ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Stuka Plavace (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57:
== ศูนย์รวมแห่งจิตใจ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ==
{{โครงส่วน}}
เมื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ตามโครงการบึงพระราม ๙ ดำเนินการไปได้ระดับหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๑ ให้มีการดำเนินการปรับปรุงสภาพพื้นที่ และชุมชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับโครงการบึงพระราม ๙ ดังกล่าว พร้อมกันนั้นก็ให้มีการจัดตั้งวัดขึ้นในที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน ๘ – ๒ – ๕๔ ไร่ และได้รับการอนุญาตให้สร้างวัดจากกรมการศาสนา เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ” โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส ในการนี้ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานก่อสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกขึ้น โดยมีนายจริย์ ตุลยานนท์ กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการก่อสร้างวัด ทำหน้าที่ในรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างวัดให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ในลักษณะวัดขนาดเล็กที่มีลักษณะเรียบง่าย ประหยัด และทันสมัย เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ และศรัทธา เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ ทั้งทางศาสนา สังคม และจริยธรรม แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน เพื่อขัดเกลาจิตใจของชุมชนให้มีจิตสำนึกต่อสังคมโดยส่วนรวมอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป