ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสุรนารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eurodyne (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 171.5.250.185 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 171.4.17.70
บรรทัด 25:
 
== อนุสาวรีย์ ==
[[ไฟล์: เสด็จพระราชดำเนิน อนุสาวรีย์.jpg|left|thumb|[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] เสด็จวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี]]
[[ไฟล์:Yamo_statue_2477.jpg|thumb|left|175px|อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีบนฐานอนุสาวรีย์เดิม [[พ.ศ. 2477]]
[[ไฟล์:Yamo_cinerary_urn.jpg|thumb|175px|กู่อัฐิท้าวสุรนารี วัดพระนารายณ์มหาราช]]
เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ [[วัดศาลาลอย]]ซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้
เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี ([[สอาด สิงหเสนี]]) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง ([[วัดพระนารายณ์มหาราช]]) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ [[7 มิถุนายน]] ร.ศ.118 ([[พ.ศ. 2442]])
ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ ([[ดิส อินทรโสฬส]]) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาว[[นครราชสีมา ]]ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วย[[ทองแดง|สัมฤทธิ์]] ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ [[ศิลป์ พีระศรี|ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี]] เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัย [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] [[ไฟล์:พิธิเปิด.jpg|thumb|175px|พิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี<br />บนฐานอนุสาวรีย์ใหม่<br />ปี [[พ.ศ. 2510]]ทั้งนี้ได้อัญเชิญอัฐิของท่านนำมาบรรจุไว้ที่ฐานรองรับ และประดิษฐานไว้ ณ ที่หน้า[[ประตูชุมพล]] อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรี คนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 แล้วเสร็จ และ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2477]]<ref>[http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=78 วันนี้ในอดีต]</ref>
ในงานพิธีเปิดนี้ จึงได้มีการสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก โดยมี สมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น - พระอาจารย์เสาร์ ร่วมพิธีปลุกเสกที่ วัดสุทธจินดา ชาวเมืองนครราชสีมารัก และหวงแหนเหรียญรุ่นนี้กันมาก เพราะถือกันว่านี่คือ '''เหรียญแห่งชัยชนะ''' เพื่อศรีสง่าแห่งบ้านเมือง และเชิดชูเกียรติ ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาล<ref>[http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0110 ประวัติและเหรียญท้าวสุรนารีรุ่นแรก]</ref> และทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นโบราณสถานวัตถุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม [[พ.ศ. 2480]]<ref>[http://www.archae.go.th/Monument/Eastern/NakornRachasima.asp ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสำหรับชาติ, เล่มที่ ๕๔, เล่มที่ ๒๒๘๕]</ref>
ครั้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2510]] ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการ และประชาชนชาว[[นครราชสีมา ]]โดยนาย[[สวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์]] ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เป็นประธาน ได้ร่วมใจกันสร้าง ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2510]]<ref>'''จารึกประวัติการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี''' (หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี), เทศบาลนครนครราชสีมา, นครราชสีมา, 2530</ref>
<center>
<gallery>
ไฟล์:Yamo_coin_2477.jpg|เหรียญที่ระลึกในงานพิธีเปิด<br /> [[พ.ศ. 2477]] (ด้านหน้า)
ไฟล์:Yamo_coin_2477_2.jpg|เหรียญที่ระลึกในงานพิธีเปิด<br />พ.ศ. 2477 (ด้านหลัง)
</gallery>