ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แปซิฟิกใต้ในอาณัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ก่อนการเข้ามาของญี่ปุ่น
บรรทัด 38:
|today = {{flag|ปาเลา}}<br>{{flag|หมู่เกาะมาร์แชลล์}}<br>{{flag|ไมโครนีเซีย}}<br>{{flag|หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา}}
}}
'''แปซิฟิกใต้ในอาณัติ''' ({{lang-en|South Pacific Mandate}}) เป็นดินแดนภายใต้การดูแลของ[[สันนิบาตชาติ]] ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุม 3 ประเทศ 1 ดินแดน คือ [[สาธารณรัฐปาเลา]] [[สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์]] [[สหพันธรัฐไมโครนีเซีย]]และ[[หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา|ดินแดนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา]] ซึ่งเป็นดินแดนของ[[สหรัฐอเมริกา]]ในปัจจุบัน แปซิฟิกใต้ในอาณัติเป็นชื่อทางการของ[[อาณานิคม]][[หมู่เกาะแปซิฟิก|หมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก]]ตอนกลางเหนือเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสันนิบาตชาติมอบหมู่เกาะใน[[ไมโครนีเซีย (ภูมิภาค)|ภูมิภาคไมโครนีเซีย]]อันเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคม[[เยอรมันนิวกินี]]ให้กับ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]หลังจากเหตุการณ์[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] สิ้นสุด<ref name="Russell">Fifield, Russell. 1946. Disposal of the Carolines, Marshalls, and Marianas at the Paris Peace Conference. The American Historical Review 51(3): 472 – 479.</ref>
Conference. The American Historical Review 51(3): 472 – 479.</ref>
 
ญี่ปุ่นเข้าปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 – 1947 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "หมู่เกาะทะเลใต้ในการอาณัติของญี่ปุ่น" ({{lang-en|Japanese mandate for the South Seas Islands) ([[:ja:南洋諸島|日本委任統治領南洋群島]]|Nihon Inin Tōchi-ryō Nan'yō Guntō}}) โดยการเข้าปกครองของญี่ปุ่นนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อแปซิฟิกใต้ในอาณัติหลายประการทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังพบกับการเข้าใช้ประโยชน์จากดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบต่าง ๆ การเข้าปกครองดินแดนแห่งนี้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นสิ้นสุดลงหลังจากจบ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] โดย[[สหประชาชาติ]]ได้มอบหมายดินแดนบริเวณดังกล่าวให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลแทนในชื่อ[[ดินแดนแปซิฟิกใต้ในภาวะทรัสตี]] จนกระทั่งบางประเทศในภูมิภาคไมโครนีเซียได้รับเอกราช
 
==ประวัติศาสตร์ก่อนการเข้ามาของญี่ปุ่น==
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคไมโครนีเซียก่อนการเข้ามาปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ช่วงหลัก คือ ระยะแรก เป็นระยะทีชาวไมโครนีเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างชุมชน และระยะที่สอง เป็นระยะที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีเริ่มเข้าครอบครองหมู่เกาะในบริเวณนี้
 
จากการสำรวจและวิเคราะห์ทางด้านโบราณคดี นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าบริเวณภูมิภาคไมโครนีเซียเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ 4,000 – 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจาก[[ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และกลายเป็นบรรพบุรุษของ[[ชาวชามอร์โร]] (Chamorro) ชาวไมโครนีเซีย (Micronesia) และชาวปาเลา (Palau) ในปัจจุบัน<ref name="Felix">Felix M. Keesing. 1932. Education and Native Peoples: A Study in Objectives. Pacific Affairs 5(8): 675-688.</ref> การอาศัยอยู่ของผู้คนในบริเวณนี้มักอาศัยอยู่กันแบบสังคมชนเผ่า แต่ก็พบการตั้งศูนย์กลางทางการเมืองในรูปแบบการปกครองอาณาจักรทางทะเลขึ้นที่[[เกาะเทมเวน]] (Temwen Island) ในเขตโบราณสถาน [[นาน มาโดล]] (Nan Madol) ใน[[รัฐโปนเปย์]] (Pohnpei) ประเทศไมโครนีเซีย ซึ่งโบราณสถานสร้างด้วยหินมีการเชื่อมคลองและได้รับการยกย่องว่าเป็นเวนิสแห่งแปซิฟิก <ref>{{Citation
| url = http://whc.unesco.org/uploads/nominations/1503.pdf
| format = pdf
| title = Nan Madol:Celemonial Center of Eastern Micronesia
| publisher = UNESCO
| year = 2015
| accessdate = 1 January 2017}}</ref>  ดินแดนบริเวณนี้ได้รับการสำรวจโดยนักสำรวจชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวสเปนและโปรตุเกสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่มีปฏิสัมพันธ์กับชาวพื้นเมืองมากนัก ในช่วงเวลาต่อมาสเปนได้เข้าครอบครองหมู่เกาะบริเวณนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 19
 
ในปี ค.ศ. 1898 สเปนทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา ผลของสงครามในครั้งนั้นสเปนพ่ายแพ้ จึงจำเป็นต้องยกเกาะ[[กวม]] (Guam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาเรียนาให้แก่[[สหรัฐอเมริกา]] และสเปนดำเนินการขายหมู่เกาะมาเรียนาที่เหลือและ[[หมู่เกาะแคโรไลน์]]ให้กับ[[จักรวรรดิเยอรมนี|จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนี]] ส่งผลให้เยอรมนีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคไมโครนีเซีย บริหารภายใต้การปกครองของอาณานิคมเยอรมันนิวกินี โดยใช้ประโยชน์อาณานิคมแห่งนี้ในฐานะท่าเรือรบ <ref name="Earl">Earl S. Pomeroy. 1948. American Policy Respecting the Marshalls, Carolines, and Marianas, 1898-1941. Pacific Historical Review 17(1): 43 – 53.</ref> เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นมองเห็นโอกาสในการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเริ่มการประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยจุดเน้นของญี่ปุ่นในการทำสงครามกับเยอรมนีคือการยึดท่าเรือและแหล่งธุรกิจในฉางตง ในเวลาต่อมาชาติพันธมิตรต้องการให้ญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันขบวนสินค้าให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรใน[[มหาสมุทรอินเดีย]]และ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับการยกส่วนหนึ่งของฉางตงและหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่เป็นอาณานิคมของเยอรมนีให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น <ref name="Burkman">Burkman, Thomas. 2008. Japan and the League of Nation. Honolulu: University of Hawaii press.</ref> เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นได้เป็นส่วนหนึ่งในการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ค่อนข้างน้อย แต่ก็ได้รับการยอมรับในฐานะชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลก มีสถานะเป็นสมาชิกถาวรของสภาสันนิบาตชาติ นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้ดินแดนฉางตง และหมู่เกาะตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตามสัญญา หมู่เกาะตอนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเหล่านี้ สันนิบาตชาติจัดให้เป็นดินแดนในอาณัติระดับซี (Class – C Mandate) ซึ่งเป็นดินแดนที่สันนิบาตชาติมองว่าชาติเจ้าของดินแดนในอาณัติควรบริหารจัดการตามกฎหมายในฐานะดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ <ref name="Burkman"/>
 
การที่ญี่ปุ่นได้ดินแดนแปซิฟิกใต้ในอาณัติ เนื่องจากเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำคัญในการเข้าร่วมช่วยเหลือชาติสัมพันธมิตรของญี่ปุ่น ซึ่งการเข้าช่วยเหลือของญี่ปุ่นแม้มีเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีความสำคัญมาก เนื่องจากชาติสัมพันธมิตรชาติอื่นติดพันการรบในยุโรป ส่งผลให้ไม่สามารถคุ้มกันกองเรือของแต่ละประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในระยะแรก คณะที่ประชุมของสันนิบาติชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ไม่ต้องการมอบดินแดนอดีตอาณานิคมเยอรมันนิวกินีส่วนหนึ่งให้กับญึ่ปุ่น โดยสหรัฐอเมริกามองว่าหากมอบดินแดนส่วนนี้ให้กับญี่ปุ่น เกาะกวม สถานีวิทยุสื่อสารบนเกาะแยป (Yap) และความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาจะเป็นอันตราย<ref name="Earl"/> แต่ที่ประชุมสันนิบาติชาติเกรงว่าหากไม่มอบดินแดนส่วนนี้ให้กับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะไม่เข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้สันนิบาติชาติได้ปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นใน[[ข้อตกลงการยกเลิกการเหยียดชาติพันธุ์]] โดยสันนิบาติชาติมองว่าหากญี่ปุ่นไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งครั้งใหญ่ตามมา <ref name="williams">E. T. Williams. 1933. Japan's Mandate in the Pacific. The American Journal of International Law 27(3): 428 – 439.</ref>
 
การที่ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการแปซิฟิกใต้ในอาณัติได้สร้างความพึงพอใจให้กับสื่อมวลชนและนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือเป็นอย่างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้เอะโนะโมะโตะ ทะเคอะกิ (Enomoto Takeaki) ต้องการสำรวจดินแดนในบริเวณนี้เพื่อหาอาณานิคมแห่งใหม่ให้กับญี่ปุ่น แต่พบว่าเกาะเหล่านี้ตกเป็นของเยอรมนีและสเปนแล้วในขณะนั้น<ref name="Ngo">Ti Ngo. 2012. Mapping Economic Development: The South Seas Government and Sugar Production in Japan’s South Pacific Mandate, 1919–1941. East Asian History and Culture Review.</ref> ซึ่งญี่ปุ่นต้องการหมู่เกาะในบริเวณนี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นสะพานเชื่อมต่อดินแดนทางใต้ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเมลานีเซีย) รวมไปถึงเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างฮาวายและฟิลิปปินส์ อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นฐานทัพของทัพเรือในการปกป้องประเทศจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้<ref name="Peattie">Peattie, Mark. 1988. Nan'yo : The Rise and Fall of the Japanese in Micronesia, 1885-1945 Pacific Islands Monograph Series ; No. 4. Honolulu: University of Hawaii Press.</ref>
 
==อ้างอิง==