ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22:
* '''1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์''' (BACHELOR OF SCIENCE PROGRAM IN BIOMEDICAL SCIENCES)
ที่มาและความสาคัญ :
เนื่องจากประเทศไทยยังขาดบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพจำนวนมาก ทำให้รัฐาบาลกำหนดแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2559 เร่งผลิตบุคลากรด้านสุขภาพให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศชาติ เพื่อสนองตอบต่อนโยบายดังกล่าว คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์ขึ้น โดยมุ่งเน้นผลิตบุคลากรวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ การบริการ และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มีบัณฑิตด้านสุขภาพเพียงพอต่อความต้องการกำลังคนของประเทศ บัณฑิตของหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นบัณฑิตที่จะเข้าไปร่วมงานบริการสุขภาพในทีมสุขภาพ มี 3 วิชาเอกเลือก คือ (1) การวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ มุ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการหรือหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2) โภชนบำบัด มุ่งผลิตนักโภชนบำบัดที่สามารถนำความรู้ทางโภชนาการคลินิกไปใช้ในการวิเคราะห์และวินิจฉัยภาวะโภชนาการของผู้ป่วย สามารถบูรณาการความรู้สู่การบำบัดผูป้วยด้วยหลักโภชนาการควบคู่ไปกับการรักษาจากแพทย์ตลอดจนการใช้อาหารบำบัดเพื่อสุขภาพและการมีชีวิตที่ยืนยาว (3)เซลล์วิทยา (ยกระดับเป็นหลักสูตรพยาธิวิทยากายวิภาค) มุ่งผลิตบุคลกรด้านเซลล์พยาธิวิทยา ที่มีความสามารถทางวิชาการ การวิจัย การเตรียมและการตรวจคัดกรองเซลล์ เนื้อเยื่อ และสิ่งส่งตรวจจากอวยัวะในร่างกายผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา และ (4)การบริหารธุรกิจสุขภาพ (ยังไม่เปิดสอน) มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ควบคู่ไปกับความรู้ด้านบริหารธุรกิจ เพื่อการบูรณาการระบบดำเนินงานของสถานประกอบการหรือสถานบริการสุขภาพเชิงธุรกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างอาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา :ได้แก่
(1) การวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ : นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย พนักงานวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ พนักงานขายหรือผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือและวัสดุวิทยาศาสตร์ เครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ เวชภัณฑ์
(2) โภชนบำบัด :ผู้ช่วยนักโภชนบำบัด ผู้ช่วยนักกำหนดอาหาร ผู้ช่วยนักโภชนาการ ผู้ช่วยนักวิจยัทางโภชนศาสตร์และโภชนบำบัด ท้้งในสถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน และสามารถเปลี่ยนตำแหน่งเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชิพได้โดยผ่านการสอบเพื่อรับรองจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
เส้น 31 ⟶ 30:
 
* '''2. หลักสูตรหลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต '''(BACHELOR OF PHYSICAL THERAPY)
ความสาคัญ :
หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต ได้ผ่านการรับรองจากสภากายภาพบำบัดเรียบร้อยแล้ว เน้นการผลิตนักกายภาพบำบัด ที่มีความรู้ความสามารถในการบริการสุขภาพแบบองค์รวมเชิงรุก การส่งเสริมสุขภาพของประชาชน การป้องกันการแกไข้ และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการโดยได้มีการเปิดรับนิสิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นมา
ตัวอย่างอาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา :ได้แก่
นักกายภาพบำบัด ประจำโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข ศูนยศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิการ รวมถึงสถานส่งเสริมสุขภาพ สโมสรและทีมกีฬา สถาบันเสริมความงามต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน นักกายภาพบำบัดอิสระ หรือเปิดคลินิกกายภาพบำบัด อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ นักวิจัย ประกอบธุรกิจอื่น เช่น ผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์และทางกายภาพบำบัด
 
* '''3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ '''(BACHELOR OF SCIENCE PROGRAM IN MEDICAL TECHNOLOGY)
ความสาคัญ :
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ ได้ผ่านการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์เรียบร้อยแล้ว มีเป้าหมายที่จะผลิตนักเทคนิคการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ เพื่อสนองต่อแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ สามารถทำงานเกี่ยวข้องกับการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจของผปู้วย เช่น เลือด ปัสสาวะ อุจจาระ และสารคัดหลั่งต่าง ๆ ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา และการพยากรณ์โรค ตลอดจนการเฝ้าระวังและป้องกันโรค โดยได้มีการเปิดรับนิสิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นมา
ตัวอย่างอาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา :ได้แก่
ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรของโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน นักวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ และน้ำยาทางการแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นนักวิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษา
 
* '''4. หลกัสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค''' BACHELOR OF SCIENCE PROGRAM IN ANATOMICAL PATHOLOGY)
ความสาคัญ :
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบุคลากรทางด้านพยาธิวิทยากายวิภาค ที่มีความรู้ความสามารถในการเตรียมเนื้อเยื่อ และตรวจคัดกรองเซลล์ผิดปกติเบื้องต้น เพื่อช่วยพยาธิแพทย์ในการคัดกรอง การเตรียม และการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อให้การวินิจฉัยโรคของแพทย์รวดเร็วข้น ซึ่งรองรับนโยบายชาติด้านการขยายบริการสุขภาพแก่ประชาชนให้ทั่วถึง รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
ตัวอย่างอาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา :ได้แก่
ผู้ตรวจคัดกรองทางเซลล์พยาธิวิทยา นักวิทยาศาสตร์สาขาพยาธิวิทยา นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ช่วยนักวิจัยทางพยาธิวิทยา หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาท้้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นนักวิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษา