ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินสตัน เชอร์ชิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 86:
== งานการเมือง ==
[[ภาพ:Churchill 1904 Q 42037.jpg|155px|thumb|ส.ส. วินสตัน เชอร์ชิล ปี 1904]]
=== สมาชิกสภาสมัยแรก ===
ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1900 เขาชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.จากโอลด์แฮม<ref name="LG 6 November 1900">{{London Gazette |issue=27244 |date=6 November 1900 |startpage=6772 |endpage= |supp= |accessdate=31 May 2012}}</ref> หลังจากชนะการเลือกตั้งเขาก็เริ่มเดินสายปราศรัยทั้งในเกาะบริเตนและสหรัฐอเมริกา สร้างรายได้ให้แก่เขาถึง 10, 000 ปอนด์ (เทียบเท่า 980, 000 ปอนด์ในปัจจุบัน) นอกจากนี้ระหว่างปี 1903 ถึง 1905 เขายังได้ร่วมเขียนหนังสือชีวประวัติสองเล่มของบิดา ''ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล''<ref>Jenkins, p. 101</ref>
 
วาระแรกในรัฐสภา วินสตันไปสมาคมอยู่กับพรรคอนุรักษนิยมซึ่งในขณะนั้นเป็นเสียงข้างน้อยนำโดย ลอร์ดฮิวจ์ เซซิล ซึ่งมีชื่อเรียกลำลองในสภาว่า "พวกฮิวจ์" วินสตันได้อภิปรายคัดค้านรายจ่ายด้านการทหารของรัฐบาล<ref>Jenkins, pp. 74–76</ref> ตลอดจนคัดค้านการเสนอให้ขึ้นภาษีของรัฐมนตรีโจเซฟ เชมเบอร์ลิน การคัดค้านของวินสตันก็เพื่อหวังรักษาอิทธิพลทางเศรษฐกิจของอังกฤษ ในขณะที่พวกฮิวจ์ส่วนใหญ่ดูจะสนับสนุนนโยบายขึ้นภาษี ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปวินสตันก็ยังสามารถรักษาเก้าอี้ส.ส.ของตนเองไว้ได้ แต่ด้วยความขัดแย้งเรื่องนโยบายภาษีกับพรรคอนุรักษนิยม เขาก็ตัดสินใจครั้งสำคัญโดยย้ายไปสังกัดพรรคเสรีนิยมแทน ในฐานะสมาชิกพรรคเสรีนิยม เขายังคงสนับสนุนแนวคิดเรื่อง[[เขตการค้าเสรี]] และเมื่อพรรคเสรีนิยมได้เป็นรัฐบาลที่นำโดยเซอร์[[เฮนรี แคมป์เบล-แบนเนอร์มัน]] ในปี 1905 วินสตันก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการอาณานิคม ดูแลนิคมแอฟริกาใต้ภายหลัง[[สงครามโบเออร์ครั้งที่สอง|สงครามโบเออร์]] และมีส่วนร่างรัฐธรรมนูญทรานส์วาลซึ่งหวังนำเสถียรภาพมาสู่นิคมแอฟริกาใต้ วินสตันได้สูญเสียเก้าอี้ส.ส.จากโอลด์แฮมไปในการเลือกตั้งปี 1906
 
=== การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ===
=== "เราจักไม่มีวันแพ้" ===
ส.ส. เชอร์ชิลเป็นบุคคลที่ต่อต้านการบรรดาความเคลื่อนไหวเพื่อปลดแอกอินเดียรวมถึงต่อต้านกฎหมายที่จะให้เอกราชแก่อินเดีย ในปี 1920 เขากล่าวว่า ''"คานธีควรจะถูกมัดมือมัดเท้าไว้หน้าประตูเมืองเดลี แล้วก็ปล่อยให้ช้างตัวเบ้อเร่อเหยียบ"''<ref>Barczewsk, Stephanie, John Eglin, Stephen Heathorn, Michael Silvestri, and Michelle Tusan. ''Britain Since 1688: A Nation in the World'', p. 301</ref><ref>Toye, Richard. ''Churchill's Empire: The World That Made Him and the World He Made'', p. 172<!--publisher; ISSN/ISBN needed--></ref> ยังมีเอกสารระบุในภายหลังอีกว่า เชอร์ชิลอยากจะเห็นคานธีอดอาหารให้ตายๆไปซะ<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/4573152.stm|title=Churchill took hardline on Gandhi|publisher=BBC News|date=1 January 2006|accessdate=12 April 2010}}</ref> เชอร์ชิลเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า สันนิบาตป้องกันอินเดีย (India Defence League) เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อธำรงไว้ซึ่งอิทธิพลของอังกฤษในอินเดีย ในปี 1930 เชอร์ชิลออกมาประกาศว่า กลุ่มคนและทุกอย่างของลัทธิ[[มหาตมา คานธี|คานธี]]จะต้องถูกจับกุมและถูกทำลาย<ref name="independent.ie">{{cite news|first=Kevin|last=Myers|url=http://www.independent.ie/opinion/columnists/kevin-myers/kevin-myers-seventy-years-on-and-the-soundtrack-to-the-summer-of-1940-is-filling-britains-airwaves-2286560.html|title=Seventy years on and the soundtrack to the summer of 1940 is filling Britain's airwaves|work=The Irish Independent|accessdate=7 November 2010|date=6 August 2010}}</ref> เชอร์ชิลถึงขนาดแตกหักกับนายกรัฐมนตรี [[สแตนลีย์ บอลดวิน]]ที่จะให้เอกราชแก่อินเดีย โดยกล่าวว่าจะไม่ขอรับตำแหน่งใดๆในรัฐบาลอีกตราบใดที่บอลดวินยังเป็นนายกฯอยู่
 
=== นายกรัฐมนตรีครั้งแรก ===
ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเยอรมนีจะเข้าบุกฝรั่งเศสด้วยกลยุทธ์[[บลิทซ์ครีก]]ผ่าน[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]] หลังจากความล้มเหลวของปฎิบัติการในประเทศนอร์เวย์ ผู้คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลของ[[เนวิล เชมเบอร์ลิน|เชมเบอร์ลิน]] ทำให้เชมเบอร์ลินตัดสินใจลาออก ตัวเต็งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอย่าง[[Edward Wood, 1st Earl of Halifax|เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์]]ก็ถอนตัว เนื่องจากเขาไม่เชื่อมั่นว่าตัวเขาซึ่งมาจาก[[สภาขุนนาง]]จะสามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน แม้ว่าโดยจารีตประเพณีแล้วนายกรัฐมนตรีจะมิทูลเกล้าฯเสนอชื่อนายกฯคนต่อไป แต่เชมเบอร์ลินต้องการใครซักคนที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งสามพรรคใน[[สภาสามัญชน]] จึงเกิดการหารือกันระหว่างเชมเบอร์ลิน, ลอร์ดฮาลิแฟกซ์, เชอร์ชิล และ[[David Margesson, 1st Viscount Margesson|เดวิด มาเกรสสัน]] ในที่สุด[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]] ก็ทรงเสนอชื่อเชอร์ชิลขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยสิ่งแรกที่เชอร์ชิลทำคือการเขียนจดหมายขอบคุณเชมเบอร์ลินที่สนับสนุนเขา<ref>Self, Robert (2006). ''Neville Chamberlain: A Biography'', p. 431. Ashgate; ISBN 978-0-7546-5615-9.</ref>
 
ในช่วงตอนปลายของ[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]] ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษต่างพ่ายแพ้ต่อเยอรมัน หมู่เกาะอังกฤษตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้คนต่างหวาดผวาต่อการรุกรานโดยเยอรมัน ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาสามัญชน สุนทรพจน์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ''We shall fight on the beaches'' ซึ่งบางส่วนของสุนทรพจน์ดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเป็นวลีที่ดีที่สุดแห่งยุค
[[ภาพ:Wc0107-04780r.jpg|155px|thumb|เชอร์ชิลสวมหมวกเกราะขณะสัญญาณเตือนภัยดัง ระหว่าง[[ยุทธการที่บริเตน]] ค.ศ. 1940]]
 
{{คำพูด|...วันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ขอสภาให้กำหนดบ่ายวันนี้เป็นวาระพิเศษเพื่อกล่าวแถลง ผมมีความลำบากใจเป็นอย่างมากที่จะต้องประกาศหายนะทางการทหารที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของเรา...รากเหง้า แก่น และมันสมองของกองทัพบริเตน...ดูเหมือนกำลังจะพังทลายลงในสนามรบ...ราชนาวีด้วยความช่วยเหลือของลูกเรือพาณิชย์นับไม่ถ้วน ได้ใช้เรือทุกชนิดเกือบพันลำ นำพากว่า 335,000 ชีวิตนายทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ให้รอดพ้นจากความตายและความอัปยศ...มีคนบอกว่าเฮอร์ฮิตเลอร์มีแผนรุกรานหมู่เกาะอังกฤษ ข้อนี้ก็เคยคิดกันมาก่อนหลายครั้ง...เราจะขอพิสูจน์ตนเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดของเรา และเราจะผ่านพ้นภัยทรราชย์นี้...
 
แม้ว่าพื้นที่มากมายในยุโรปและรัฐเก่าแก่ขึ้นชื่อได้พ่ายแพ้หรืออาจตกอยู่ใต้การปกครองของ[[เกสตาโป]]และระบอบนาซีที่น่ารังเกียจก็ตาม เราจะอ่อนล้าหรือล้มเหลวไม่ได้
 
'''เราจักก้าวเดินไปถึงจุดจบ เราจะจักสู้ในฝรั่งเศส เราจักสู้ในท้องทะเลและมหาสมุทร เราจักสู้ด้วยความเชื่อมั่นและพลังที่เติบใหญ่ในท้องนภา เราจักปกป้องเกาะของเราไม่ว่าจะแลกด้วยอะไร เราจักสู้บนชายหาด เราจักสู้บนลานบิน เราจักสู้บนท้องทุ่งและท้องถนน เราจักสู้ในหุบเขา เราจักสู้บนเนินเขา เราจักไม่มีวันพ่ายแพ้'''...|วินสตัน เชอร์ชิล 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940<br>ณ [[พระราชวังเวสต์มินสเตอร์|เวสต์มินสเตอร์]]}}
 
== อ้างอิง ==