ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซากาโมโตะ เรียวมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 84:
| caption2 = ที่ตั้งของสำนักงานบริษัทคะเมะยะมะชาจู ซึ่งเป็นรากฐานของกลุ่มไคเอ็นไต
}}
เรียวมะได้กลายเป็นตัวกลางในการเจรจาลับให้แคว้นซัตสึมะและ[[แคว้นโจชู]]ร่วมมือกันเป็น[[พันธมิตรซัตโจ|พันธมิตรต่อต้านรัฐบาลโชกุน]] ทั้งนี้เนื่องจากว่าทั้งสองแคว้นนั้นต่างเป็นศัตรูกันมาตลอดตั้งแต่อดีต ในขณะนั้นนับได้ว่าเรียวมะมีฐานะเป็นคนนอกที่เป็นกลางไม่เข้าข้างทั้งสองฝ่าย อันเป็นสิ่งจำเป็นในการทำลายช่องว่างทางความคิดและความรู้สึกของทั้งสองแคว้น นอกจากนี้เขายังได้ก่อตั้งกองเรือเอกชนและบริษัทการค้าชื่อ คะเมะยะมะชาจู ([[:ja:亀山社中|亀山社中]]) ที่เมือง[[นะงะซะกิ]]เพื่อบุกเบิกการค้าขายทางทะเลกับชาวต่างประเทศโดยมีคนญี่ปุ่นดำเนินการเอง โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากแคว้นซัตสึมะ (ต่อมาบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น[[ไคเอ็นไต]]หรือกองหนุนทางทะเล) และส่งเสริมการเปิดประเทศด้วยการเรียนรู้ภาษา แนวคิด เทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศ มุ่งสร้างญี่ปุ่นให้เข้มแข็งด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการจับดาบขับไล่ชาวต่างชาติดังเช่นที่ซามูไรยุคนั้นกระทำอยู่ บทบาทความเป็นนักปฏิรูปทางความคิดและการเมืองเช่นนี้ทำให้เรียวมะถูกจับตามองจากหลายฝ่าย รวมถึงถูกหมายหัวจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองที่สวนทางกัน เช่น กลุ่ม[[ชินเซ็งงุมิ]] กลุ่ม[[:en:Mimiwarigumi|มิมะวะริงุมิ]] เป็นต้น
 
แคว้นโจชูได้ชัยชนะต่อรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะต่อเนื่องมาเป็นลำดับในปี [[ค.ศ. 1866]] การล่มสลายของระบอบโชกุนที่ใกล้เข้ามาได้ทำให้เรียวมะกลายเป็นบุคคลที่แคว้นโทะซะเริ่มจับตามองถึงบทบาทและความสำคัญของเขา เขาได้ถูกเรียกตัวให้กลับไปที่โทะสะอย่างมีเกียรติ เนื่องจากในเวลานั้นทางแคว้นโทะซะวิตกกังวลถึงผลสำเร็จของการเจรจาระหว่างรัฐบาลโชกุนกับราชสำนักของพระจักรพรรดิ ซึ่งขัดขวางการล้มล้างรัฐบาลโชกุนโดยการใช้กำลังของ[[พันธมิตรซัตโจ]] เรียวมะได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการเจรจาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยการหว่านล้อมผู้ใหญ่ในรัฐบาลให้เล็งเห็นถึงผลดีในการล้มเลิกการปกครองระบอบรัฐบาลทหารของโชกุน และจัดตั้งสภาบริหารการปกครองโดยให้ไดเมียวจากแคว้นต่างๆ มีส่วนร่วมในการปกครอง{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} กระทั่งนำไปสู่การยอมสละตำแหน่งและถวายคืนพระราชอำนาจแก่พระจักรพรรดิของ[[โชกุน]][[โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ]] ในปี [[ค.ศ. 1867]] ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของ[[การปฏิรูปเมจิ]]ในระยะต่อมา