ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกมโชว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
ในช่วงทศวรรษ 1950 เมื่อมีรายการประเภท Game show มากขึ้น แต่ละรายการจึงได้พยายามหารูปแบบแปลก ๆ เนื้อหาใหม่ ๆ มาเป็นจุดขาย เช่น การเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงมาร่วมรายการ หรือการให้ผู้ชมมาเล่าเรื่องชีวิตอันรันทดของตนเอง แล้วให้ผู้ชมในห้องส่งเป็นคนตัดสิน เป็นต้น กลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้ต่อมาคือ การนำรางวัลมาเป็นสิ่งเร้าใจมากยิ่งขึ้น แต่ต่อมารายการเกมโชว์ประเภทแจกรางวัลมหาศาล คือ Twenty one ถูกจับได้ว่าเป็นรายการที่หลอกลวงคนดู ดังนั้น สภานิติบัญญัติของอเมริกาจึงได้ออก[[กฎหมาย]]พิจารณาและควบคุมรายการชองรางวัลแบบนี้
 
การแสวงหากลยุทธ์ใหม่ๆ ของรายการเกมโชว์ยังคงดำเนินต่อมาพร้อมกับการขยายตัวของรายการตลอดช่วงทศวรรษ 1970 การใช้[[พิธีกร]]คู่หญิงชายที่มีการพูดจาหยอกล้อกันบ้าง เสียดสีในเรื่องเพศบ้าง หรือการนำเอาความลับของตนมาเล่า แต่แม้กระนั้นก็ไม่มีการสร้างสรรค์อะไรใหม่ขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1980 ผู้ชมจึงเริ่มเกิดความเบื่อหน่าย และทำให้รายการเกมโชว์จำนวนมากต้องยุบเลิกไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1980 นี้ มี[[สถานีโทรทัศน์]]เกิดขึ้นมากมายและยังออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ทางสถานีต้องพยายามผลิตและสร้างสรรค์รายการที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ รายการเกมโชว์ก็คือตัวเลือกตัวหนึ่งในช่วงนี้ มีรายการเกมโชว์บางรายการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น [[วีลออฟฟอร์จูน|Wheel of Fortune]] (,Jeopardy!,The Price is Right,Let's Make A Deal,[[ภาษาไทยฮอลลีวูดสแควร์ส|ไทยHollywood Squares]]:กงล้อแห่งโชคลาภ),Jeopardy!,
The Price Is Right([[ภาษาไทย|ไทย]]:ทายได้ให้เลยกับราคาพารวย),let's make a deal,[[Hollywood Squares]]
 
จากประวัติที่ผ่านมาของรายการเกมโชว์ในสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า แม้รายการประเภทนี้อาจจะได้รับความนิยมแบบขึ้น ๆลง ๆ จากผู้ชม แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ รายการประเภทนี้ได้คงอยู่คู่กับโทรทัศน์มาตลอดเวลานับแต่ถือกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน