ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยามักการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ijiryu2001 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มวิธีการใช้ยามักการ
บรรทัด 5:
 
ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากมีรูปร่างคล้าย[[ทัณฑฆาต]] (-์) แต่ยังสามารถพบได้ในหนังสือมนต์พิธี (หนังสือสวดมนต์) ตำราเรียนเก่า ๆ หรือการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยของบางสำนักพิมพ์
 
== การใช้ยามักการ ==
 
=== ใช้เพื่อแสดงว่าพยัญชนะนี้เป็นพยัญชนะซ้อน ===
พยัญชนะซ้อน คือ พยัญชนะที่จะออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเป็นเสียง อะ เพียงเล็กน้อย แล้วเสียงตัวหลังเต็มเสียง เช่น คำว่า เขม่า จะถูกเขียนเป็น เข๎ม่า เพราะมันอ่านว่า ขะ(เปล่งเสียงอะออกมาเพียงเล็กน้อย) - เหม่า เพื่อแสดงว่ามันเป็นพยัญชนะซ้อน คำที่ปรากฎการใช้พยัญชนะซ้อนมีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
 
'''เข๎ม่า'''
 
'''แส๎ม'''
 
'''ผ๎กา'''
 
'''ส๎นาม''' ที่ต้องใส่เพราะว่าคำว่า นาม มันอ่านว่า หนาม ตามอักษรข้างหน้า ถ้าเกิดเขียนว่า สนาม จะอ่านว่า สะ-นาม
 
'''ส๎นม''' (ถ้าไม่ใส่ยามักการจะอ่านว่า สะ-นม)
 
'''จ๎วัก''' (ที่เขียนว่า จ๎วัก นั้น เพราะว่าเราจะมองว่าพยัญชนะกลุ่มนี้ ถือเป็นพยัญชนะอักษร สูง กลาง ต่ำ ตามพยัญชนะตัวหน้า ถ้าคำๆนี้ไม่ใส่ยามักการ จะ
 
อ่านว่า จะ-วัก แต่มันอ่านว่า จะ-หวัก จึงต้องใส่ยามักการเพื่อให้เสียงสระของพยางค์เป็นตามเสียงตัวพยัญชนะหน้า)
 
'''เก๎ษียณ''' (ถ้าไม่ใส่ยามักการจะอ่านว่า เก-สี-ยน)
 
'''เก๎ษตร'''
 
คำบางคำอาจไม่ต้องใส่ก็ได้ เช่น สดับ อาจเขียนเป็น ส๎ดับ ก็ได้ แต่ไม่นิยมเขียน
 
=== ใช้เพื่อแสดงพยัญชนะ ห นำ หรือ อ นำ ===
เช่น ห๎มา ห๎นาม ห๎วู โห๎วงเห๎วง แห๎งน อ๎ย่า อ๎ยู่ อ๎ย่าง อ๎ยาก เป็นต้น
 
[[หมวดหมู่:อักษรไทย]]