ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงไทยเดิม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ลักษณะ: เปลี่ยนข้อความ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[คีตกวี]]หรือนักแต่งเพลงไทยเดิม จะแต่งทำนองขึ้นก่อนแล้วจึงตั้งชื่อเพลงนั้น สำหรับเนื้อร้องบางครั้งจะเอาเนื้อร้องจากคำประพันธ์ที่ไพเราะใน[[วรรณคดี]]ต่างๆ เช่นจาก[[พระอภัยมณี]] [[พระลอ]] [[ขุนช้างขุนแผน]] ฯลฯ มาใส่ การแต่งเพลงขึ้นตอนแรกจะมีจังหวะปานกลาง แต่บางครั้งก็เอาทำนองนั้นไปขยายให้ยาวขึ้นและยุบทำนองให้สั้นลง แล้วนำมาบรรเลงติดต่อกันโดยเริ่มทำนองขยายก่อนด้วยจังหวะช้าเรียกว่าจังหวะ 3 ชั้น ต่อด้วยทำนองเดิมจังหวะปานกลางเรียกว่า 2 ชั้น และต่อด้วยทำนองที่ยุบให้สั้นลงด้วย[[จังหวะ]]เร็วเรียกว่า ชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถา ถ้านำไปบรรเลงเพียงจังหวะเดียวเรียกเพลงเกร็ด และนำเพลงเกร็ดหลายๆ เพลงที่มีอัตราจังหวะเดียวกันมาบรรเลงติดต่อกันเรียกว่า เพลงตับ
 
การเอื้อน มาจากการที่เพลงไทยอาศัยเนื้อร้องจากคำประพันธ์อื่นมาสวมใส่ทำนองที่แต่งไว้แล้ว ทำนองและเนื้อร้องจึงไม่พอดีกัน โดยใช้เสียง “เออ” หรือ “เอย” และลักษณะนี้เองทำให้เพลงไทยไม่เหมือนเพลงของชาติอื่นๆ ในโลก เป็นมีเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงและประเทศข้างเคียงก็มีการเอื้อนเช่นเดียวกันกับไทยโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นและเหมาะสมไพเราะ
 
== อ้างอิง ==