ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำยาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nithi-Uthai (คุย | ส่วนร่วม)
Nithi-Uthai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53:
*ยางธรรมชาติสกัดโปรตีน<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> (DPNR) : ยางธรรมชาติสกัด[[โปรตีน]]เป็นยางที่มีการดัดแปลงสภาพของยาง เพื่อให้มีปริมาณโปรตีนในยางต่ำซึ่งจะเป็นการลดปริมาณ[[ไนโตรเจน]]และปริมาณเถ้าในยาง เนื่องจากการที่ยางมี[[โปรตีน]]ในยาง (ร้อยละ 1) ทำให้ยางเกิด[[การวัลคาไนซ์]]เร็ว สมบัติบางประการของผลิตภัณฑ์ไม่ดี ไม่สามารถนำมาใช้งานในด้านวิศวกรรมได้ เนื่องจากสมบัติความทนทานต่อแรงกดหรือแรงกระแทกต่ำ และอาจมีการเกิดอาการแพ้โปรตีนในผลิตภัณฑ์ที่มีการสัมผัสโดยตรง เช่น ถุงมือ ทำให้มีความจำเป็นต้องลดปริมาณโปรตีนโดยการเตรียม[[น้ำยาง]]ที่มี[[โปรตีน]]ต่ำก่อนนำไปทำผลิตภัณฑ์ หรือ ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่แยก[[โปรตีน]]ด้วยการละลายน้ำได้
*[[ยางไซไคลซ์]]<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> (Cyclised Rubber) : ยางที่ปรับสภาพโครงสร้าง[[โมเลกุล]]ของยาง โดยให้[[โมเลกุล]]ของยางเกิดการเชื่อมโยงกันเองจนเป็นวง ทำให้มีสัดส่วนของ[[พันธะ]]ที่ไม่อิ่มตัวลดลง ทำให้สมบัติยางเปลี่ยนไปและมีความแข็งแรงขึ้น
*ยางเอสพี<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> (SP Rubber) : ยางเอสพีหมายถึงยางที่มีส่วนผสมของยาง[[วัลคาไนซ์]] เช่น ยางเอสพี 20 คือ ยางที่มีส่วนผสมของยางที่[[วัลคาไนซ์]]อยู่ 20 ส่วนในยาง 100 ส่วน เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตยางเอสพีเกรดต่าง ๆ เช่น SP20, SP40, SP50, PA57, PA80 เป็นต้น การเตรียมยางเอสพี สามารถเตรียมได้จาก[[น้ำยาง]][[วัลคาไนซ์]] คือ การนำน้ำยางธรรมชาติที่เก็บรักษาด้วย[[แอมโมเนีย]] มาใส่สารเคมี[[วัลคาไนซ์]] และการเตรียมยางเอสพีจากส่วนผสมของน้ำยางธรรมชาติ 2 ชนิด คือ น้ำยางชนิดธรรมดา และน้ำยางใส่สารเคมีวัลคาไนซ์ซึ่งการเตรียมนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่การใช้สัดส่วนของน้ำยางทั้ง 2 ชนิด ขึ้นอยุ่กับยางเอสพีที่ต้องการทำด้วย ยางธรรมชาติเอสพี ในโครงสร้างของ[[โมเลกุล]]ของยาง มีพันธะเชื่อมโยงกันบางส่วน ทำให้ยางสามารถรักษารูปทรงได้ดีซึ่งจะนิยมใช้เป็นส่วนผสมของ[[ยาง]]เพื่อช่วยในการแปรรูป
 
== การผสมยางธรรมชาติกับพอลิเมอร์ชนิดอื่น ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/น้ำยาง"