ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาอัลไต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Atdeen binmahama (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21:
{{บทความหลัก|กลุ่มภาษาเตอร์กิก}}
มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน รวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองราว 200 ล้านคน ใช้พูดใน[[ประเทศตุรกี]] [[เอเชียกลาง]] [[สาธารณรัฐยาคุต]] [[สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน]] [[สาธารณรัฐตาตาร์สถาน]] ใน[[ประเทศรัสเซีย]] และ [[มณฑลซินเจียงอุยกูร์]]ใน[[ประเทศจีน]] กลุ่มภาษาเตอร์กิกส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40% ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหมด สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิกแบ่งออกได้เป็น
* กลุ่มภาษาบุลการ์โบราณโอคูร์ (OldOghur BulgarianTurkic) ได้แก่ ภาษาบุลการ์โบราณ ภาษาคาซาร ภาษาอาวาร์(พันโนเนี่ยนอาวาร์) ปัจจุบันสูญหายหมดเหลือแต่ ภาษาชูวาช
* กลุ่มภาษาเตอร์กใต้หรือโอกุซ (Southern Turkic or Oghuz) ได้แก่ [[ภาษาตุรกี]] [[ภาษาอาเซอร์ไบจาน]] [[ภาษาเติร์กเมน]]
* กลุ่มภาษาเตอร์กเหนือ(ไซบีเรี่ยน เตอร์กิก) (Northern Turkic) ได้แก่ ภาษายาคุท ภาษาดอลกัน ภาษาอูเรียงกัต ภาษาอัลไต
* กลุ่มภาษาเตอร์กตะวันออกหรือชากาไตย(คาร์ลุค) (Eastern Turkic or Chagatai) ได้แก่ [[ภาษาอุยกูร์]] [[ภาษาอุซเบก]]
* กลุ่มภาษาเตอร์กตะวันตกหรือคิปชัก (Werstern Turkic or Kipchak) ได้แก่ [[ภาษาตาตาร์]] [[ภาษาคาซัค]] [[ภาษาคีร์กีซ]] [[ภาษาการากัลปัก]] [[ภาษาบัศกีร์]]