135,497
การแก้ไข
| ตาย = [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1642]]
| caption = ภาพวาดกาลิเลโอ
| คู่สมรส =
| บุตร =
| ศาสนา = [[โรมันคาทอลิก]]
== ประวัติ ==
แม้กาลิเลโอจะเป็น[[ชาวคาทอลิก]]ที่เคร่งครัด<ref name="sharrat1994" /> แต่เขากลับมีลูกนอกสมรส 3 คนกับมารินา แกมบา เป็นลูกสาว 2 คนคือ เวอร์จิเนีย (เกิด ค.ศ. 1600) กับลิเวีย (เกิด ค.ศ. 1601) และลูกชาย 1 คนคือ วินเชนโซ (เกิด ค.ศ. 1606) เนื่องจากลูกสาวทั้งสองเป็นลูกนอกสมรส จึงไม่สามารถแต่งงานกับใครได้ ทางเลือกเดียวที่ดีสำหรับพวกเธอคือหนทางแห่งศาสนา เด็กหญิงทั้งสองถูกส่งตัวไปยังคอนแวนต์ที่ซานมัตตีโอ ในเมืองอาร์เชตรี และพำนักอยู่ที่นั่นจวบจนตลอดชีวิต<ref>เดวา โซเบล [1999] (2000). ''Galileo's Daughter''. ลอนดอน: โฟร์ธเอสเตท. ISBN 1-85702-712-4.</ref> เวอร์จิเนียใช้ชื่อทางศาสนาว่า มาเรีย เชเลสเต เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1634 ร่างของเธอฝังไว้กับกาลิเลโอที่สุสาน[[บาซิลิกาซานตาโครเช]] ลิเวียใช้ชื่อทางศาสนาว่า ซิสเตอร์อาร์แคนเจลา มีสุขภาพไม่ค่อยดีและป่วยกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ ส่วนวินเชนโซได้ขึ้นทะเบียนเป็นบุตรตามกฎหมายในภายหลัง และได้แต่งงานกับเซสตีเลีย บอกกีเนรี<ref>โอ. ปีเดอร์เซน (24–27 พฤษภาคม 1984). "[http://adsabs.harvard.edu/abs/1985gamf.conf...75P Galileo's Religion]". ''Proceedings of the Cracow Conference, The Galileo affair: A meeting of faith and science'': 75-102, คราโคว์: ดอร์เดรคท์, ดี. เรย์เดล พับบลิชชิ่ง. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-06-09.</ref>
[[ไฟล์:GallileoTomb.jpg|thumb|200px|สุสานของกาลิเลโอ กาลิเลอี ที่[[มหาวิหารซันตาโกรเช]]]]
กาลิเลโอเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1642]] รวมอายุ 77 ปี [[แฟร์ดีนันโดที่ 2 เด เมดีชี แกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี]] ต้องการฝังร่างของเขาไว้ในอาคารหลักของ[[มหาวิหารซันตาโกรเช]] ติดกับหลุมศพของบิดาของท่านและบรรพชนอื่น ๆ รวมถึงได้จัดทำศิลาหน้าหลุมศพเพื่อเป็นเกียรติด้วย<ref name=
คำสั่งห้ามการพิมพ์ผลงานของกาลิเลโอได้ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1718 โดยได้มีการอนุญาตตีพิมพ์งานหลายชิ้นของเขา (รวมถึง ''Dialogue'') ในเมืองฟลอเรนซ์<ref name="heilbron">Heilbron, John L. (2005). ''Censorship of Astronomy in Italy after Galileo''. In McMullin (2005, pp.279–322).</ref> ปี ค.ศ. 1741 [[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14]] ทรงอนุญาตให้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ของกาลิเลโอได้<ref name="complete works 1">มีงานพิมพ์สองชิ้นที่ไม่ใช่งานทางวิทยาศาสตร์ คือ ''Letters to Castelli'' และ ''Letters to Grand Duchess Christina'', ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในการอนุญาตตีพิมพ์คราวนี้; Coyne, George V., S.J. (2005). ''The Church's Most Recent Attempt to Dispel the Galileo Myth''. In McMullin (2005, pp.340–359). </ref> รวมถึงงานเขียนต้องห้ามชุด ''Dialogue'' ด้วย<ref name="heilbron" /> ปี ค.ศ. 1758 งานเขียนต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลซึ่งเคยถูกแบนมาก่อน ได้ถูกยกออกไปเสียจากรายการหนังสือต้องห้าม แต่ยังคงมีการห้ามเป็นพิเศษสำหรับหนังสือ ''Dialogue'' และ ''De Revolutionibus'' ของโคเปอร์นิคัสอยู่<ref name="heilbron" /> การห้ามปรามงานตีพิมพ์เกี่ยวกับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลได้สูญหายไปจนหมดในปี ค.ศ. 1835{{fn|9}}
|