ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระวันรัต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''สมเด็จพระวันรัต''' (อ่านว่า วันนะรัด) แปลว่า ''ผู้ยินดีในการอยู่ป่า ผู้รักการอยู่ป่า'' เดิมใช้คำว่า '''พนรัตน์''' และ '''วันรัตน์''' ซึ่งแปลว่า ''ป่าแก้ว'' ปัจจุบันเป็น[[ราชทินนาม]][[สมเด็จพระราชาคณะ]]รูปหนึ่งในฝ่าย[[ธรรมยุติกนิกาย]]
 
'''วันรัตน์''' เป็นนามที่ได้มาจาก[[ลังกา]] สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็น[[สังฆนายก]]ฝ่าย[[อรัญวาสี]] คู่กับ[[สมเด็จพระพุฒาจารย์|สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]]ซึ่งเป็นสังฆนายกฝ่าย[[คามวาสี]] ใน[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ]] ปรากฏนามนี้ครั้งแรกในรัชสมัย[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] ว่าพระพนรัตน์ป่าแก้วให้ฤกษ์แก่[[พระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช)|พระศรีสิน]]ในการก่อกบฏ<ref name="พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ'', พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553.</ref> ที่มีชื่อเสียงปรากฏเด่นชัดอีกรูปหนึ่งคือสมเด็จพระพนรัตน์ป่าแก้ว ซึ่งได้เข้าไปถวายพระพร[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]ขอพระราชทานอภัยโทษแก่ข้าราชการที่ตามเสด็จไม่ทันในครั้งทำ[[สงครามยุทธหัตถี]]<ref name="พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ"/>
 
'''สมเด็จพระวันรัต''' ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระมหาเถระผู้จะได้รับพระราชทานนามนี้จะต้องมีความสำคัญมากในด้านภูมิธรรม โดยเฉพาะความป็นผู้ยินดีในการปฏิบัติ[[กรรมฐาน]] ยินดีในการปลีกวิเวก