ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมดุลเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Separation02.ogg|frame|right|300px| การเข้าสู่สมดุลเคมีของสารอินทรีย์ Methyl tert-butyl ether (MTBE) ที่สกัดด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอร์เนตในน้ำ]]
 
ในเรื่อง[[ปฏิกิริยาเคมี]] '''สมดุลเคมี''' ({{lang-en|Chemical equilibrium}}) คือสภาวะที่[[ความเข้มข้น]]ของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล (equilibrium) ทั้งนี้ การดำเนินไปของปฏิริยาไม่ได้สิ้นสุดลงแต่ระบบยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า '''สมดุลไดนามิก''' (dynamic equilibrium)<ref> Peter Atkins and Julio de Paula, ''Atkins' Physical Chemistry'', 8th edition (W.H. Freeman 2006, ISBN 0-7167-8759-8) p.200-202 </ref>
 
== การศึกษาสมดุลเคมี ==
 
แนวคิดเกี่ยวกับสมดุลเคมี ได้เริ่มพัฒนาขึ้นหลังจากการศึกษาของ โคล้ด หลุยส์ แบร์โธเล่ต์ (Claude Louis Berthollet) นักเคมีชาว[[ฝรั่งเศส]] ที่พบว่าปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเป็น[[ปฏิกิริยาผันกลับได้]] (reversible reaction) โดยในสมดุลเคมีนั้น [[จลนพลศาสตร์เคมี|อัตราการเกิดปฏิกิริยา]]ไปข้างหน้า (forward reaction) จะเท่ากับ[[จลนพลศาสตร์เคมี|อัตราการเกิดปฏิกิริยา]]ย้อน กลับ (backward หรือ reverse reaction) สมการต่อไปนี้ เป็นการแสดงสมดุลเคมีของปฏิกิริยาระหว่างสาร A และ สาร B เกิดเป็นสาร S และ สาร T โดยที่ [[Alpha|α]], [[Beta|β]], [[sigma|σ]] และ [[tau|τ]] เป็นสัมประสิทธิ์[[ปริมาณสัมพันธ์]] (stoichiometric coefficient) ของปฏิกิริยาดังกล่าว