ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชาธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26:
ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากหนังสือ[[ภาษามอญ]]เรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" ("Hanthawaddy Chronicle") และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดย[[พญาทะละ]] เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัย[[ราชวงศ์ตองอู]] นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดน[[พม่าตอนล่าง]]ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่<ref name=mat-2005-133-135>Aung-Thwin 2005: 133–135</ref> และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมือง[[พะโค]] (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี [[พ.ศ. 2107]]<ref name=geh-xviii>Harvey 1925: xviii</ref>
 
สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับความแปลกฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดย[[นายปันหละ]]เมื่อปี [[พ.ศ. 2511]]<ref name=mat-2005-133-135/>นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี [[พ.ศ. 2501]] และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ "ปากลัด"<ref>ราชาธิราชฉบับปากลัด เป็นราชาธิราชฉบับภาษามอญซึ่งพิมพ์ในประเทศไทย ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดแค [[อำเภอพระประแดง]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] โดยจัดพิมพ์เป็นชุด 2 เล่มต่อเนื่องกัน เมื่อ พ.. 2453 และ 2455 - ดูเพิ่มเติมที่ องค์ บรรจุน. "ราชาธิราชฉบับภาษามอญ" http://blogazine.in.th/blogs/ong/post/2611 เผยแพร่ 29 ตุลาคม 2552. อ้างเมื่อ 20 ตุลาคม 2556.</ref> และบันทึกจาก[[พงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว]] (มานนานยาซะเวง) รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่<ref name=npl-3-4>Pan Hla 1968: 3–4</ref>