ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุน ฮุ่ยหมิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
| wiki_links =
}}
'''ซุน ฮุ่ยหมิง''' ({{lang-zh|孫慧明}}) เป็น[[จู่ซือ]]คนสุดท้าย ในวิถีอนุตรธรรม ของ[[ลัทธิอนุตตรธรรม]]
 
== ประวัติ ==
ซุน ฮุ่ยหมิง มีนามเดิมว่า '''ซุน ซู่เจิน''' ({{lang-zh|孫素真}}) เกิดที่อำเภอซั่น เมือง[[เหอเจ๋อ]] [[มณฑลซานตง]] [[ราชวงศ์ชิง|จักรวรรดิชิง]] รัชสมัย[[จักรพรรดิกวังซวี่]] เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1895 ได้ขอรับวิถีเข้าเป็นสมาชิกลัทธิอนุตตรธรรมในสมัยที่[[ลู่ จงอี]] เป็นจู่ซือรุ่นที่ 17 ได้รับศาสนนามว่า'''ฮุ่ยหมิง''' เธอได้พบกับ[[จาง เทียนหรัน|จาง ขุยเซิง]] ทั้งสองได้ช่วยกันเผยแผ่วิถีลัทธิอนุตตรธรรมจนแพร่หลาย ขุยเซิงมีภรรยาคนแรกแซ่จู แต่เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1909 เขาจึงสมรสใหม่กับสตรีแซ่หลิว และรับซู่เจินเป็นภรรยาคนที่สอง (ที่ยังมีชีวิตอยู่) โดยอ้างว่าทำตามพระประสงค์ของสวรรค์ ซึ่งท่านและยกย่องซู่เจินทรงเป็นเจินว่าเป็น[[อวตาร|พระภาค]]ของพระจันทรปัญญาโพธิสัตว์ ({{lang-zh|月慧菩薩}})
 
เมื่ออาจารย์ลู่ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1925 ก็เกิดความแตกแยกขึ้นภายในลัทธิเพราะศิษย์อาวุโสแต่ละคนต่างตั้งตนเป็นใหญ่เป็นอิสระต่อกัน ต่อมาลู่ จงเจี๋ย น้องสาวของอาจารย์ลู่อ้างว่า[[พระแม่องค์ธรรม]]ได้มาประทับทรงประทาน[[อาณัติสวรรค์]]แต่งตั้งให้ตนเป็นผู้รักษาการจู่ซือไป 12 ปี แต่มีเพียงขุยเซิงคนเดียวที่ยอมรับ หลังจากผ่านไปรักษาการได้ 56 ปี ถึงปี ค.ศ. 1930 จงเจี๋ยจึงประกาศว่าพระแม่องค์ธรรมทรงเมตตาให้ขุยเซิงและซู่เจินรับสืบทอดอาณัติสวรรค์ ร่วมกันปกครองสำนักต่อในฐานะจู่ซือรุ่นที่ 18 โดยขุยเซิงได้นามใหม่ว่า'''กงฉัง''' และซู่เจินได้นามใหม่ว่า'''จื่อซี่'''<ref name="พระพุทธบรรพจารย์เทียนหยาน">ศุภนิมิต, ''พระพุทธบรรพจารย์เทียนหยาน'', กรุงเทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, หน้า 31</ref> แต่กงฉังยังคงเป็นผู้นำหลักของลัทธิ และสามารถเผยแพร่ลัทธิจนแพร่หลายไปทั่วลุ่มแม่น้ำแยงซี
 
เมื่อกงฉังถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1947 ได้เกิดความแตกแยกขึ้นอีกในสำนักเพราะ'''จาง อิงอวี้''' (บุตรชายคนเดียวของกงฉัง) และฮุ่ยหมิงต่างอ้างตนเป็นผู้นำลัทธิสืบต่อจากกงฉัง ฮุ่ยหมิงได้เปรียบกว่าเพราะได้รับแต่งตั้งเป็นจู่ซือคู่กับกงฉังมาตั้งแต่แรก เธอยังอ้างว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ประกาศผ่านร่างทรง (ซันไฉ) รับรองความชอบธรรมของเธอให้ปกครองสำนัก นอกจากนี้จื่อซี่ยังอ้างตนเป็นพระภาคหนึ่งของพระแม่องค์ธรรมเองด้วย<ref name="Religion and Democracy in Taiwan">[http://books.google.co.th/books?id=VRIwtPyCkCQC&pg=PA69&lpg=PA69&dq=Zhang+tianran+son&source=bl&ots=-g0Rjv_0S0&sig=PdKSZhcTUAapXXD2elLctnc-0MY&hl=en&sa=X&ei=7w7NUuTKGMP_rQe66YGIAw&ved=0CEQQ6AEwAw#v=onepage&q=Zhang%20tianran%20son&f=false Religion and Democracy in Taiwan], pg. 69-70</ref> สาวกลัทธิอนุตตรธรรมส่วนมากจึงสนับสนุนฮุ่ยหมิง ทำให้เธอได้เป็นผู้นำสูงสุดมานับแต่นั้น
เมื่อกงฉังถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1947 ฮุ่ยหมิงได้สืบทอดพระโองการสวรรค์ต่อจากพระอาจารย์กงฉัง
 
แต่เพราะลัทธิอนุตตรธรรมในสมัยฮุ่ยหมิงถูกทางทดสอบทางการปราบปรามอย่างหนัก เธอจึงลี้ภัยไปอยู่[[ฮ่องกง]]ในปี ค.ศ. 1949 อยู่[[กัวลาลัมเปอร์]]ช่วงปี ค.ศ. 1951-2 แล้วย้ายกลับไปฮ่องกง สุดท้ายย้ายไปอยู่ไต้หวันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ขณะนั้นทางการไต้หวันยังถือว่าวิถีลัทธิอนุตตรธรรมเป็นลัทธิเถื่อน เธอจึงต้องเก็บตัวอยู่ตลอดจนกระทั่งล้มป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
 
ต่อมาท่านก่อนเสียชีวิต ฮุ่ยหมิงตั้งใจจะให้ Li Wensi บุตรชายบุญธรรมของตน ได้สืบตำแหน่งต่อเป็นจู่ซื่อรุ่นที่ 19 โดยอ้างว่าเขาจะได้เป็นกษัตริย์ของบรรดาประชาชาติทั้งหลายและเป็นผู้รวมศาสนาทั้งหลายให้เป็นหนึ่งเดียว แต่ Li Wensi ถูกจับติดคุกในปี ค.ศ. 1953 จนตลอดชีวิต<ref name="Religion and Democracy in Taiwan"/> ส่วนฮุ่ยหมิงก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1975 ทำให้ไม่มีใครได้เป็นจู่ซือต่อ แม้จะมีหลายคนอ้างตนเป็นจู่ซือรุ่นที่ 19 แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากสาวกส่วนใหญ่ ซุน ฮุ่ยหมิงจึงเป็นจู่ซือคนสุดท้ายของลัทธิอนุตตรธรรม หลังมรณกรรมของเธอได้มีการประกาศว่าพระอนุตรแม่องค์ธรรมเจ้าทรงประทานอริยฐานะให้เธอเป็น'''จงหัวเซิ่งหมู่''' ({{lang-zh|中华圣母}})<ref>ศุภนิมิต, ''สายทอง 3'', กรุงเทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, 62-4</ref>
 
== อ้างอิง ==