ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมิ่งเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6817124 สร้างโดย 125.25.25.24 (พูดคุย)
Nupkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
== ประวัติ ==
 
วัดมิ่งเมือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เดิมเป็นวัด[[ไทยใหญ่]] สร้างสมัยใดไม่ทราบ ได้ร้างไปในยุคพม่าครองเมือง ในช่วงเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองได้มีการกวาดต้อนผู้คนมาฟื้นฟูเมืองเชียงราย ได้มีการขุดดินเพื่อนำไปเผาอิฐสร้างกำแพงเมืองในสมัยเจ้าอุ่นเรือน ขุดลงไปจนมีน้ำชั้นผิวดินออกมาเป็นบริเวณกว้าง มีการนำช้างชักลากของ และพักเล่นน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า หนองช้างมูบ ราวๆ ปี พ.ศ.2420 ได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยคณะศรัทธาชาวเงี้ยว(ไทใหญ่) ที่อยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษมาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ จำปาสี่ต้น (ปัจจุบันคือบริเวณโรงแรมแสนภูเพลส) ได้สร้างวัดขึ้น บนพื้นที่วัดร้างเดิม ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมาก หน้าหนองช้างมูบ จึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดช้างมูบ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมิ่งเมือง วัดนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพระนางปายโค พระญามังราย หรือพระนางเทพคำขร่าย แต่อย่างใด ตามที่มีผู้กล่าวอ้างไว้ '''<nowiki><ref>รู้เรื่องเมืองเชียงราย</ref></nowiki>'''
วัดมิ่งเมือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เดิมเป็นวัด[[ไทยใหญ่]] มีอายุเท่ากับเมือง[[เชียงราย]] คือประมาณ 800 ปี เนื่องด้วยในสมัยก่อนมีชุมชน[[ไทยใหญ่]]อาศัยอยู่รอบบริเวณวัด ประกอบกับมีศิลปะศาสนสถานและศาสนวัตถุแบบพม่า จึงถูกเรียกขานว่าเป็น วัด[[เงี้ยว]] แต่ชื่อที่ชาวเชียงรายรู้จักกันแพร่หลายคือ วัดจ๊างมูบ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า วัดช้างหมอบ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของคนโบราณ วัดนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับช้างคู่บารมีของ[[พ่อขุนเม็งรายมหาราช]] แห่งราชอาณาจักร[[ล้านนา]] องค์[[มหาราช]]ลำดับที่ ๒ ของ[[ประวัติศาสตร์ไทย]] กล่าวคือ ในพิธีการเคลื่อนขบวนแห่[[พระแก้วมรกต]]ออกทักษิณาวรรต รอบเมืองเชียงรายทางสถลมารค ในวันสำคัญทางประเพณี เช่น [[วันสงกรานต์]] หรือ ปีใหม่เมือง จะมีการจัดเตรียมสถานที่ให้พญาช้างคู่บารมีของ[[พ่อขุนเม็งรายมหาราช]]มาหมอบรอเทียบที่วัด เทินบุษบกเพื่อรับ[[พระแก้วมรกต]] ที่แห่มาด้วยขบวนเสลี่ยง จากวัดพระแก้ว ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไปทางทิศเหนือ 200 เมตร
 
ปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระ[[เจดีย์]]โบราณศิลปะไทยใหญ่ พระอุโบสถและพระวิหารไม้ลายคำศิลปะล้าน ของวัดมิ่งเมืองอย่างถูกต้องตามหลักพุทธศิลป์ล้านนาและทัศนศิลป์เชิงโบราณคดี ระหว่างการบูรณะได้ขุดค้นพบลายอักษรโบราณจารึกบนแผ่นเงินเป็น[[ภาษาพม่า]] กล่าวถึงประวัติผู้สร้างเจดีย์ประดิษฐาน[[พระบรมสารีริกธาตุ]] เมื่อสืบค้นจาก[[พงศาวดาร]] จึงทำให้ทราบว่า ผู้สร้างวัดมิ่งเมือง คือ เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราชซึ่งพระนางมีเชื้อสายกษัตริย์จากเมือง[[หงสาวดี]]
 
ในวัดมิ่งเมืองยังคงมี[[โบราณสถาน]]และ[[โบราณวัตถุ]]ปรากฏอยู่หลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะผสมระหว่างพม่าและล้านนา และมีปูชนียวัตถุสำคัญคือ [[พระบรมสารีริกธาตุ]] ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์โบราณ ที่ได้รับการประธานจาก สมเด็จพระญาณสังวรณ [[สมเด็จพระสังฆราช]] สกลมหาสังฆปริณายก
 
วัดมิ่งเมืองอยู่ติดสถานที่สำคัญทางโบราณคดีของจังหวัดเชียงราย เป็นประตูเมืองเก่าของเมืองเชียงราย คือ ประตูไก่ดำ หรือประตูขัวดำ หรือประตูเจ้าพ่อสันป่าแดง ซึ่งคนเชียงรายเรียกยังคงเรียกบริเวณสี่แยกที่ถนนบรรพปราการตัดกับถนนไตรรัตน์ว่า สี่แยกขัวดำ ที่บริเวณประตูวัดด้านทิศตะวันออก มีบ่อน้ำโบราณ ชื่อ น้ำบ่อจ๊างมูบ ศิลปะแบบไทยใหญ่ มีซุ้มครอบไว้เป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างหมอบ เชื่อกันว่าบ่อน้ำนี้เป็นบ่อน้ำโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคของผู้คนโบราณที่สัญจรเข้าออกเมือง ได้มาพักกายบริเวณประตูเมืองเพื่อดื่มน้ำและล้างหน้าให้เกิดสิริมงคลก่อนจะเริ่มเดินทางออกหรือเข้าสู่เมืองเชียงราย
 
== ประวัติความเป็นมาโดยละเอียด==
 
วัดมิ่งเมือง หรือวัดช้างมูบ เดิมมีชื่อเรียกตามที่ปรากฏบนแผ่นทองคำจารึกอักษร[[พม่า]]ว่า “วัดตะละแม่ศรี” ซึ่งเป็นชื่อของผู้สร้างวัดมีนามว่า เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นพระมเหสีของ[[พ่อขุนเม็งรายมหาราช]] มหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาผู้สร้างเมืองเชียงราย เจ้านางตะละแม่ศรี ทรงมีอีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในแผ่นจารึกคือ มหาเทวีอุษาปายะโค พระนางเป็นธิดาของพระเจ้าพายุเจ็งกษัตริย์พม่าเจ้าเมือง[[พะโค]] ([[หงสาวดี]]) ซึ่งได้มอบถวายให้เป็นข้าบาทบริจาริกาแด่[[พ่อขุนเม็งรายมหาราช]]เมื่อทรงชนะสงครามจาก[[พม่า]] และวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (พระนางเทพคำกล๋าย-พระนางอั๊วะมิ่งไข่ฟ้า หรือพระนางอกแอ่น ซึ่งเป็นวีรสตรีของชาวไทย[[ลื้อ]]ที่ได้ปลอมตัวเป็นชายออกสู้รบจนได้รับชัยชนะ) พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง เป็นพระราชชนนีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาทรงปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และในตำนานของวัดที่ปรากฏในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาประกอบพิธีทาง[[พระพุทธศาสนา]]ที่วัดมิ่งเมืองปีละสองครั้งคือในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวัน[[ลอยกระทง]] หรือประเพณี[[ยี่เป็ง]]ของชาว[[ล้านนา]] ทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ศรีมิ่งเมืองในวัด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระนางเทพคำกล๋ายและพระอัฐิของมหาเทวีอุษาปายะโค
 
นอกจากนี้วัดมิ่งเมือง ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วัดช้างมูบ” (วัดช้างหมอบ) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเชียงรายทั่วไปเรียกและทางวัดมิ่งเมืองก็ใช้รูปช้างมูบเป็นสัญลักษณ์ของวัดมิ่งเมือง เป็นวัดที่ได้รับการบันทึกให้เป็นวัดเก่าแก่สำคัญทางประวัติศาสตร์วัดหนึ่งของเมืองเชียงราย ในครั้งที่ที่พระเจ้าสามฝั่งแกนอัญเชิญ[[พระแก้วมรกต]]จากเชียงรายไปเชียงใหม่โดยอัญเชิญพระแก้วมรกตตั้งขบวนจากวัดพระแก้ว เชียงราย มาประดิษฐานบนหลังช้างทรงซึ่งหมอบรออยู่หน้าวัดมิ่งเมืองแล้วเคลื่อนขบวนออกจากประตูเมืองที่ติดกับวัดไปเมืองเชียงใหม่จึงทำให้ชาวบ้านเรียกว่าวัดช้างมูบตั้งแต่นั้นมา
 
เมื่อเข้าสู่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ ได้ทำการต่อสู้กับพม่า เรียกว่า “ฟื้นม่าน” โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้า[[กรุงธนบุรี]] ([[พระเจ้าตากสินมหาราช]]) ให้ขจัดอิทธิพลของพม่าออกไปจาก[[ล้านนา]] ซึ่งขณะนั้นพม่าได้ใช้เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นในการรบ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ พระยากาวิละได้ยกทัพได้ยกทัพไปตีเมือง[[เชียงแสน]]ได้ หลังจากที่เคยโจมตีมาหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เมื่อสามารถยึดเมืองเชียงแสนได้จึงเผ่าทำลายเมืองขับไล่กองทัพพม่าออกจากเมืองเพื่อมิให้พม่าใช้เป็นฐานกำลังได้อีกต่อไปและพระยากาวิละก็ได้กวาดต้อนผู้คนครัวเรือนจากเมืองเชียงแสน และหัวเมืองรายทาง เพื่อมิให้กลับไปเป็นกำลังไพร่พล แรงงานทั้งทางการทหารเป็นเมืองร้าง อันรวมถึงเมือง[[เชียงราย]]
 
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๓๔๗ ไทยสู้รบกับพม่าทำให้เมืองในอาณาจักรล้านนา รกร้าง ผู้คนระส่ำระสาย แม้แต่เมือง[[เชียงใหม่]]เองก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างถึง ๒๐ ปี ส่วนเมืองเชียงรายเองก็เป็นเมืองร้างนานเกือบ ๔๐ ปี ภายหลังจากความยุ่งยากของสงครามเมื่อเมืองสำคัญในล้านนา เช่น เมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ มีความมั่นคงดีแล้ว เจ้านายเชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนนำโดย พระยากาวิละ (ที่กลายเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่) ซึ่งสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงโดยการดำเนินนโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” (ซ้า แปลว่า กระเช้า)กวาดต้อนประชาชนและครัวเรือนมายังเมืองเชียงใหม่ ก็เริ่มขยายอาณาเขตและฟื้นฟูเมืองต่างๆ ที่รกร้างว่างเปล่าโดยให้บุตรหลานไปเจ้าเมืองปกครอง
 
เมืองเชียงรายได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง ในสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา ซึ่งเป็นเจ้าเมืององค์แรกมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ มีการบูรณะบ้านเมืองที่รกร้างและซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดตลอดจนกำแพงเมือง ต่อมาเมื่อมีการขยายเมืองออกไปนับ จึงมีการก่อสร้างต่อมาทางด้านทิศใต้ จนกระทั่งด้านทิศตะวันตกคือประตูเชียงใหม่สำเร็จลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ รวมเวลาที่ก่อสร้างนานถึง ๑๗ ปี มีการสมโภชเมืองและเสาหลักเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ กำแพงเมืองและประตูเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ เป็นบริเวณอนุรักษ์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก
 
ครั้งที่พญาเม็งรายสร้างเมืองพุทธศักราช ๑๘๐๕ ไม่ปรากฏมีบันทึกบอกไว้ว่าประตูเมืองมีกี่ประตูและชื่อประตูอะไรบ้าง ในสมัยต่อมาคงมีการสร้างกำแพงเมืองพร้อมประตูขึ้นอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่ปรากฏว่าเมืองเชียงรายมีกี่ประตู จนถึง พ.ศ. ๒๔๐๐ หลังจากเจ้าหลวงธรรมลังกาเริ่มบูรณะชื่อของประตูมีปรากฏหลายประตูจนสร้างแล้วเสร็จในสมัยเจ้าหลวงอุ่นเรือน พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงทราบว่าช่วงนี้ประตูเมืองเชียงรายมี ๑๒ ประตู คือประตูสรี ประตูนางอิง ประตูเชียงใหม่ ประตูยางเสิ้ง ประตูท่านาค ประตูเจ้าชาย ประตูท่าทราย ประตูหวาย ประตูท่อ ประตูป่าแดง ประตูล่อ หรือประตูขะต๊ำ และประตูผีหรือประจูฮ่อม ซึ่งการทำประตูในสมัยโบราณนั้นน่าจะทำตามหลักทักษา คือก่อนที่จะกำหนดความกว้างยาวของเมืองต้องแทรกวัดระยะว่าประตูจะอยู่ตรงไหน เพื่อให้ถูกต้องตามหลักทักษา อันได้แก่ บริวาร อายุ เดช ศรี มูลละ อุตสาหะ มนตรีและกาลกิณี ช่องไหนที่ตรงกาลกิณี ก็มักจะทำเป็นประตูสำหรับเอาศพออกจากเมืองไปสุสาน เชื่อกันว่าถ้าสร้างประตูถูกต้องตามหลักความเชื่อ จะทำให้บ้านเมืองมั่นคงถาวรเป็นที่หวั่นเกรงของศัตรู
 
วัดมิ่งเมืองนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่ตรงประตูเมืองที่เรียกกันว่าประตูป่าแดงซึ่งตรงกับหลักทักษา คือ อุตสาหะ ในประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม ๘ กล่าวว่า วัดมิ่งเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ซึ่งอาจเป็นได้ว่า วัดมิ่งเมืองได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปีนี้โดยกลุ่มชาวไทใหญ่ที่ถูกกวาดต้อนมาจากนโยบายเก็บ''ผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง'' เพราะจะพบว่าก่อนที่จะซ่อมแซมวัดมาเป็นรูปแบบอย่างเช่นรูปทรงดั้งเดิมของสิ่งก่อสร้างภายในวัดเป็นรูปทรงไทใหญ่ทั้งหมด พบภาพวาดศิลปะพม่า ภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์และพระพุทธรูปไม้แกะสลักอีกหลายองค์ ที่เป็นศิลปะพม่าในช่วงแรกที่สร้างวัด นอกจากนั้น พิธีกรรมของวัดบางอย่างในปัจจุบันก็ยังมีลักษณะแบบชาวไทใหญ่หลงเหลืออยู่ วัดมิ่งเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓
 
== โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัด==
 
'''องค์พระประธาน''' เป็นพระพุทธรูปปั้น ลงรักปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๑ ซึ่งได้ทำการซ่อมแซมมาถึง ๔ ครั้งมีอายุถึง ๔๐๐ กว่าปี เดิมเป็นศิลปะไทยใหญ่ ซึ่งครั้งหลังสุด ช่างที่ก่อสร้างได้เพิ่มขนาดขององค์พระให้ใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้างขนาด ๘๐ นิ้ว มีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสนสิงห์ ๑ ยุคต้นโดยเฉพาะที่ยอดพระเกตุโมฬีเป็นรูปดอกบัวตูมแกะสลักจากหินแก้วจุยเจียหรือแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นหินที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาเท่านั้น
'''องค์พระประธาน'''
เป็นพระพุทธรูปปั้น ลงรักปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๑ ซึ่งได้ทำการซ่อมแซมมาถึง ๔ ครั้งมีอายุถึง ๔๐๐ กว่าปี ซึ่งครั้งหลังสุด ช่างที่ก่อสร้างได้เพิ่มขนาดขององค์พระให้ใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้างขนาด ๘๐ นิ้ว มีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสนสิงห์ ๑ ยุคต้นโดยเฉพาะที่ยอดพระเกตุโมฬีเป็นรูปดอกบัวตูมแกะสลักจากหินแก้วจุยเจียหรือแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นหินที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาเท่านั้น
 
'''เจดีย์'''
เส้น 83 ⟶ 60:
{{โครงสถานที่}}
 
== แหล่งอ้างอิง ==
== อื่นๆ ==
อภิชิต ศิริชัย "รู้เรื่องเมืองเชียงราย"
วัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน http://www.watmingmueng.com