืองในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ บังกลาเทศ พม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด
== ประวัติ ==
ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย้่ฟำเกด้ัีหิอก่าิเ่า ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดฟพเฟหกดื เาส้่กดสว ้่ ฟาสดกื้กกืเ่าห้ดไำีรดะ้ีรหก้เาสฟหกดืเ่า้า่ฟห้าเ่้พ่ร้ืะาสดทาส้่สเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือRuYaของจีนเมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ. 1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ในประเทศไทย ทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก "ลำไยกะลา" <ref name = "ลำไย">นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 203 - 205</ref>ในสมัยรัชการลที่ 5 มีชาวจีนนำพันธู์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จำนวน 5 ต้น เป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3 ต้น ที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2 ต้น<ref name = "ลำไย"/> หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญ ศัพทเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ลำไย"