ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กรุงย่างกุ้ง’ ด้วย ‘ย่างกุ้ง’
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
 
เมื่อวันที่ 29 กันยายน ทูตพิเศษของสหประชาชาติ นาย[[อิบราฮิม กัมบารี]] ได้เดินทางถึงพม่าแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายคือเจรจากับรัฐบาลพม่าเรื่องดังกล่าว และนำสารจากเลขาธิการสหประชาชาติมาให้ นอกจากนั้นนายอิบราฮิมยังกล่าวว่าเขาหวังที่จะเข้าพบกับบุคคลที่สมควรพบทุกคนอีกด้วย <ref> http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=282040 สิงคโปร์เผยทูตพิเศษยูเอ็นอยู่ที่สิงคโปร์รอวีซ่าเข้าพม่า </ref>
== ช่วงเวลา ==
=== ก่อนการประท้วง ===
ก่อนจะเกิดการประท้วงนั้น มีความไม่พอใจของประชาชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเจริญทางเศรษฐกิจหยุดนิ่ง จนกลายเป็นประเทศยากจนที่สุด 20 อันดับแรกสุดของ[[สหประชาชาติ]]<ref name="google">Michael Casey, [http://ap.google.com/article/ALeqM5iofx72HB6-rwZnXsnhgbYbIpkVFQ Monks Put Myanmar Junta in Tight Spot], Associated Press, 21 September 2007.{{dead link|date=November 2012|bot=Legobot}}</ref> สหประชาชาติได้ประณามความเป็นผู้นำของกองทัพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการนำรายได้ของชาติไปใช้ในทางทหาร<ref name="google"/><ref>[http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7023548.stm/ The hardship that sparked Burma's unrest] BBC, 2 October 2007 {{webarchive |url=https://web.archive.org/web/20071021051741/http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7023548.stm/ |date=21 October 2007 }}</ref> ใน พ.ศ. 2549 ราคาของสินค้าหลายชนิดในพม่าเริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งข้าว ไข่ และน้ำมันปรุงอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้น 30–40% เด็ก 1 ใน 3 คนเป็นโรคขาดสารอาหาร ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐ กองทัพพม่าดำรงอยู่ในฐานะรัฐซ้อนรัฐ มีความเป็นอยู่ที่ต่างจากส่วนอื่นๆของประเทศ นายพลในกองทัพมีฐานะร่ำรวย ดังที่เห็นในงานแต่งงานของลูกสาวนายพล[[ตันฉ่วย]] ซึ่งสวมเครื่องเพชรที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ<ref name="bbc">[http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7023548.stm The hardship that sparked Burma's unrest] BBC News 2 October 2007</ref><ref>[http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/6109356.stm Burma leader's lavish lifestyle aired] BBC, 2 November 2006</ref> ตามรายงานของบีบีซีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีผู้ประท้วงกลุ่มเล็กออกมาประท้วงเกี่ยวกับราคาสินค้าภายในประเทศ มีผู้ถูกจับ 9 คน ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งแรกในรอบสิบปีในย่างกุ้ง
=== เมษายน ===
กองทัพได้จับกุมประชาชน 8 คนเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่ออกมาประท้วงในย่างกุ้ง เรียกร้องให้ลดราคาสินค้า ปรับปรุงบริการทางด้านสุขภาพ การศึกษา การประท้วงสิ้นสุดโดยสงบภายใน 70 นาที เมื่อรัฐบาลแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะปราบปรามผู้ประท้วง มีผู้ประท้วง 2 คนได้รับบาดเจ็บ
=== 15 สิงหาคม ปัญหาราคาเชื้อเพลิง ===
ในวันที่ 15 สิงหาคม รัฐบาลได้ยกเลิกเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาเพิ่มขึ้นจาก 1.40 เหรียญต่อแกลลอนเป็น 2.80 เหรียญต่อแกลลอน ราคาแก๊สธรรมชาติเพิ่มขึ้น 500% ทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น มีประชาชนออกมาประท้วง [[กองทุนการเงินระหว่างประเทศ]]และ[[ธนาคารโลก]]ได้ให้คำแนะนำว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ตลาดเสรีในการกำหนดราคาเชื้อเพลิง<ref name="IMF">{{cite web|url=http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/IH24Ae03.html |title=Asia Times Online :: Southeast Asia news - Fuel price policy explodes in Myanmar |publisher=atimes.com|accessdate=16 May 2015}}</ref><ref name="IMF2">[http://www.pinr.com/report.php?ac=view_report&report_id=688&language_id=1 The Economic Factors Behind the Myanmar Protests] {{dead link|date=November 2010}}</ref> โดยไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกเงินอุดหนุนโดยไม่ประกาศ เชื้อเพลิงนี้ขายโดยบริษัทน้ำมันและแก๊สเมียนมาซึ่งเป็นบริษัทของรัฐ
 
== ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อเหตุการณ์ ==