ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคาร์ดินัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Template-Cardinal.svg|200px|thumb|ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล]]
'''คาร์ดินัล''' ({{lang-en|Cardinal}}) เป็น[[สมณศักดิ์]]ชั้นสูง รองจาก[[พระสันตะปาปา]] ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา[[พระสันตะปาปา]] ในการปกครอง[[คริสตจักร]][[โรมันคาทอลิก]] ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับ[[พระสงฆ์]]ชั้น[[สมเด็จพระราชาคณะ]]ใน[[ศาสนาพุทธ]] หรือ[[วุฒิสมาชิก]]ในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็น[[ฆราวาส]] แต่นับตั้งแต่ตรา[[ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร]]ฉบับล่าสุด ([[ค.ศ. 1917]]-[[ค.ศ. 1983|1983]]) เฉพาะ[[บาทหลวง]]และ[[มุขนายก]]เท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วม[[การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปา]]องค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็น[[พระสันตะปาปา]]ด้วย
 
พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่ง[[มุขนายก]]หรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะ[[บาทหลวง]] [[คณะนักบวชคาทอลิก]]ชาย-หญิง และ[[คริสต์ศาสนิกชน]][[ฆราวาส]] ใน[[มุขมณฑล]]ที่ท่านปกครองด้วย
บรรทัด 8:
คำว่า '''cardinal''' มาจากคำใน[[ภาษาละติน]]ที่ใช้เรียกบานพับประตู (cardo)
 
ใน[[คริสตจักร]]ศาสนาคริสต์ยุคแรก]] ๆ เวลาที่คนคนหนึ่งบวชเป็น[[บาทหลวง]] ท่านผู้นั้นจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมจนกว่าชั่วชีวิตจะหาไม่ และหากบาทหลวงท่านใดท่านหนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น ก็เปรียบเสมือนว่าเป็นการแกะเอาบาทหลวงท่านนั้นออกจากประตูบานเดิม (ตำแหน่งเดิม) ไปขันนอตติดกับประตูบานใหม่ (ตำแหน่งใหม่) โดยใน[[ภาษาอังกฤษ]]ใช้การเปลี่ยนตำแหน่งในกรณีนี้ว่า '''"incardinated"''' ซึ่งก็มาจากรากศัพท์ในภาษาลาตินว่า '''"cardo"''' ซึ่งแปลว่าบานพับประตู
 
การใช้คำดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายในพระ[[ศาสนจักร]]ยุคแรก ๆ จนต่อมาในสมณสมัยของ[[สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1]] (ค.ศ. 590-604) ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ดังกล่าวเป็นคำศัพท์เฉพาะใน[[ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร]]
ในยุคนั้นบาทหลวงบางท่านมีความสามารถเฉพาะตัวสูง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้ช่วยมุขนายก]] (และกลายเป็น "คาร์ดินัล" แทนที่จะเป็นบาทหลวงผู้ดำรงตำแหน่งปกติ) และในบางกรณี บาทหลวงบางท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้ประกอบพิธีกรรมอยู่ตาม[[สักการสถาน]]โบราณหลาย ๆ แห่งในกรุงโรม เช่น [[มหาวิหารนักบุญเปโตร]] [[มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง]] [[มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร]] และ[[มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน]] ฯลฯ เป็นต้น และเนื่องจากภารกิจดังกล่าว มีวาระการแต่งตั้งเป็นการชั่วคราว จึงเรียกท่านเหล่านั้นว่า '''"คาร์ดินัล"''' และนี่คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลบาทหลวง"''' ในปัจจุบัน (คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าชั้นบาทหลวง - '''"cardinal presbyters"''')
 
ส่วนบรรดา[[มุขนายก]]ที่ประจำตามเมืองต่าง ๆ รอบ ๆ กรุงโรมในยุคนั้น ต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันประกอบพิธีในมหาวิหารลาเตรัน ซึ่งเป็น[[อาสนวิหาร]]ประจำกรุง[[มุขมณฑลโรม]] และถึงแม้ว่าท่านเหล่านั้นจะดำรงตำแหน่งประจำเป็น[[มุขนายกในเขตมิสซังประจำมุขมณฑล]]ของตน แต่ท่านก็ได้กลายเป็น "คาร์ดินัล" ในขณะที่ท่านประกอบพิธีใน[[อาสนวิหาร]]ดังกล่าว และ[[พระสันตะปาปา]]ก็ได้ให้ความสำคัญต่อบรรดาพระคาร์ดินัลเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยการปรึกษากิจการงานของพระศาสนจักรอยู่เป็นประจำ
 
นี่คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลมุขนายก"''' (คาร์ดินัลที่เป็น[[ชั้นมุขนายก]] - '''"cardinal bishops"''') ซึ่งดำรงตำแหน่ง[[มุขนายกประจำ 7 [[มุขมณฑล]]เจ็ดแห่งรอบกรุงโรม]]ในปัจจุบัน
และหลังจากที่พระ[[สันตะสำนัก]]ได้อำนาจการปกครองกรุงโรม ก็จำเป็นต้องให้บริการต่าง ๆ ด้านสังคมแก่บรรดาประชาชน โดยบริการดังกล่าวนี้ แรกทีเดียวบรรดา "[[พันธบริกร]]" (deacons) ซึ่งเป็นบุคลากรของพระสันตปาปาที่ประจำอยู่หาวิหารลาเตรันเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ต่อมาก็ได้มีการส่งบุคลากรดังกล่าวไปประจำตามศูนย์บริการด้านสังคม (diaconiae) ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงโรม โดยที่ศูนย์แต่ละแห่งจะมี[[โบสถ์น้อย]]อยู่ด้วย
 
ความสำคัญของท่านเหล่านั้นในการช่วยเหลือผู้ยากไร้คือที่มาของคำว่า '''"คาร์ดินัลพันธบริกร"''' ในปัจจุบัน (คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าชั้นพันธบริกร "cardinal deacons")
บรรดาพระคาร์ดินัลต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้เริ่มทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการช่วย[[พระสันตะปาปา]]ปฏิบัติภารกิจในฐานะบิชอปแห่งกรุงโรม และในฐานะประมุขของ[[สภามุขนายก]]โลก รวมทั้งการเป็นผู้แทนของพระองค์ในการปฏิบัติภารกิจพิเศษต่าง ๆ และการเป็นผู้แทน[[พระสันตะปาปา]]ในการประชุมสังคายนาต่าง ๆ ด้วย
 
[[พระสันตะปาปา]]หลายองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้ทำการแต่งตั้งบุคลากรหลาย ๆ ท่านให้มาช่วยในการปฏิบัติภารกิจของพระองค์ที่กรุงโรม โดยทรงแต่งตั้งให้ท่านเหล่านั้นปกครองวิหารต่าง ๆ ในกรุงโรม โดยไม่ต้องไปประกอบพิธีกรรมเป็นประจำทุกวันตามวิหารเหล่านั้น บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวจึงดำรงตำแหน่ง "คาร์ดินัล" ไปด้วยและมีบทบาทสำคัญในการอภิบาลสัตบุรุษในกรุงโรม และในการฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตของบรรดาคริสตชนในพระศาสนจักรทั่วโลก
บรรทัด 31:
 
== พระคาร์ดินัลในประเทศไทย ==
[[ไฟล์:Michael Michai Cardinal Kitbunchu.jpg|150px|thumb|right|พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] อัคร[[มุขนายกกิตติคุณ]][[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]]]]
[[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2]] ได้มีพระสมณสาส์นแต่งตั้ง[[อัครมุขนายก]]ไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] ประมุข[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ]] เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยคนแรก เมื่อวันที่ [[5 มกราคม]] [[ค.ศ. 1983]] และมีพิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลอย่างเป็นทางการในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] ปีเดียวกัน ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม [[นครรัฐวาติกัน]]<ref>[http://haab.catholic.or.th/story%20the%20past/biography/cmm1.html พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู], หอจดหมายเหตุ [[อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ]]</ref> และเมื่อวันที่ 4 มกราคม [[ค.ศ. 2015]] [[สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส]]ทรงประกาศว่า พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ [[เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช]]จะได้รับแต่งตั้งเป็น[[พระคาร์ดินัล]]<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU1ETTNPRFF6TVE9PQ==&subcatid= โป๊ปตั้ง 15 พระคาร์ดินัล - มีคนไทยด้วย]</ref> ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ [[ค.ศ. 2015]]<ref>[http://www.catholic-hierarchy.org/bishop/bkrko.html Archbishop Francis Xavier Kriengsak Kovithavanij]</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:พระคาร์ดินัล| ]]
[[หมวดหมู่:ระบบการปกครองของศาสนาคริสต์]]