ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน"
ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
'''พระเจ้าซ็อนโจ''' ({{lang-ko|선조 宣祖}}) เป็นกษัตริย์[[ราชวงศ์โชซ็อน]]องค์ที่ 14 ([[พ.ศ. 2110]] ถึง [[พ.ศ. 2151]]) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดของ[[เกาหลี]]และมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้ง[[การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)|การรุกรานของญี่ปุ่น]]และการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น [[ลีซุนชิน]] [[ลีฮวาง]] [[ลีอี]] แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก
องค์ชายฮาซง เป็นพระโอรสขององค์ชายทอกกึง ซึ่งเป็นพระโอรสของ[[พระเจ้าจุงจง]]กับพระสนมอันชางบิน
== การแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิม ==
เช่นเดียวกับกษัตริย์เกาหลีองค์อื่น ในระยะแรกของรัชสมัยของพระเจ้าซ็อนโจ
เพื่อที่จะพัฒนาประเทศ พระเจ้า
ขุนนางฝ่ายซานิมจึงแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่สนับสนุนชิมอึยกยอม เรียกว่า '''ฝ่ายตะวันตก''' (ซออิน) เพราะชิมอึยกยอมอาศัยทางตะวันตกของ [[โซล|ฮันซอง]] ประกอบด้วยขุนนางอาวุโส เพราะชิมอึยกยอมมีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์ จึงมีขุนนางเก่าสนับสนุนมาก ออกไปทางอนุรักษนิยม ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนคิมฮโยวอนเรียกว่า'''ฝ่ายตะวันออก''' (ทงอิน) เพราะคิมฮโยวอนอาศัยอยู่ทางตะวันออกของฮันยาง คือพวกขุนนางอายุน้อย เพราะขุนนางรุ่นใหม่กำลังสนใจในปรัชญาแบบใหม่ของลีฮวาง มีความคิดแนวปฏิรูป
จนลีอี หัวหน้าขุนนางซานิมต้องมาไกล่เกลี่ยมิให้มีการแตกแยก โดยการส่งคิมฮโยวอนไปเมืองพูรยอง และส่งชิมอึยกยอมไปเมือง[[แคซอง]] เพื่อตัดปัญหา ให้ไปปกครองท้องถิ่นแทน แต่ฝ่ายทงอินกล่าวหาว่าลีอีเข้าข้างฝ่าซออิน เพราะส่งคิมฮโยวอนไปไกลทางเหนือ แต่ส่งชิมอึยกยอมไม่แค่เมืองแคซองใกล้ๆ ฝ่ายตะวันตกมีอำนาจขึ้นมาก่อนเพราะได้รับการสนับสนุนจากขุนนางอาวุโสและพระราชวงศ์ ขณะที่ฝ่ายตะวันออกเรียกร้องให้มีการปฏิรูปแต่ได้รับการปฏิเสธทุกครั้ง ใน[[พ.ศ. 2126]] ลีอี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกลาโหม เห็นว่าพวก[[แมนจู]]และ[[ญี่ปุ่น]]สะสมกำลังมากขึ้น โชซ็อนควรเตรียมรับมือให้พร้อมโดยการเพิ่มกำลังกองทัพ แต่ทั้งสองฝ่ายและพระเจ้าซ็อนโจไม่มีใครเห็นด้วยเลย เพราะเชื่อว่าบ้านเมืองจะสงบสุขตลอดไป แต่หารู้ไม่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าโชซ็อนจะถูกทั้งญี่ปุ่นและแมนจูบดขยี้จนย่อยยับ ลีอีสิ้นชีวิตใน[[พ.ศ. 2127]]
เมื่อไม่ได้รับการตอบรับ ใน[[พ.ศ. 2134]] โทโยโตมิจึงส่งสาสน์มาว่าจะยกทัพผ่านโชซ็อนไปจีน ทำให้ในที่สุดฝ่ายโชซ็อนจึงรู้ถึงสงครามที่กำลังจะเกิด จึงเร่งเตรียมกำลังทัพ แต่ไม่ทันเพราะปีถัดมา[[พ.ศ. 2135]] โคะนิชิ ยุกินะกะ ยกทัพเรือบุกเผ่าเมืองท่าต่างๆทางตอนใต้และยกพลขึ้นบกได้ วันต่อมา[[คะโต คิโยะมะสะ]] ก็ตามมาเอาชนะแม่ทัพ ลีอิล ที่ซังจูและชุงจู และรุกคืบหาเมืองฮันซองอย่างรวดเร็ว
พระเจ้าซ็อนโจเมื่อ
ใน[[พ.ศ. 2141]] โทโยโตมิเสียชีวิต ได้สั่งเสียให้ถอนทัพจากโชซ็อน ทัพญี่ปุ่นจึงถอยกลับ ก่อนกลับยังพ่ายแพ้โชซ็อนอีกที่โน-นยาง แต่ลีซุนชินเสียชีวิตในการรบ เป็นอันสิ้นสุดสงครามเจ็ดปี หรือสงครามอิมิจิน
== การแบ่งฝ่ายของฝ่ายตะวันออก ==
สงครามอิมิจินได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพระเจ้า
สำหรับสงครามการเมืองนั้น ฝ่ายตะวันออกมีชัย เพราะหลังจากผ่านสงครามมาทำให้ประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลงปฏิรูป ซึ่งฝ่ายตะวันตกที่หัวโบราณไม่อาจจะแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ได้ แต่ฝ่ายตะวันออกนั้นเร่งรัดการปฏิรูปจนยูซองนยองเสนอว่าไม่ควรจะปฏิรูปให้เร็วเกินไป ชะลอลงบ้าง เพราะยูซองนยองอาศัยอยู่ทางใต้ จึงเรียกฝ่ายสนับสนุนยูซองนยองว่า'''ฝ่ายใต้''' (นัมอิน) ส่วนที่เหลือเรียกว่า'''ฝ่ายเหนือ''' (พุกอิน) และฝ่ายเหนือก็ยังแบ่งอีก เป็น'''ฝ่ายเหนือใหญ่''' (แทบุก) และ'''ฝ่ายเหนือเล็ก''' (โซบุก) เป็นการแบ่งฝ่ายอีกครั้ง ทำให้การเมืองโจซ็อนมีหลายพรรคหลายพวก ซึ่งจะขัดขวางความเจริญของประเทศไปอีกหลายร้อยปี
พระเจ้า
พระเจ้าซ็อนโจสิ้นพระชนม์ใน[[พ.ศ. 2151]] โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองยังคุกรุ่น องค์ชายควางแฮสืบบัลงก์ต่อจากพระองค์
|