ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตอิทธิพล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Idolahu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Boommy9 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ขณะที่อาจมีการจัดตั้งพันธมิตรอย่างเป็นทางการหรือพันธกรณีในรูปสนธิสัญญาอื่น ๆ ระหว่างดินแดนที่แผ่อิทธิพลและดินแดนที่อยู่ภายใต้อิทธิพล การจัดการอย่างเป็นทางการในรูปแบบเขตอิทธิพลนี้ไม่จำเป็น และบ่อยครั้งที่อิทธิพลสามารถเป็นตัวอย่างของอำนาจอย่างอ่อน และเช่นเดียวกัน พันธมิตรอย่างเป็นทางการก็ไม่จำเป็นจะต้องหมายความว่าประเทศหนึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของอีกประเทศหนึ่งด้วย
ในกรณีสุดขั้ว ประเทศที่อยู่ใน "เขตอิทธิพล" ของอีกประเทศหนึ่งนั้นอาจเป็นรองรัฐนั้นและเป็นเสมือนกับ[[รัฐบริวาร]]หรือ[[อาณานิคม]]ในทางพฤตินัย ระบบเขตอิทธิพลซึ่งชาติทรงอำนาจเข้าแทรกแซงกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่งนั้นยังคงมีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และบ่อยครั้งมักจะถูกวิเคราะห์ในรูปแบบของ[[อภิมหาอำนาจ]] [[มหาอำนาจ]] และ/หรือรัฐระดับกลาง
ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดของ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] จักรวรดิญี่ปุ่นมีเขตอิทธิพลขนาดใหญ่มาก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปกครองดินแดนบางส่วนโดยตรงในกรณีของ[[เกาหลี]] [[แมนจูเรีย]] [[เวียดนาม]] [[ไต้หวัน]] และบางส่วนของ[[จีน]] ดังนั้น "[[วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา]]" จึงสามารถถูกวาดอย่างง่าย ๆ บนแผนที่[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]เป็นวงขนาดใหญ่ล้อมรอบหมู่เกาะญี่ปุ่นและชาติเอเชียและแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การควบคุมนั่นเอง
บรรทัด 13:
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ]]
[[หมวดหมู่:สังคมวิทยา]]
{{โครงประเทศ}}