ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดวังก์วิเวการาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน
'''วัดวังก์วิเวการาม''' หรือ '''วัดหลวงพ่ออุตตมะ''' เป็นวัดที่[[หลวงพ่ออุตตมะ]] ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาว[[กะเหรี่ยง]]และชาว[[มอญ]] ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2496 ที่ บ้านวังกะล่าง [[อำเภอสังขละบุรี]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]] ใกล้กับชายแดนไทย-[[พม่า]] ห่างจาก[[อำเภอเมืองกาญจนบุรี]] ประมาณ 220 กิโลเมตร
| full_name = วัดวังก์วิเวการาม
| common_name = วัดหลวงพ่ออุตตมะ
| image_temple =
| short_describtion =
| type_of_place =
| branch = [[เถรวาท]]
| special_things =
| principal_buddha = หลวงพ่อขาว
| important_buddha =
| pre_road =
| road_name = ถนนทางหลวงชนบทกาญจนบุรี 3024
| sub_district = ตำบลหนองลู
| district = อำเภอสังขละบุรี
| province = จังหวัดกาญจนบุรี
| zip_code =
| tel_no =
| pass_buses =
| pass_boats =
| pass_rails =
| open_time =
| entrance_fee =
| shouldnt_miss =
| activities = นมัสการสังขารของหลวงพ่ออุตตมะ นมัสการหลวงพ่อขาว นมัสการเจดีย์พุทธคยาจำลอง ชมพระอุโบสถหลังเก่าที่จมอยู่ใต้น้ำ ชมสะพานมอญและทัศนียภาพบริเวณสามประสบ
| local_tourguide =
| foods_beverages =
| do_not_do =
| photography =
| car_parks = ลานจอดรถวัดวังก์วิเวการาม
| local_attraction =
| footnote =
}}
 
'''วัดวังก์วิเวการาม''' หรือ '''วัดหลวงพ่ออุตตมะ''' เป็นวัดที่[[หลวงพ่ออุตตมะ]] ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาว[[กะเหรี่ยง]]และชาว[[มอญ]] ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2496 ที่ บ้านวังกะล่าง [[อำเภอสังขละบุรี]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]] ใกล้กับชายแดนไทย-[[พม่า]] ห่างจาก[[อำเภอเมืองกาญจนบุรี]] ประมาณ 220 กิโลเมตร
 
ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า '''วัดหลวงพ่ออุตตมะ''' ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า [[สามประสบ]] ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือ[[แม่น้ำซองกาเลีย]] [[แม่น้ำบีคลี่]] [[แม่น้ำรันตี]] ไหลมาบรรจบกัน ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจาก[[กรมการศาสนา]]ให้ใช้ชื่อว่า '''วัดวังก์วิเวการาม''' ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508
 
วัดวังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่ามอญ มี[[พระพุทธรูป]][[หินอ่อน]] และ งาช้าง[[แมมมอธ]] มี[[เจดีย์พุทธคยาจำลอง]] สร้างจำลองแบบจาก [[พุทธคยาเจดีย์|พุทธคยา]] [[ประเทศอินเดีย]] โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2529 [[สะพานมอญ]] เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาวประมาณ 900 เมตร
 
เมื่อ พ.ศ. 2527 [[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]]ได้ก่อสร้าง[[เขื่อนเขาแหลม]] หรือ [[เขื่อนวชิราลงกรณ์]] ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินของวัดวังก์วิเวการามให้ชาวบ้านครอบครัวละ 30 ตารางวา ปัจจุบันหมู่บ้านชาวมอญมีพื้นที่ราว 1,000 ไร่เศษ มีผู้อาศัยราว 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจัดเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติ[[พม่า]]ซึ่งไม่มี[[บัตรประชาชน]] หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืชผักสวนครัวตามชายน้ำ ทำประมงชายฝั่ง คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งนิยมเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บเสื้อที่อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้าน
เส้น 11 ⟶ 44:
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
*[http://www.kanchanaburi.co/th/specific-place/วัดวังก์วิเวการาม/ วัดวังก์วิเวการาม เว็บไซต์จังหวัดกาญจนบุรี]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{สถานีย่อย2|ประเทศไทย|พระพุทธศาสนา}}
*{{geolinks-bldg|15.1329891329894|98.4449524449518}}
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดกาญจนบุรี|วังก์วิเวการาม]]
 
[[หมวดหมู่:วัดไทย]]
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดกาญจนบุรี|วังก์วิเวการาม]]
{{สร้างปี|2496}}