ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41:
'''ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส''' ({{lang-nl|Heike Kamerlingh Onnes}}; [[21 กันยายน]] [[ค.ศ. 1853]] – [[21 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1926]]) เป็น[[นักฟิสิกส์]][[ชาวดัตช์]] เกิดที่เมือง[[โครนิงเงิน (เมือง)|โครนิงเงิน]] เป็นบุตรของฮาร์ม กาเมอร์ลิง โอนเนิส และอันนา แกร์ดีนา กูร์ส<ref name="nobel">{{cite web|url=http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/1913/onnes-bio.html|title=The Nobel Prize in Physics 1913: Heike Kamerlingh Onnes|publisher=Nobel Media AB|accessdate=24 April 2012}}</ref> มีน้องชายและน้องสาวชื่อแม็นโซและแจ็นนีตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1870 กาเมอร์ลิง โอนเนิสเข้าเรียนที่[[มหาวิทยาลัยโครนิงเงิน]]และเรียนกับ[[รอแบร์ต บุนเซิน]] และ[[กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์]]ที่[[มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ก]]ระหว่างปี ค.ศ. 1871–1873 ต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโครนิงเงินและเป็นผู้ช่วย[[โยฮันเนิส โบสส์คา]] ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างแด็ลฟต์<ref>{{cite web|url=http://www.encyclopedia.com/people/science-and-technology/physics-biographies/heike-kamerlingh-onnes|title=Heike Kamerlingh Onnes - Biography|website=Encyclopedia.com|accessdate=December 17, 2016}}</ref> (ปัจจุบันคือ[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแด็ลฟต์]])
 
ระหว่างปี ค.ศ. 1882–1923 กาเมอร์ลิง โอนเนิสดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทดลองที่[[มหาวิทยาลัยไลเดิน]] ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 เขาก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านไครโอจีนิกส์และเชิญนักวิจัยหลายท่านมาร่วมงาน ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 กาเมอร์ลิง โอนเนิสประสบความสำเร็จในการสร้าง[[ฮีเลียมเหลว]]จากการศึกษา[[วัฏจักรแฮมป์สัน–ลินด์]]และ[[ปรากฏการณ์จูล–ทอมสัน]] เขาสามารถลดอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดของฮีเลียม (−269 °ซ, 4.2 เคลวิน) และเมื่อลดความดันของฮีเลียมเหลว กาเมอร์ลิง โอนเนิสสามารถลดอุณหภูมิได้เกือบถึง 1.5 เคลวิน (-271.65 °ซ) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในโลกในขณะนั้น ปัจจุบัน อุปกรณ์ที่โอนเนิสใช้สร้างฮีเลียมเหลวเป็นครั้งแรกอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บูร์ฮาเฟอที่เมือง[[ไลเดิน]]<ref name="nobel"/>
 
ต่อมาในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1911 กาเมอร์ลิง โอนเนิสพบว่าที่อุณหภูมิ 4.2 เคลวิน (-268.95 °ซ) ความต้านทานไฟฟ้าในสายปรอทในฮีเลียมเหลวมีค่าเป็นศูนย์ เขาจึงตระหนักว่าความต้านทานไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิต่ำลง<ref>van Delft, Dirk (2007) [http://www.dwc.knaw.nl/wp-content/HSSN/2007-10-Van%20Delft-Freezing%20Physics.pdf ''Freezing physics, Heike Kamerlingh Onnes and the quest for cold''], Edita, Amsterdam, ISBN 9069845199.</ref> และตีพิมพ์งานวิจัยหลายชิ้นโดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "[[สภาพนำยวดยิ่ง]]" (superconductivity) ในปี ค.ศ. 1913 กาเมอร์ลิง โอนเนิสได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์]]จากการศึกษาคุณสมบัติของสารที่อุณหภูมิต่ำและการสร้างฮีเลียมเหลว<ref>{{cite web|url=https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/1913/|title=The Nobel Prize in Physics 1913|website=Nobelprize.org|accessdate=December 17, 2016}}</ref>