ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระซู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 74:
== การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย ==
[[ไฟล์:TamanNegara SungeiTembeling.jpg|thumb|[[อุทยานแห่งชาติทามันเนการา]]เป็นที่แห่งเดียวที่ทราบว่ามีประชากรกระซู่อยู่]]
[[ไฟล์:Cloud forest mount kinabalu.jpg|thumb|[[ป่าเมฆ]]ใน[[รัฐซาบาห์ซาบะฮ์]], [[บอร์เนียว]]]]
กระซู่อาศัยอยู่ได้ทั้งพื้นราบและที่สูงใน[[ป่าดิบชื้น]] ป่าพรุ และ[[ป่าเมฆ]] ในบริเวณที่เต็มไปด้วยเนินสูงชันใกล้กับแหล่งน้ำโดยเฉพาะหุบลำธารสูงชันที่เต็มไปด้วยพุ่มไม้ กระซู่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของ[[พม่า]] ทางตะวันออกของ[[อินเดีย]] และ[[บังคลาเทศ]] ยังมีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าพบกระซู่ใน[[กัมพูชา]] [[ลาว]] และ [[เวียดนาม]] แต่ประชากรเท่าที่ทราบว่ายังมีเหลือรอดนั้น อยู่ใน[[มาเลเซียตะวันตก|มาเลเซียตะวันตก]] เกาะ[[สุมาตรา]] และ[[รัฐซาบาห์ซาบะฮ์]]บนเกาะ[[บอร์เนียว]] นักอนุรักษ์ธรรมชาติบางคนหวังว่าอาจยังมีกระซู่หลงเหลืออยู่ในพม่าถึงแม้ว่ามันอาจไม่น่าเป็นไปได้ ปัญหาความยุ่งเหยิงทางการเมืองของพม่าทำให้การประเมินหรือการศึกษาของความน่าจะเป็นของกระซู่ที่คาดว่าจะหลงเหลืออยู่ไม่สามารถกระทำได้<ref name=Foose>{{Cite book | last = Foose | first = Thomas J. and van Strien, Nico | year = 1997 | title = Asian Rhinos – Status Survey and Conservation Action Plan | publisher = IUCN, Gland, Switzerland, and Cambridge, UK | isbn = 2-8317-0336-0}}</ref>
 
กระซู่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็นวงกว้างมากกว่าแรดเอเชียชนิดอื่น ทำให้ยากต่อการอนุรักษ์สปีชีส์นี้ให้ได้ผล<ref name=Foose/> มีเพียงหกแห่งเท่านั้นที่มีกระซู่อยู่กันเป็นสังคมคือ อุทยานแห่งชาติบุกิต บาริสซัน ซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) อุทยานแห่งชาติกุนนุง ลอุสเซร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติกรินจี เซอบลัต (Kerinci Seblat) และ อุทยานแห่งชาติวาย์ กัมบัส (Way Kambas) บนเกาะสุมาตรา [[อุทยานแห่งชาติทามันเนการา]]ในมาเลเซียตะวันตก และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาบิน (Tabin) ใน[[รัฐซาบาห์ซาบะฮ์]] [[ประเทศมาเลเซีย]]บนเกาะบอร์เนียว<ref name=Dinerstein/><ref name="Habitat loss">{{Cite book | author = Dean, Cathy | coauthors = Tom Foose | year = 2005 | chapter = Habitat loss | pages = 96–98 | editor = Fulconis, R. | title = Save the rhinos: EAZA Rhino Campaign 2005/6 | location = London | publisher = [[European Association of Zoos and Aquaria]] }}</ref>
 
ในประเทศไทยเองก็มีรายงานถึงการพบกระซู่ในหลายๆแห่งได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว [[อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน]] [[อุทยานแห่งชาติเขาสก]] [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง]] [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง|เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร]]<ref name="สารคดี" /> แต่ในปัจจุบันคาดว่ายังมีกระซู่หลงเหลืออยู่แค่ที่[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา]]บริเวณป่าฮาลาบาลา<ref name="สารคดี" /><ref name="กองทุนสัตว์ป่าโลก" />แต่ก็ไม่มีการพบเห็นมานานแล้วทำให้กระซู่จัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (EW) แล้วในประเทศไทย<ref>ฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย [http://chm-thai.onep.go.th/RedData/Default.aspx?GroupOf=MAMMAL กระซู่] ข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม</ref>
บรรทัด 140:
=== กระซู่ในกรงเลี้ยง ===
[[ไฟล์:Sumatran Rhino.jpg|thumb|เอมีและฮาราปัน กระซู่สายพันธุ์ย่อย D.s. sumatrensis ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ]]
[[ไฟล์:0515rhino01.jpg|thumbnail|Puntung กระซู่ชนิดย่อย D. s. harrissoni กำลังแช่ปลักในสถานเพาะเลี้ยง กระซู่ตัวนี้จับได้ในรัฐซาบาห์ซาบะฮ์ ในปีพ.ศ. 2554 เพื่อเข้าโครงการอนุรักษ์]]
แม้จะหายาก แต่ก็มีการจัดแสดงกระซู่อยู่ในบางสวนสัตว์เกือบศตวรรษครึ่ง สวนสัตว์[[ลอนดอน]]ได้รับกระซู่ 2 ตัวในปี พ.ศ. 2415 หนึ่งในนั้นเป็นเพศเมียชื่อ บีกัม (''Begum'') จับได้ที่จิตตะกอง (Chittagong) ในปี พ.ศ. 2411 และมีชีวิตรอดได้ถึงปี พ.ศ. 2443 เป็นกระซู่ที่มีอายุมากที่สุดในกรงเลี้ยงที่มีบันทึกไว้ ในเวลาที่ได้รับกระซู่มานั้น ฟิลลิป สเคลเตอร์ (Philip Sclater) เลขานุการสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอนอ้างว่ากระซู่ตัวแรกในสวนสัตว์เป็นกระซู่ที่อยู่ในสวนสัตว์[[ฮัมบูร์ก]]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ก่อนที่กระซู่ชนิดย่อย ''Dicerorhinus sumatrensis lasiotis'' จะสูญพันธุ์ มีกระซู่ชนิดนี้อย่างน้อย 7 ตัวในสวนสัตว์และโรงละครสัตว์<ref name=LitStud/> กระซู่มีสุขภาพและการเจริญเติบโตไม่ดีนักเมื่ออยู่นอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ กระซู่ในสวนสัตว์[[โกลกาตา|กัลกัตตา]]ได้ให้กำเนิดลูกในปี พ.ศ. 2432 แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ไม่มีลูกกระซู่เกิดในสวนสัตว์อีกเลย ในปี พ.ศ. 2515 กระซู่ตัวสุดท้ายในกรงเลี้ยงได้ตายลงที่สวนสัตว์[[โคเปนเฮเกน]]<ref name=LitStud/> ประเทศไทยเองก็เคยนำกระซู่เพศเมียมาจัดแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย มีชื่อว่า ''ลินจง'' แต่ตายไปในปี พ.ศ. 2529<ref>The Star, 1986. "Rare rhino dies in Bangkok." Saturday, November 22 nd, 1986. Kuala Lumpur</ref><ref>L. C. Rookmaaker,Heinz-Georg Klös, "The rhinoceros in captivity", pp.135</ref>
 
บรรทัด 157:
url = http://www.nhnz.tv/cat/forgottenrhino.html | work = [[NHNZ]] | accessdate = 2007-12-06}}</ref>
 
แม้ว่าจะมีรายงานถึงมูล และร่องรอย แต่รูปของกระซู่ใบแรกที่ถ่ายได้และแพร่หลายอย่างกว้างขวางโดยนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ได้มาจากกับดักกล้องที่ถ่ายภาพกระซู่โตเต็มที่ แข็งแรง ในป่าของรัฐซาบาห์ในซาบะฮ์ใน[[มาเลเซียตะวันออก]]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549<ref name=NST7-2>{{Cite news | work = [[New Straits Times]] (Malaysia) | date = July 2, 2006 | title = Rhinos alive and well in the final frontier }}</ref> ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 กล้องได้จับคลิปวิดีโอของแรดบอร์เนียวป่าได้เป็นครั้งแรก คลิปวิดีโอในตอนกลางคืนนั้นได้แสดงถึงว่ากระซู่กินอาหาร เดินฝ่าพุ่มไม้ และเข้ามาดมกล้องด้วยความสงสัย [[องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล]]ได้ใช้คลิปวิดีโอนี้มาพยายามที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลท้องถิ่นเพื่อเปิดพื้นที่ให้เป็นเขตอนุรักษ์กระซู่<ref name=AFP4-2>{{Cite news | work = [[Agence France Presse]] | date = April 25, 2007 | title = Rhino on camera was rare sub-species: wildlife group }}</ref><ref>Video of the Sumatran Rhinoceros is available on the [http://www.panda.org/about_wwf/what_we_do/species/about_species/species_factsheets/rhinoceros/asian_rhinos/index.cfm World Wildlife Fund web site].</ref>
 
ได้มีการรวบรวมนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับกระซู่โดยนักธรรมชาติวิทยาในสมัยล่าอาณานิคมและนายพรานตอนกลางของคริสต์ทศวรรษ 1800 ถึงตอนต้นของ[[คริสต์ทศวรรษ 1990]] ในพม่ามีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่ากระซู่กันไฟ ตำนานได้ระบุบว่ากระซู่จะตามควันมาถึงกองไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคมป์ไฟ และจะโจมตีแคมป์ และมีชาวพม่าที่เชื่อว่าเวลาในการล่ากระซู่ที่ดีที่สุดคือเดือนกรกฎาคมเพราะกระซู่จะมาชุมนุมกันใต้ดวงจันทร์เต็มดวง ในมาลายามีคำบอกเล่าว่านอกระซู่กลวงเป็นโพรง สามารถใช้เป็นท่อสำหรับหายใจและฉีดน้ำ ในมาลายาและเกาะสุมาตรามีความเชื่อว่าแรดผลัดนอทุกปีและฝังมันไว้ใต้พื้นดิน ในเกาะบอร์เนียว มีคำบอกเล่าว่ากระซู่มีพฤติกรรมการกินเนื้อที่แปลก หลังจากขับถ่ายในลำธารแล้ว มันก็หันกินปลาที่มึนงงจากมูลของมัน<ref name=LitStud/>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กระซู่"