ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส้มโอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
}}
 
'''ส้มโอ''' เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับ[[ส้ม (ผลไม้)|ส้ม]] มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง ([[ภาษาเขมร]]) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)<ref>[http://web3.dnp.go.th/botany/ThaiPlantName/Default.aspx ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย] เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549</ref> มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก[[ภาษาดัตช์]] pompelmoes ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่า[[ฟักทอง]]" <ref name="ส้มโอ">นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ส้มโอ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า225 - 229</ref> แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของ[[ประเทศไทย|ไทย]] นิยมปลูกทาง[[ภาคตะวันตก]]ของประเทศ[[ไฟล์:Pomelo seedling.jpg|thumb|ต้นกล้าส้มโอ|249200x249200px]]
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า "กลีบ" มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด<ref>[http://www.rspg.or.th/plants_data/use/fruit_16.htm ส้มโอ] ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref> ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มี[[วิตามินซี]]มาก
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ส้มโอ"