ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{ปรับภาษา}}
{{Infobox monarch
| full name = พระเจ้าช็อนโจซ็อนโจ
| succession = กษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์โชซ็อน|โชซ็อน]]
| image = ไฟล์:선조 어필.JPG
บรรทัด 30:
| mrborn = Yi Yŏn
}}
'''พระเจ้าช็อนโจซ็อนโจ''' ({{lang-ko|선조 宣祖}}) เป็นกษัตริย์[[ราชวงศ์โชซ็อน]]องค์ที่ 14 ([[พ.ศ. 2110]] ถึง [[พ.ศ. 2151]]) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดของ[[เกาหลี]]และมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้ง[[การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)|การรุกรานของญี่ปุ่น]]และการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าช็อนโจซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น [[ลีซุนชิน]] [[ลีฮวาง]] [[ลีอี]] แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก
 
องค์ชายฮาซง เป็นพระโอรสขององค์ชายทอกกึง ซึ่งเป็นพระโอรสของ[[พระเจ้าจุงจง]]กับพระสนมอันชางบิน ทรงเป็นองค์ชายธรรมดาที่ห่างไกลจากราชบัลลังก์และไม่มีขุนนางใดสนับสนุนให้มีอำนาจ แต่ใน[[พ.ศ. 2110]] [[พระเจ้าเมียงจง]]สิ้นพระชนม์โดยที่ไม่มีทายาท บรรดาขุนนางจึงสรรหาพระราชวงศ์ที่ทรงพระเยาว์มาขึ้นครองราชย์ องค์ชายฮาซงจึงทรงถูกเลือกและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าช็อนโจซ็อนโจ และเลื่อนสถานะของพระบิดาและพระมารดาเป็นแทวอนกุนและแทกุนบูอิน
 
== การแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิม ==
เช่นเดียวกับกษัตริย์เกาหลีองค์อื่น ในระยะแรกของรัชสมัยของพระเจ้าช็อนโจซ็อนโจ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทุ่มเทเพื่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และพัฒนาประเทศ เพราะอาณาจักรโชซ็อนประสบปัญหาความอ่อนแอของการปกครองเนื่องจากเหตุการณ์ตั้งแต่สมัย[[องค์ชายยอนซันกุน|องค์ชายยอนซัน]] สมัย[[พระเจ้าจุงจง]]ที่ทรงไม่มีอำนาจปกครอง การแก่งแย่งอำนาจของฝ่ายยุนใหญ่และยุนเล็ก จนถึงการปกครองที่ทุจริตของ[[ยุนวอนฮัง]] พระเจ้าช็อนซ็อนโจทรงเปลี่ยนแปลงการสอบ[[ควากอ]] ([[จอหงวน]]) ใหม่โดยเพิ่มการสอบเกี่ยวกับ[[รัฐศาสตร์]][[การปกครอง]]และ[[ประวัติศาสตร์เกาหลี|ประวัติศาสตร์]]เข้าไป ซึ่งแต่เดิมมีแต่การสอบ[[ปรัชญา]][[ขงจื้อ]]และ[[ชิโจ|การแต่งกลอน]]เท่านั้น
 
เพื่อที่จะพัฒนาประเทศ พระเจ้าช็อนซ็อนโจทรงรับเอาปราชญ์กลุ่มซานิมกลับเข้ามารับราชการ ยกย่องขุนนางซานิมเก่าที่เคยถูกลงโทษ เช่น โจกวางโจ และทรงทำลายอำนาจของกลุ่มฮุงงู ใน[[พ.ศ. 2118]] ขุนนางซานิมสองคน คือ ชิมอึย-กยอม และคิมฮโยวอน แข่งขันกันเพื่อที่จะแย่งตำแหน่งจองนัง (ขั้น 4) สังกัดฝ่ายบุคคล (อีโจ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงนักแต่มีอำนาจสามารถแนะนำขุนนางให้ดำรงตำแหน่งต่างๆในซัมซา (ผู้ตรวจรวจการทั้งสาม ประกอบด้วย ซาฮองบู ซากันวาน และฮงมุนวาน) ได้ ชิมอึยกยอมเป็นพระญาติของมเหสี ส่วนคิมฮโยวอนเป็นศิษย์ของลีฮวาง ปราชญ์ขงจื้อชื่อดัง
 
ขุนนางฝ่ายซานิมจึงแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่สนับสนุนชิมอึยกยอม เรียกว่า '''ฝ่ายตะวันตก''' (ซออิน) เพราะชิมอึยกยอมอาศัยทางตะวันตกของ[[โซล|ฮันซอง]] ประกอบด้วยขุนนางอาวุโส เพราะชิมอึยกยอมมีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์ จึงมีขุนนางเก่าสนับสนุนมาก ออกไปทางอนุรักษนิยม ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนคิมฮโยวอนเรียกว่า'''ฝ่ายตะวันออก''' (ทงอิน) เพราะคิมฮโยวอนอาศัยอยู่ทางตะวันออกของฮันยาง คือพวกขุนนางอายุน้อย เพราะขุนนางรุ่นใหม่กำลังสนใจในปรัชญาแบบใหม่ของลีฮวาง มีความคิดแนวปฏิรูป
 
จนลีอี หัวหน้าขุนนางซานิมต้องมาไกล่เกลี่ยมิให้มีการแตกแยก โดยการส่งคิมฮโยวอนไปเมืองพูรยอง และส่งชิมอึยกยอมไปเมือง[[แคซอง]] เพื่อตัดปัญหา ให้ไปปกครองท้องถิ่นแทน แต่ฝ่ายทงอินกล่าวหาว่าลีอีเข้าข้างฝ่าซออิน เพราะส่งคิมฮโยวอนไปไกลทางเหนือ แต่ส่งชิมอึยกยอมไม่แค่เมืองแคซองใกล้ๆ ฝ่ายตะวันตกมีอำนาจขึ้นมาก่อนเพราะได้รับการสนับสนุนจากขุนนางอาวุโสและพระราชวงศ์ ขณะที่ฝ่ายตะวันออกเรียกร้องให้มีการปฏิรูปแต่ได้รับการปฏิเสธทุกครั้ง ใน[[พ.ศ. 2126]] ลีอี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกลาโหม เห็นว่าพวก[[แมนจู]]และ[[ญี่ปุ่น]]สะสมกำลังมากขึ้น โชซ็อนควรเตรียมรับมือให้พร้อมโดยการเพิ่มกำลังกองทัพ แต่ทั้งสองฝ่ายและพระเจ้าช็อนโจซ็อนโจไม่มีใครเห็นด้วยเลย เพราะเชื่อว่าบ้านเมืองจะสงบสุขตลอดไป แต่หารู้ไม่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าโชซ็อนจะถูกทั้งญี่ปุ่นและแมนจูบดขยี้จนย่อยยับ ลีอีสิ้นชีวิตใน[[พ.ศ. 2127]]
 
== การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ==
{{main|การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)}}
[[โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ]] รวบรวมประเทศญี่ปุ่นใน[[ยุคเซงโงกุ]]ได้สำเร็จ และมีความทะเยอทะยานที่จะพิชิต[[จีน]] จึงส่งทูตมาโชซ็อนเพื่อขอความร่วมมือในการบุกยึดจีนใน[[พ.ศ. 2130]] โดยผ่านทางตระกูลโซเจ้าครอง[[เกาะซึชิมา]] ซึ่งเป็นทางเดียวที่โชซ็อนติดต่อกับญี่ปุ่น แต่เจ้าครองเกาะเห็นว่า โชซ็อนไม่มีวันจะเข้ากับญี่ปุ่นรุกรานจีน หากส่งสาสน์ไปจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการค้าที่เกาะซึชิมาพึงมี จึงเปลี่ยนแปลงเนื้อความในสารให้เป็นการทำสัมพันธไมตรีธรรมดา ใน[[พ.ศ. 2133]] พระเจ้าช็อนโจซ็อนโจจึงส่งทูตไปขอบพระทัยโทโยโตมิที่[[เกียวโต]] แต่โทโยโตมิกำลังทำสงครามกับ[[ไดเมียว]]อื่นอยู่ ทำให้ทูตโชซ็อนต้องรออยู่หลายวัน และโทโยโตมิเข้าใจว่าทูตโชซ็อนมาส่งบรรณาการ จึงไม่ให้การต้องรับอย่างสมเกียรติเท่าที่ควร และเขียนสาสน์อย่างไม่เคารพพระเจ้าช็อนโจซ็อนโจ ให้ร่วมมือกันบุกยึดจีน
 
การกระทำของโทโยโตมิสร้างความแปลงประหลาดใจและความสงสัยให้กัยโชซ็อนอย่างมาก และไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะมีความสามารถทำอะไรจีน[[ราชวงศ์หมิง]]ได้ ทูตฝ่ายตะวันตกรายงานว่าโทโยโตมิสะสมกำลังกองทัพไว้ขนาดใหญ่มาก แต่ทูตฝ่ายตะวันออกกลับบอกว่ากองทัพนี้เอาไว้รบกับไดเมียวอื่นๆในญี่ปุ่น พระเจ้าช็อนซ็อนโจทรงเชื่อฝ่ายตะวันออก และทรงละเลยความเป็นไปได้ของภัยคุกคามจากญี่ปุ่น
 
เมื่อไม่ได้รับการตอบรับ ใน[[พ.ศ. 2134]] โทโยโตมิจึงส่งสาสน์มาว่าจะยกทัพผ่านโชซ็อนไปจีน ทำให้ในที่สุดฝ่ายโชซ็อนจึงรู้ถึงสงครามที่กำลังจะเกิด จึงเร่งเตรียมกำลังทัพ แต่ไม่ทันเพราะปีถัดมา[[พ.ศ. 2135]] โคะนิชิ ยุกินะกะ ยกทัพเรือบุกเผ่าเมืองท่าต่างๆทางตอนใต้และยกพลขึ้นบกได้ วันต่อมา[[คะโต คิโยะมะสะ]] ก็ตามมาเอาชนะแม่ทัพ ลีอิล ที่ซังจูและชุงจู และรุกคืบหาเมืองฮันซองอย่างรวดเร็ว
 
พระเจ้าช็อนโจซ็อนโจเมื่อทรงกลับมาก็พบว่าวังของพระองค์เหลือแต่เถ้าถ่าน จึงสร้างพระราชวังใหม่ชื่อว่า [[พระราชวังต๊อกซู]] ([[ต๊อกซูกุง]]) ยูซอง-ลยอง เสนอว่าโชซ็อนควรจะรับ[[ปืน]]มาใช้ และปรับปรุงกองทัพรวมทั้งเกณฑ์ไพร่พลทุกชนชั้นตั้งแต่ยังบันถึงชอนมิน [[พ.ศ. 2140]] การเจรจาระหว่างจีนและญี่ปุ่นไม่เป็นผล ญี่ปุ่นจึงบุกโชซ็อนอีกครั้งแต่ไม่ง่ายเหมือนคราวก่อน ยึดได้แต่แคว้นเคียงซังและจอลลาทางใต้ ญี่ปุ่นยังวางแผนกำจัดลีซุนชินโดยการหลอกว่าจะส่งทัพเรือมาบุกฮันซองทางทะเล แต่ลีซุนชินไม่เชื่อว่าจะมาได้เพราะผิดหลัก[[ยุทธศาสตร์]] แต่พระเจ้าช็อนซ็อนโจทรงเห็นว่าลีซุนชินขัดพระราชโองการจึงรับสั่งให้จับเข้าคุก เมื่อไม่มีลีซุนชอนโชซ็อนจึงพ่ายแพ้ยับเยินที่ชิลชอน-นยาง จึงทรงปล่อยตัวลีซุนชินและสามารถเอาชนะญี่ปุ่นที่เมียงนัง
 
ใน[[พ.ศ. 2141]] โทโยโตมิเสียชีวิต ได้สั่งเสียให้ถอนทัพจากโชซ็อน ทัพญี่ปุ่นจึงถอยกลับ ก่อนกลับยังพ่ายแพ้โชซ็อนอีกที่โน-นยาง แต่ลีซุนชินเสียชีวิตในการรบ เป็นอันสิ้นสุดสงครามเจ็ดปี หรือสงครามอิมิจิน
 
== การแบ่งฝ่ายของฝ่ายตะวันออก ==
สงครามอิมิจินได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพระเจ้าช็อนซ็อนโจทรงละเลยหน้าที่ในฐานะผู้นำประเทศ เพราะขณะที่ขุนพลทั้งหลายต่อสู้กับญี่ปุ่นแต่ทรงหลบหนีไปจีน และที่ทรงกระทำกับลีซุนชินนั้นก็เป็นการขัดขวางความสำเร็จของโชซ็อน ทำให้[[นักประวัติศาสตร์]]กล่าวว่าทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์เกาหลีที่อ่อนแอ
 
สำหรับสงครามการเมืองนั้น ฝ่ายตะวันออกมีชัย เพราะหลังจากผ่านสงครามมาทำให้ประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลงปฏิรูป ซึ่งฝ่ายตะวันตกที่หัวโบราณไม่อาจจะแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ได้ แต่ฝ่ายตะวันออกนั้นเร่งรัดการปฏิรูปจนยูซองนยองเสนอว่าไม่ควรจะปฏิรูปให้เร็วเกินไป ชะลอลงบ้าง เพราะยูซองนยองอาศัยอยู่ทางใต้ จึงเรียกฝ่ายสนับสนุนยูซองนยองว่า'''ฝ่ายใต้''' (นัมอิน) ส่วนที่เหลือเรียกว่า'''ฝ่ายเหนือ''' (พุกอิน) และฝ่ายเหนือก็ยังแบ่งอีก เป็น'''ฝ่ายเหนือใหญ่''' (แทบุก) และ'''ฝ่ายเหนือเล็ก''' (โซบุก) เป็นการแบ่งฝ่ายอีกครั้ง ทำให้การเมืองโจซ็อนมีหลายพรรคหลายพวก ซึ่งจะขัดขวางความเจริญของประเทศไปอีกหลายร้อยปี
 
พระเจ้าช็อนโจทรงเหน็จซ็อนโจทรงเหน็จเหนื่อยหลังจากผ่านวิกฤตมามาก จึงมอบให้[[องค์ชายควางแฮกุน|องค์ชายควางแฮ]]ว่าราชการแทน แต่เมื่อมเหสีอินมอกประสูติองค์ชายยอนชัง ก็เป็นเหตุให้ฝ่ายเหนือใหญ่และฝ่ายเหนือเล็กขัดแย้งกัน เพราะฝ่ายเหนือใหญ่สนับสนุนองค์ชาวควางแฮ และฝ่ายเหนือเล็กสนับสนุนองค์ชายยอนชัง
 
พระเจ้าช็อนโจซ็อนโจสิ้นพระชนม์ใน[[พ.ศ. 2151]] โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองยังคุกรุ่น องค์ชายควางแฮสืบบัลงก์ต่อจากพระองค์
 
== พระนามเต็ม ==
 
'''สมเด็จพระราชา ช็อนโจซ็อนโจ แทโจโซคยอง จองรยุน ริปกุ๊ก ซองด็อก ฮงรยอล จิซอง แดอึย คยอกชอล เฮอึน คยองมยอง ซินรยอก ฮงคง ยุนคอป ฮนอนมุน อึยมู ช็อนคเย ดันฮโย แห่งเกาหลี'''
 
== พระบรมวงศานุวงศ์ ==