ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''วอก''' เป็นชื่อปีที่ 9 ของรอบ[[ปีนักษัตร]] มีสัญลักษณ์เป็น[[ลิง]] [[พุทธศักราช]]ที่ตรงกับปีวอก เช่น [[พ.ศ. 2511]] [[พ.ศ. 2523]] [[พ.ศ. 2535]] [[พ.ศ. 2547]] [[พ.ศ. 2559]] [[พ.ศ. 2571]] [[พ.ศ. 2583]] และ [[พ.ศ. 2595]] เป็นต้น โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับ[[ปฏิทิน]]สากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย
 
โดยการใช้สัญลักษณ์ลิงเป็นตัวแทนประจำปีนั้นมีที่มาจากจีน โดยปรากฏมีหลักฐานทางโบราณว่าตั้งแต่ก่อนยุค[[ราชวงศ์ฉิน]] (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก็ปรากฏมีการใช้สัตว์ประเภทต่าง ๆ แทนปีนักษัตรแล้ว โดยลิงซึ่งเป็นตัวแทนปีวอกนั้น การออกเสียงใน[[ภาษาจีน]] (猴) เป็นคำพ้องเสียงกับการออกเสียงเรียกบรรดาศักดิ์ขั้นหนึ่งของขุนนางจีนในยุคโบราณ (เทียบกับ[[บรรดาศักดิ์ไทย]]เท่ากับ พระยา) ดังนั้น ลิงจึงเป็นนัยของการอวยพรถึงการมียศถาบรรดาศักดิ์ในยุคโบราณที่ยังมีการปกครองแบบ[[ราชาธิปไตย]] (เทียบกับความหมายในยุคปัจจุบัน คือ ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน) ในภาพจิตรกรรมแบบจีน ลิงจึงมักปรากฏในคติเช่นนี้ เช่น รูปลิงปีนต้นไม้แล้วแขวนตราประจำตำแหน่ง หรือลิงขี่ม้า หมายถึง ขอให้มีความก้าวหน้าในเร็ววัน<ref>หน้าจุดประกาย 2 วัฒนธรรม, ''ส่งท้ายปีลิง 'ลิง' ในวัฒนธรรมของชาวจีน'' โดย ดนุพล ศิริตรานนท์. '''กรุงเทพธุรกิจ'''ปีที่ 30 ฉบับที่ 10345: วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560</ref>
 
==อ้างอิง==
บรรทัด 10:
 
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Monkey_(zodiac)|วอก}}
 
{{พระธาตุประจำปีเกิด}}
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วอก"