ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นะ (วิญญาณ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
เมื่อ[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ]] แห่ง[[อาณาจักรพุกาม|ราชวงศ์พุกาม]] นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากอาณาจักรมอญเข้าสู่อาณาจักรพม่าใน[[พุทธศตวรรษที่ 18]] ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ โดยยกเลิกการบูชานัตตามแบบพื้นบ้านและนัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ พระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่[[เขาโปปา]] หรือที่เรียกว่า มหาคีรีนัต ใกล้เมืองพุกาม โดยมีทั้งหมด 37 ตน โดยนัตที่สำคัญคือ นัตตัจจาเมง หรือ นัตสักรา ([[พระอินทร์]]), นัต[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]], นัตโยนบะเยง (นัต[[พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์]]) เป็นต้น
 
โดยบุคคลที่จะได้รับการนับถือเป็นนัตนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีคนยกย่องนับถือหรือมีเรื่องราวในขณะยังมีชีวิตเป็นที่พูดถึงโดยทั่วไป หรือเป็นผู้ที่มีสาเหตุการตายที่ไม่ใช่การตายแบบธรรมดาด้วยโรคชราเป็นที่สลดใจแก่ผู้ที่ได้ยินเรื่องราว เช่น [[ผีตายโหง|ตายโหง]] (ตายด้วยโรคเสียชีวิตอย่างปัจจุบันที่ไม่ใช่ด้วยโรคชราทันด่วน) ตายด้วยโรคระบาดหรือถูกลอบสังหาร เพราะเชื่อว่าจะมีฤทธานุภาพสูงกว่าผีทั่ว ๆ ไป
 
นัตถูกแบ่งออกได้เป็น 3 จำพวก คือ นัตพุทธ (นัตท้องถิ่นที่ผสมผสานกับความเชื่อทางพุทธศาสนา<ref name=พ/>), นัตใน (นัตท้องถิ่นและนัตที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินเดีย) และนัตนอก (นัตที่มีถิ่นฐานอยู่นอกกำแพง[[พระมหาธาตุเจดีย์ชเวซีโกน|วัดเจดีย์ชเวซีโกน]]) ซึ่งนัตที่สำคัญและผูกพันกับชาวพม่ามากที่สุด คือ นัตนอก หรือนัตหลวง <ref name="นัต"/>