ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไฮเกอ กาเมอร์ลิง โอนเนิส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox scientist | name = เฮเก คาเมอร์ลินจ์ ออเนส | image = Kamerlingh Onnes signed.jpg | image_size = 220px | birth_...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:41, 17 ธันวาคม 2559

เฮเก คาเมอร์ลินจ์ ออเนส (ดัตช์: Heike Kamerlingh Onnes; 21 กันยายน ค.ศ. 185321 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926) เป็นนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ เกิดที่เมืองโกรนิงเงิน เป็นบุตรของฮาร์ม คาเมอร์ลินจ์ ออเนสและอันนา แกร์ดินา เคอส์[2] มีน้องชายและน้องสาวชื่อเมนโซและเจนนีตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1870 คาเมอร์ลินจ์ ออเนสเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินและเรียนกับรอแบร์ต บุนเซินและกุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์ที่มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์กระหว่างปี ค.ศ. 1871–1873 ต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินและเป็นผู้ช่วยโยฮันเนส บอสชา ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างเดลฟท์[3] (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์)

เฮเก คาเมอร์ลินจ์ ออเนส
เกิดเฮเก คาเมอร์ลินจ์ ออเนส
21 กันยายน ค.ศ. 1853(1853-09-21)
โกรนิงเงิน เนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926(1926-02-21) (72 ปี)
ไลเดิน เนเธอร์แลนด์
สัญชาติดัตช์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ก
มหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยไลเดิน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์
อาจารย์ที่ปรึกษารอแบร์ต บุนเซิน
กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์
โยฮันเนส บอสชา
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก

ระหว่างปี ค.ศ. 1882–1923 คาเมอร์ลินจ์ ออเนสดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทดลองที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 เขาก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านไครโอจีนิกส์และเชิญนักวิจัยหลายท่านมาร่วมงาน ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 คาเมอร์ลินจ์ ออเนสประสบความสำเร็จในการสร้างฮีเลียมเหลวจากการศึกษาวัฏจักรแฮมป์สัน–ลินด์และปรากฏการณ์จูล–ทอมสัน เขาสามารถลดอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดของฮีเลียม (−269 °C, 4.2 K) และเมื่อลดความดันของฮีเลียมเหลว คาเมอร์ลินจ์ ออเนสสามารถลดอุณหภูมิได้เกือบถึง 1.5 K (-271.65 °C) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในโลกในขณะนั้น ปัจจุบัน อุปกรณ์ที่ออเนสใช้สร้างฮีเลียมอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เบอร์ฮาฟที่เมืองไลเดิน[2]

ต่อมาในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1911 คาเมอร์ลินจ์ ออเนสพบว่าที่อุณหภูมิ 4.2 K (-268.95 °C) ความต้านทานไฟฟ้าในสายปรอทในฮีเลียมเหลวมีค่าเป็นศูนย์ เขาจึงตระหนักว่าความต้านทานไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิต่ำลง[4] และตีพิมพ์งานวิจัยหลายชิ้นโดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "สภาพนำยวดยิ่ง" (superconductivity) ในปี ค.ศ. 1913 คาเมอร์ลินจ์ ออเนสได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการศึกษาคุณสมบัติของสารที่อุณหภูมิต่ำและการสร้างฮีเลียมเหลว[5]

ด้านชีวิตส่วนตัว คาเมอร์ลินจ์ ออเนสแต่งงานกับมาเรีย แอเดรียนา วิลเฮล์มินา เอลิซาเบธ บิจเลเวลด์ในปี ค.ศ. 1887 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 1 คน[6] คาเมอร์ลินจ์ ออเนสเสียชีวิตที่เมืองไลเดินในปี ค.ศ. 1926 ต่อมาชื่อเขาได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อแอ่งดวงจันทร์[7]

อ้างอิง

  1. Howard, Irmgard (2002). "H Is for Enthalpy, Thanks to Heike Kamerlingh Onnes and Alfred W. Porter". Journal of Chemical Education. ACS Publications. 79 (6): 697. Bibcode:2002JChEd..79..697H. doi:10.1021/ed079p697.
  2. 2.0 2.1 "The Nobel Prize in Physics 1913: Heike Kamerlingh Onnes". Nobel Media AB. สืบค้นเมื่อ 24 April 2012.
  3. "Heike Kamerlingh Onnes - Biography". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016.
  4. van Delft, Dirk (2007) Freezing physics, Heike Kamerlingh Onnes and the quest for cold, Edita, Amsterdam, ISBN 9069845199.
  5. "The Nobel Prize in Physics 1913". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016.
  6. "Heike Kamerlingh Onnes - Biography". NNDB. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016.
  7. "Kamerlingh Onnes - The-Moon Wiki". Wikispaces. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น