ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซก ซิงเกอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24:
ได้เกิดสงครามแย่งชิงลิขสิทธิ์จักรเย็บผ้าขึ้นระหว่างซิงเกอร์และโฮว์ ซิงเกอร์ได้พบว่าการปรับปรุงของโฮว์เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดยการพบจักรตัวเก่าของโฮว์ซึ่งที่จริงเป็นการใช้กระสวยแบบจับยึด ส่วนฮันท์ซึ่งยื่นขอจดลิขสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2396 ได้อ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ก่อนโฮว์เจ้ดปี การฟ้องร้องคดี "ฮันท์และโฮว์" ขึ้นศาลในปี พ.ศ. 2397 โดยโฮว์เป็นผู้ชนะคดีและได้หันมาฟ้องศาลขอให้ยับยั้งซิงเกอร์ในการจำหน่ายจักรซิงเกอร์
 
==บริษัท ไอ เอ็ม ซิงเกอร์==
[[Image:Singer sewing machine1.jpg|thumb|จักรเย็บผ้าซิงเกอร์: ภาพถ่ายโดยวินเซน เดอ กรูท]]
==บริษัท ไอ เอ็ม ซิงเกอร์==
ในปี [[พ.ศ. 2399]] ผู้ผลิตทั้งหลายคือ โกรเวอร์ เบเกอร์ ซิงเกอร์ วีลเลอร์และวิลสันซึ่งต่างฟ้องร้องซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้มาพบกันที่แอลบานี นิวยอร์กเพื่อติดตามคดี โอลานโด บี พอตเตอร์ ทนายความและประธานบริษัทโกรเวอร์และเบเกอร์ได้เสนอว่าแทนที่จะฟ้องร้องกันจนสิ้นเนื้อประดาตัวทำไมไม่เอาลิขสิทธิ์มารวมกัน ทำให้เกิด "[[ลิขสิทธิ์กองรวม]]" (Patent pool) ขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นกระบวนการซึ่งเอื้อให้มีการพัฒนาเคร่องจักรกลที่ซับซ้อนได้โดยไม่ต้องพะวงเสงคราม[[กฎหมายลิขสิทธิ์]] ทั้งหมดตกลงและจัดตั้งบริษัทสหการจักรเย็บผ้า แต่ก็ยังต้องเผชิญปัญหากับเอลีแอส โอว์ผู้ซึ่งมีลิขสิทธิ์ในส่วนสำคัญของจักรอยู่ซึ่งแปลว่าจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่โฮว์สำหรับจักรทุกตัวที่ผลิตซึ่งโฮว์ยอมเงื่อนไข การผลิตจักรเย็บผ้าในปริมาณมากจึงเกิดขึ้น บริษัท ไอ เอ็ม ซิงเกอร์ได้ผลิตจักรเย็บผ้าได้ 2,564 ตัวในปี [[พ.ศ. 2399]] และ 13,000 ตัวในปี [[พ.ศ. 2403]] ที่โรงงานใหม่ถนนมอตต์ นิวยอร์ก