ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทวสถานโบสถ์พราหมณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
== สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม == เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า จะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป
ลิงก์พร่ำเพรื่อ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bkkdevasathan0609a.jpg|thumb|เทวสถาน กรุงเทพมหานคร]]
'''[[เทวสถาน]]''' สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''เทวสถานโบสถ์พราหมณ์''' เป็น[[โบสถ์พราหมณ์]] ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ใกล้[[เสาชิงช้า]] และ[[ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]]
 
'''เทวสถาน''' สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''เทวสถานโบสถ์พราหมณ์''' เป็น[[โบสถ์พราหมณ์]] ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ใกล้[[เสาชิงช้า]] และ[[ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]]
 
== ประวัติ ==
เส้น 8 ⟶ 7:
เทวสถานได้ขึ้นทะเบียนเป็น[[โบราณสถาน]]สำคัญของชาติ ประกาศไว้ใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 หน้าที่ 5281 ลำดับที่ 11 ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/064/5280.PDF ประกาศกรมศิลปากร เรื่องกำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน], ตอนที่ 64, เล่ม 66, 22 พฤศจิกายน 2492, หน้า 2580</ref>
 
== สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ==
เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า จะมี[[เทวสถาน|เทวาลัย]]ขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐาน[[เทวรูป ]][[พระพรหม]] (พระผู้สร้าง) ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2515 ภายใน[[เทวสถาน]] จะมี[[เทวสถาน|โบสถ์]]อยู่ 3 หลัง คือ<ref name="ประวัติ"/>
* '''สถาน[[พระศิวะ|พระอิศวร]]''' (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลัง[[เทวสถาน|เทวาลัย]][[พระพรหม]])''' ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล [[เทวสถาน|โบสถ์]]หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามี[[เทวรูป]][[ประติมากรรม|ปูนปั้นนูนต่ำ]] รูป[[พระศิวะ|พระอิศวร]] [[พระปารวตี|พระแม่อุมา]] และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย ภายในสถาน[[พระศิวะ|พระอิศวร]] มีเทวรูป [[พระศิวะ|พระอิศวร]] ประทับยืน และยังมี[[เทวรูป]]ขนาดกลางอีกสามสิบเอ็ดองค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจา มี[[ศิวลึงค์]]สององค์ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐาน[[เทวรูป]] [[พระพรหม]]สามองค์ [[พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)|พระราชครูวามเทพมุนี]]เป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 และ[[พระสรัสวดี]] สองข้างแท่นลด มี[[เทวรูป]][[พระศิวะ|พระอิศวร]]ทรงโคนันทิ และ [[พระปารวตี|พระอุมา]]ทรงโคนันทิ ทางด้านซ้ายมือเป็นที่ประดิษฐาน[[เทวรูป]][[แห่นางดาน|นางกระดาน]]สามองค์สำหรับใช้ในการ[[พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย]] ประกอบด้วย[[แห่นางดาน|นางกระดาน]][[พระแม่ธรณี|พระแม่ธรณี]] (แผ่นซ้าย) [[แห่นางดาน|นางกระดาน]][[พระแม่คงคา|นางพระคงคา]] (แผ่นกลาง) และ[[แห่นางดาน|กระดาน]][[พระอาทิตย์]] และ[[พระจันทร์]] (แผ่นริม) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ใน[[พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย]] ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ ([[พระศิวะ|พระอิศวร]] [[พระปารวตี|พระอุมา]] [[พระพิฆเนศ|พระคเณศ]]) วันแรม 5 ค่ำ เดือนยี่ ([[พระวิษณุ|พระนารายณ์]]) และวันแรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ([[พระพรหม]]) พิธีช้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|รัชกาลที่ 1]] ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ภายหลังจากที่[[พระราชครูวามเทพมุนี]] ได้จัดสร้าง[[เทวรูป]][[พระพรหม]]ถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ พระนักษัตร
*'''สถาน[[พระพิฆเนศ|พระพิฆเนศวร]]''' (โบสถ์กลาง)''' สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูป[[เทวรูป]]ปูนปั้นเหมือนสถาน[[พระศิวะ|พระอิศวร]] ภายในโบสถ์มี[[เทวรูป]][[พระพิฆเนศ|พระพิฆเนศวร]]ห้าองค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ หินเกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์
* '''สถาน[[พระวิษณุ|พระนารายณ์]]''' (โบสถ์ริม)''' สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถาน[[พระพิฆเนศ|พระพิฆเนศวร]] ภายในประดิษฐานบุษบกสามองค์เคียงกันประกอบด้วย[[เทวรูป]] [[พระลักษมี]] (บุษบกองค์ซ้ายมือ)[[พระวิษณุ| พระนารายณ์]] (บุษบกองค์กลาง) [[พระมเหศวรี]] (บุษบกองค์ขวามือ) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์
นอกจากนี้ยังมี '''หอเวทวิทยาคม''' อยู่ภายใน[[เทวสถาน|โบสถ์พราหมณ์]]อีกด้วย ซึ่งจัดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ เก็บรวบรวมสรรพวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดี พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ทาง[[ศาสนาพราหมณ์]] [[โหราศาสตร์]] วัฒนธรรมประเพณี และยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บำเพ็ญกุศล แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถา อภิปรายสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกันตามโอกาสอันควร หอเวทวิทยาคมแห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมสรรพวิทยาการด้านประเพณีและพิธีกรรมแห่งหนึ่งใน[[ประเทศไทย]] เปิดให้ประชาชนเข้าไปค้นคว้าเพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ[[ศาสนาพราหมณ์]]-[[ศาสนาฮินดู|ฮินดู]] 
 
== การปกครองของงานพราหมณ์ ==
 
== อ้างอิง ==
1. * http://www.devasthan.org/index.html<nowiki/>{{รายการอ้างอิง|http://www.devasthan.org/index.html=}}
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 31 ⟶ 30:
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:ศาสนสถานในกรุงเทพมหานคร]]
{{โครงสถานที่}}