ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัลคาไนเซชัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nithi-Uthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วัลคาไนเซชัน''' (Vulcanization) คือ การที่[[ยาง]]ทำปฏิกิริยากับ[[กำมะถัน]]ในปริมาณที่พอเหมาะที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน โดยกำมะถันที่นำมาทำปฏิกิริยาด้วยนี้จะสร้าง[[พันธะโคเวเลนต์]]เชื่อมระหว่างโซ่[[พอลิเมอร์]]ให้เป็นโมเลกุลเดียวกันทำให้ยางมีคุณภาพคงตัวในอุณหภูมิต่างๆ มีความยืดหยุ่นได้ดีมากขึ้น ทนความร้อนและ[[แสงแดด]] ละลายในตัวทำละลายได้ยากขึ้น เช่น ปกติ[[ยางธรรมชาติ]]เมื่อได้รับความร้อนจะเหนียวและอ่อนตัว แต่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงจะแข็งและเปราะฉะนั้นจึงต้องปรับคุณภาพของ[[ยางธรรมชาติ]] ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ ปฏิกิริยานี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย [[ชาร์ลส์ กูดเยียร์]] (Charles Goodyear)
 
== ระบบวัลคาไนซ์โดยกำมะถัน ==
 
ในระบบวัลคาไนซ์ยางโดยกำมะถันนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ขึ้นกับลักษณะการใช้กำมะถันในการเกิดพันธะเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง<ref>พรพรรณ นิธิอุทัย, สารเคมีสำหรับยาง, 2528, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</ref> คือ
 
#ระบบวัลคาไนซ์แบบปกติ (Conventional Vulcanized System, C.V.)
#ระบบวัลคาไนซ์แบบกึ่งประสิทธิภาพ (Semi-Efficiently Vulcanized System, Semi-E.V.)
#ระบบวัลคาไนซ์แบบมีประสิทธิภาพ (Efficiently Vulcanized System, E.V.) โดยส่วนใหญ่การวัลคาไนซ์ในระบบปกติ (C.V.) จำนวน[[อะตอม]]ของ[[กำมะถัน]]ที่ใช้ใน[[พันธะเชื่อมโยง]]จะเป็นแบบใช้[[กำมะถัน]]มากกว่าหนึ่งอะตอมต่อหนึ่ง[[พันธะ]] (polysulfidic crosslink) ดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงให้เกิดพันธะที่ดีขึ้น ให้เป็นแบบการใช้กำมะถันหนึ่งอะตอมต่อหนึ่งพันธะเชื่อมโยง (monosulfidic crosslink) โดยการเพิ่มสัดส่วนของ[[สารตัวเร่ง]]ในกลุ่มไธยูแรมไดซัลไฟด์ กับซัลฟินาไมด์ ซึ่งเป็นสารตัวเร่งที่มีสมบัติเป็นสารให้กำมะถัน (sulfur donor) ต่อกำมะถันให้สูงขึ้น มีการเริ่มใช้วิธีนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ซึ่งในระบบนี้จะทำให้สมบัติทนต่อความร้อนที่ดีขึ้นใน[[ยางธรรมชาติ]] และให้ความต้านทานต่อความล้าที่ดีขึ้นใน[[ยางเอสบีอาร์]] แต่สมบัติเชิงกลทั่วไป เช่น โมดูลัส, ระยะยืดเมื่อขาด ในระบบนี้ไม่ดีเท่าระบบปกติ ในระบบอีวีนี้จะใช้กำมะถัน 0.3-0.8 phr และสารตัวเร่ง 6.0-2.5 phr
 
== อ้างอิง ==
<references/>
 
[[หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี]]