ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ระบบดิจิทัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แก้ไขตัวสะกดให้ถูกต้อง ไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาแต่อย่างใด
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Digital broadcast standards.svg|290px|thumb|มาตรฐานการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลในแต่ละประเทศ]]
 
'''โทรทัศน์ดิจิทัล''' ({{lang-en|Digital television}}) เป็นรูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงโดยกระบวนการ[[ดิจิทัล]] เป็นกระบวนการที่ตรงข้ามกับระบบการถ่ายทอดสัญญาณแบบ[[แอนะล็อก]]ซึ่งใช้การแบ่งคลื่นออกเป็นหลายๆช่องสัญญาณ โทรทัศน์ดิจิทัลสามารถรองรับรายการโทรทัศน์ได้มากกว่าหนึ่งรายการในช่องแบนด์วิดท์เดียว<ref>{{cite web | url=http://www.disabled-world.com/artman/publish/digital-hdtv.shtml | title=HDTV Set Top Boxes and Digital TV Broadcast Information | accessdate=28 June 2014}}</ref> นอกจากสัญญาณภาพและเสียงแล้ว การแพร่ภาพระบบดิจิทัลยังสามารถส่งข้อมูลอื่นๆ อาทิ ผังรายการ, บทบรรยาย มาพร้อมกันได้อีกด้วย ถือเป็นนวัตกรรมด้วนโทรทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สุดนับตั้งแต่การเปลี่ยนจากโทรทัศน์ขาวดำเป็นโทรทัศน์สีในทศวรรษที่ 1950<ref>Kruger, L. G. (2001). Digital Television: An Overview. Hauppauge, New York: Nova Publishers.</ref> ในปัจจุบัน หลายๆประเทศได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้การแพร่ภาพแบบดิจิทัล โดยที่ในแต่ละภูมิภาคก็ใช้มาตรฐานการแพ่แพร่ภาพที่แตกต่างกันไป
 
กลางทศวรรษที่ 1980 สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่นเริ่มค้นคว้าการแพร่ภาพที่มีความคมชัดสูง อย่างไรก็ตามการแพร่ภาพความคมชัดสูงในญี่ปุ่นได้ใช้รูปแบบ MUSE ซึ่งเป็นระบบแอนะล็อก ซึ่งญี่ปุ่นได้ใช้รูปแบบนี้จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาเดียวกันนั้น บริษัท[[เจเนอรัลอิเล็กทริก]]ของสหรัฐก็ได้ทดลองศึกษาความเป็นไปได้ในการแพร่ภาพสัญญาณดิจิทัล และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1990 ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า แนวคิดการแพร่ภาพสัญญาณดิจิทัลนั้นสามารถเป็นไปได้ และออกมากล่าวว่าระบบใหม่นี้จะมีมาตรฐานสูงกว่าระบบแอนะล็อกที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งจะสามารถแพร่ภาพที่มีความละเอียดมากกว่าความละเอียดของระบบเดิมอย่างน้อยสองเท่า