ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกษียร เตชะพีระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pratyakorn0044 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ศาสตราจารย์ ดร. '''เกษียร เตชะพีระ''' (เกิด 23 ธันวาคม 2500) เดิมชื่อ '''โต๊ะฮง แซ่แต้''' บิดามารดา เป็นคนจีนแต้จิ๋ว เกิดและเติบโตย่านเยาวราชและเจริญกรุง เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาใน[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] พ.ศ. 2519 เคยเข้าร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]]ระหว่าง พ.ศ. 2519 - 2523 และอดีตหัวหน้าสาขาการเมืองการปกครอง [[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (สิงห์แดงรุ่น 27) หลังออกจากป่าได้กลับมาศึกษาจนสำเร็จปริญญาเอก [[มหาวิทยาลัยคอร์เนล]] เกษียรเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างวาทกรรมทางการเมืองร่วมสมัยและมีผู้นำไปใช้ต่ออย่างแพร่หลาย อาทิ เลือกตั้งธิปไตย นักเลือกตั้ง และ[[ระบอบทักษิณ]] ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
== ประวัติการศึกษา ==
เกษียรเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก [[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] (รุ่นที่ 36) จากนั้นศึกษาต่อในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แห่ง[[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เขาได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกจากคณะรัฐศาสตร์ แห่ง[[มหาวิทยาลัยคอร์เนล]] [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]
 
== เกี่ยวกับ[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]และเข้าป่า ==
เกษียรเล่าสภาพสังคมในตอนนั้นไว้ว่า ''(เมื่อ) วันที่ 20 สิงหาคม 2518 กลุ่มนักเรียนอาชีวะยกขบวนบุก มธ.ผู้บริหารมหาวิทยาลัย สั่งให้คนออกเพราะกลัวปะทะ แต่พวกผมซึ่งเป็นนักกิจกรรม ทำงานอยู่อมธ.เราแค่ดึงเสื้อออกมาปิดหัวเข็มขัด แล้วก็เดินๆดูพวกอาชีวะขว้างระเบิด บุกเข้ามาในธรรมศาสตร์ และ(พวกอาชีวะ)ก็หิ้วข้าวของ ทรัพย์สินติดตัวไปเป็นที่ระลึก"{{อ้างอิง}}
 
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกษียรไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย เพราะวันที่ 5 ตุลาคม เขารับหน้าที่ดูแลหน้าเวทีและเป็นโฆษกประจำเวทีในช่วงผลัดสายและกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนเป็นเวรของกฤษฎางค์ นุตจรัส และ[[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]] เช้าวันที่ 6 ตุลานั้นเองก็มีการล้อมปราบนักศึกษาทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้วยการปราบปรามและใช้ความรุนแรงของรัฐ จับขังนักศึกษา ปัญญาชน กรรมกรหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ทำให้[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]]ได้สมัครพรรคพวกนักศึกษาที่หนีเข้าป่าเป็นจำนวนมาก
 
== เข้าป่า ==
เกษียรตัดสินใจเข้าป่าพร้อมกับเพื่อนนักศึกษาหลายคน หนึ่งในนั้นก็คือ เสถียร เศรษฐสิทธิ์ (หมอคง) ตามธรรมเนียมก่อนเข้าป่าจะต้องตั้งสรรพนามใหม่แทนชื่อเดิมตนเอง เพื่อไม่ให้มีลำดับชั้นสูงต่ำ ทุกคนจึงต้องมีชื่อเรียกแทนตัวเองว่าสหาย เกษียรมีชื่อแทนสรรพนามในป่าของตัวเองว่า "สหายมา" เข้าไปอาศัยอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา โดยมีฐานที่มั่นอยู่ที่อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้รับหน้าที่ให้ทำงานเป็นนักข่าวนักหนังสือพิมพ์กับครูโรงเรียนการเมืองการทหาร
 
เกษียรเองเคยเล่าช่วงชีวิตบางส่วนตอนเข้าป่าว่า ''ผมเองความจริงสังกัดกองบรรณาธิการนิตยสารธงชัย ของภาคอีสานใต้ แต่เนื่องจากการตีพิมพ์ค่อนข้างติดขัด ออกได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ เพราะกระดาษขาดแคลนและบางทีก็หมดสต๊อคเอาดื้อๆ บ่อยครั้งหน่วยงานมวลชนฝ่ายจัดหาและหน่วยทหารลำเลียง โดนทางราชการปิดล้อมตรวจค้นเข้มข้น ขนกระดาษเล็ดลอดเข้ามาไม่ได้. ในจังหวะว่างงาน ผมจึงมักถูกจัดตั้งส่งไปติดสอยห้อยตามเป็นหางเครื่องอยู่กับวงที่มั่นแดง รับหน้าที่เล่าข่าวคราวสถานการณ์ให้สหายและมวลชนตามทับที่ตั้งต่างๆ ฟัง สลับรายการบันเทิง พร้อมทั้งช่วยตีฉิ่งปรบมือร้องเพลงเชียร์รำวงประกอบเวลาพวกเขาจรยุทธ์ไปเปิดแสดงกลางป่า กลางทุ่ง ตามแนวหน้าแนวหลังเป็นพัก ๆ’'{{อ้างอิง}}
 
== กลับมาศึกษา ==
การต่อสู้ระหว่างฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐกับพรรคคอมิวนิสต์สิ้นสุดลง เมื่อรัฐบาลไทยปรับเปลี่ยนท่าทีความสัมพันธ์ใหม่กับประเทศ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] และ[[คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523]] ในสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] ส่งผลให้นักศึกษาจำนวนมากออกจากป่า กลับมาเรียนและประกอบอาชีพเป็นปกติในสังคมอีกครั้ง ฝ่ายเกษียร หลังออกจากป่าเกษียรก็ได้กลับมาเรียนที่คณะเดิม (รัฐศาสตร์) อีกครั้งในปี พ.ศ. 2524
 
บรรทัด 26:
ครั้งหนึ่งอาจารย์เบเนดิก แอนเดอร์สัน (หรือครูเบ็น) เคยทักทายเกษียรเมื่อตอนมาสัมมนาวิชาการที่ธรรมศาสตร์ว่า “อ้าวคาเสี้ยนเดี๋ยวนี้เอาความรู้ไปรับใช้กระฎุมพีแล้วนะ ฮ่าๆ "
 
== การเรียนการสอนของเกษียร เตชะพีระ ==
เกษียรเป็นอาจารย์ที่มีแนวทางการสอนที่แปลกออกไปจากอาจารย์คนอื่นๆในคณะรัฐศาสตร์ กล่าวคือ เขามักทำให้เรื่องทฤษฏีการเมืองและปรัชญาการเมือง เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายโดยยกตัวอย่างและเปรียบเทียบกับบริบทในปัจจุบัน ดังนั้น เรื่องที่เกษียรเล่าให้นักศึกษาฟังในคาบ แม้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องตลกขบขับ แต่ล้วนผ่านการคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดลออแล้วว่าจะสามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจภาพเรื่องนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น การเน้นย้ำถึงการอ่าน text ด้วยความเข้าใจของตัวนักศึกษาเอง เพราะจะติดตัวนานกว่าจดจำตามอาจารย์บอกที่หลังสอบก็ลืมแล้ว และในตอนท้ายเทอมจะให้นักศึกษาคิดและตั้งคำถามของตัวเองสำหรับใช้ในการสอบปลายภาค โดยผ่านการขัดเกลาคำถามจากเกษียร(ผู้สอน)อีกครั้ง นั้นหมายความว่า เกษียรให้นักศึกษาฝึกตั้งคำถามด้วยตัวเองและเป็นภารกิจที่นักศึกษาต้องหาคำตอบมาตอบคำถามที่ตัวเองตั้งให้ได้
 
== ความสนใจและเชี่ยวชาญทางวิชาการ ==
* ปรัชญาการเมือง ทฤษฎีการเมือง
* ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย
บรรทัด 37:
* การเมืองของวิกฤติเศรษฐกิจ เสรีนิยมโลกาภิวัตน์
 
== เกียรติประวัติ ==
* รางวัลรายงานวิจัยดีเด่นสาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2551
* รางวัลกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2555
 
== ผลงานวิชาการและรวมบทความ ==
* ความคิดทางจริยศาสตร์ของทรอตสกี้ / แปลโดย เกษียร เตชะพีระ การอรรถาธิบายลัทธิสตาลินของทรอตสกี้ (2528)
* รู้สึกแห่งยุคสมัย (2532)
เส้น 65 ⟶ 66:
* Marx: A Very Short Introduction โดย Peter Singer เกษียร เตชะพีระ แปล (2558)
* เสรีนิยมกับประชาธิปไตย โดย NORBERTO BOBBIO เกษียร เตชะพีระ แปล สำนักพิมพ์ คบไฟ,(2558)
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[มหาวชิรมงกุฎ]] (ม.ว.ม.)
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.png|80px]] เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น[[ประถมาภรณ์ช้างเผือก]] (ป.ช.)
 
{{เกิดปี|2500}}
[[หมวดหมู่:ศาสตราจารย์]]