ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฤดูกาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chalita121675 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขอ้างอิง
ย้อนการแก้ไขของ Chalita121675 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
บรรทัด 2:
{{สภาพอากาศ}}
'''ฤดูกาล''' ({{lang-en|Season}}) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่[[โลก]]โคจรรอบ[[ดวงอาทิตย์]] เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
[http://theseasonshift1.blogspot.com/]ฤดูกาลเป็นการแบ่งปีเป็นช่วงๆ ตามสภาพอากาศ ฤดูกาลต่างๆ เป็นผลมาจากการที่แกนโลกเอียงไปจากระนาบการโคจรเล็กน้อย (ประมาณ 23.44 องศา) ในขณะที่โลกโคจรไปรอบๆ ดวงอาทิตย์นั้น โลกจะหันบางส่วนเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา และบางส่วนจะโดนแสงอาทิตย์น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนที่โดนแสงอาทิตย์มาก ก็เป็นฤดูร้อนของส่วนนั้นๆ และส่วนที่โดนแสงอาทิตย์น้อยก็จะเป็นฤดูหนาว
ตำแหน่งต่างๆ บนโลกจะมีฤดูกาลไม่เหมือนกัน โดยในส่วนของโลกที่อยู่ระหว่างเขตหนาวกับเขตอบอุ่น (temperate regions) และบริเวณแถบขั้วโลก (polar regions) จะมี 4 ฤดูกาลคือ ฤดูใบไม้ผลิ (spring) ฤดูร้อน (summer) ฤดูใบไม้ร่วง (fall) และฤดูหนาว (winter) ส่วนบริเวณโซนเขตร้อน (tropical region) หรือบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ เส้นศูนย์สูตรจะแบ่งได้ 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน (dry hot season) ฤดูฝน (wet season) และฤดูหนาว (dry cool season) ซึ่งประเทศไทยก็อยู่โซนเขตร้อน ดังนั้นประเทศไทยจึงมี 3 ฤดูกาล
ใน 1 ปี โลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด 2 ครั้ง คือ ในเดือนธันวาคม และในเดือนมิถุนายน ซึ่งในเดือนธันวาคมนั้น จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม เราเรียกว่า December solstice ส่วนในเดือนมิถุนายนนั้นจะตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน เราเรียกว่า June solstice
ส่วนของโลกที่อยู่ระหว่างเขตหนาวกับเขตอบอุ่น (temperate regions) และบริเวณแถบขั้วโลก (polar regions) เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนไป ความเข้มของแสงของดวงอาทิตย์ก็ต่างกันไปด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับละติจูด และขึ้นอยู่กับน้ำมีอยู่ใกล้ๆ บริเวณนั้นๆ ด้วย เช่นบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างทวีปแอนตาร์กติกและอยู่ไกลจากอิทธิพลของมหาสมุทรทางใต้ (the southern oceans) พอสมควร ในขณะที่บริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ทำให้ภูมิอากาศแถบขั้วโลกเหนือได้รับการปรับตามมหาสมุทรอาร์กติกนั้น ทำให้ภูมิอากาศไม่หนาวหรือร้อนมากเกินไป ในขณะที่แถบขั้วโลกใต้จะหนาวมากในฤดูหนาว ซึ่งหนาวกว่าฤดูหนาวแถบขั้วโลกเหนือ
ส่วนของโลกบริเวณโซนเขตร้อน จะไม่มีความแตกต่างของความเข้มของแสงที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มากนักในฤดูกาลต่างๆ
 
== ฤดูกาลของโลก==[http://theseasonshift1.blogspot.com/]
แหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญที่โลกได้รับคือดวงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานความร้อนที่โลกได้รับนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ทางบรรยากาศของโลกมากมาย รวมตลอดถึงการเกิดฤดูกาลบนผิวพื้นโลกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์ จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในรูปที่ 1
 
ถ้าโลกไม่เอียง บริเวณขั้วโลกทั้ง 2 จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยมากตลอดปี ขณะที่ที่เส้นศูนย์สูตรจะได้รับสูงมากตลอดปี แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงดังกล่าวแล้ว ทำให้การกระจายของพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปในรอบปี
 
แนวโคจรของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามีอิทธิพลต่อมุมของลำแสงที่ตกกระทบบนพื้นผิวโลก กล่าวคือบริเวณใดที่มีลำแสงตั้งฉากตกกระทบ บริเวณนั้นจะได้รับพลังงานความร้อน มากกว่าบริเวณที่มีลำแสงเฉียงตกกระทบ ทั้งนี้เพราะลำแสงเฉียงจะครอบคลุมพื้นที่ มากกว่าลำแสงตั้งฉากที่มีลำแสงขนาดเดียวกัน จึงทำให้ความเข้มของพลังงานความร้อน ในบริเวณที่มีลำแสงตั้งฉากตกกระทบ จะมากกว่าบริเวณที่มีลำแสงเฉียงตกกระทบ ดังแสดงในรูปที่ 2 นอกจากนี้ลำแสงเฉียง จะผ่านชั้นบรรยากาศที่หนากว่าลำแสงดิ่ง ดังนั้นฝุ่นละออง ไอน้ำในอากาศจะดูดกลืนความร้อนบางส่วนไว ้และสะท้อนความร้อนบางส่วนออกไปยังบรรยากาศภายนอก จึงทำให้ความเข้มของพลังงานความร้อนที่ตกกระทบผิวพื้นโลกของลำแสงเฉียงน้อยลง เพราะฉะนั้นในฤดูหนาวอากาศจึงหนาวเย็น เพราะความเข้มของแสงอาทิตย์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับในฤดูร้อน เพราะได้รับแสงในแนวเฉียงตลอดเวลา
 
ใน[[เขตอบอุ่น]]และ[[เขตหนาว]] จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ [[ฤดูใบไม้ผลิ]] [[ฤดูร้อน]] [[ฤดูใบไม้ร่วง]] และ[[ฤดูหนาว]] ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้
เส้น 20 ⟶ 8:
* สารทฤดู หรือฤดูใบไม้ร่วง: [[22 กันยายน]] - [[21 ธันวาคม]]
* เหมันตฤดู หรือฤดูหนาว : [[22 ธันวาคม]] - [[20 มีนาคม]]
 
==เขตภูมิอากาศ==
เขตร้อน
ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Af) มีอุณหภูมิสูงตลอดปีเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกมากกว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี จึงทำให้พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดิบชื้นที่มีไม้สำคัญได้แก่ ไม้ตะเคียน ไม้ยาง ไม้แดง และพบป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง มีไม้สำคัญ เช่น ไม้โกงกาง ไม้แสม ไม้ลำพู เป็นต้น
ลักษณะดังกล่าวจะพบอยู่ระหว่างละติจูดที่ 8 องศาเหนือ ถึง 8 องศาใต้ ครอบคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย สิงขโปร์ อินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต บรูไน และภาคใต้ของประเทศไทย
ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีอุณหภูมิสูงตลอดปีเฉลี่ย 18- 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกมากกว่า 2,750 มิลลิเมตรต่อปี อันเนื่องมาจากอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดเข้าสู่แผ่นดินทางด้านทิศตะวันตก ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติที่พบในบริเวณนี้จึงเป็นทุ่งหญ้าสลับป่าไม้ มีไม้ที่มีความสำคัญ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้มะค่า ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้สัก
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ภูมิอากาศแบบนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนฤดูหนาวอากาศจะเย็นและแห้ง เนื่องจากอิทธิพลของกระแสลมเย็นที่พัดมาจากแผ่นดินใหญ่ พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้จะมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า
ภูมิอากาศแบบนี้พบบริเวณที่ราบสูงเดดคานของประเทศอินเดีย ประเทศไทย ลาม กัมพูชา และเวียดนาม
 
เขตแห้งแล้ง
ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น (BWk) และกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น (BSk) มีลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นและแห้ง พบในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากทะเล และมีเทือกเขาขวางกั้นทิศทางลม พืชพรรณธรรมชาติมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสั้น บริเวณที่มีภูมิอากาศเช่นนี้ ได้แก่ ประเทศเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน มองโกเลีย และทางทิศตะวันตกของจีน
ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) และกึ่งทะเลทรายเขตร้อน (BSh) มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนและ 18 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว มีความแห้งแล้งและมีฝนตกน้อยมาก เนื่องจากอิทธิพลของมวลความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุม รวมถึงไม่มีลมที่พัดจากทะเลเข้าสู่แผ่นดิน
พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้จะมีน้อย เช่น กระบองเพชรและไม้พุ่มต่างๆ ส่วนบริเวณโอเอซิสที่มีน้ำใต้ดินจะมีพืชจำพวกปาล์ม อินทผลัม ภูมิอากาศแบบนี้พบบริเวณประเทศ เยเมน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน ซีเรีย อิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถาน
 
เขตอบอุ่น
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) มีความชื้นในอากาศสูงช่วงฤดูร้อน เนื่องจากอิทธิพลของลมพายุหมุนที่พัดเข้าสู่แผ่นดินทางด้านทิศตะวันออก ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด พบไม้สำคัญได้แก่ สน โอ๊ก ไพน์ ภูมิอากาศแบบนี้พบบริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนและตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น
ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีความชื้นสูงตลอดปี มีฝนตกในฤดูหนาว เนื่องจากอิทธิพลของลมประจำปีพัดมาทางทิศตะวันตก พบนริเวณคาบสมุทรอนาโตเลียในประเทศตุรกี และประเทศจอร์เจีย
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Csa ; Csb) มีอากาศแห้งในฤดูร้อน แต่มีฝนตกในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีเปลือกหนา ใบเล็ก ผิวมัน มีสีเขียวตลอดปี เช่น โอ๊ก ซีดาร์ พบมากบริเวณประเทศที่มีชายฝั่งติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ประเทศอิสราเอล ซีเลีย ตุรกี ไซปรัส และตอนเหนือของอิรัก อิหร่าน
ภูมิอากาศแบบกึ่งชื้นเขตร้อน (Cwa) มีอากาศร้อนและชื้นในฤดูร้อน ส่วนฤดูหนาวอากาศจะแห้งและหนาวจัด มักพบไม้ประเภทสน ภูมิอากาศแบบนี้พบชัดเจนในบริเวณในบริเวณเทือกเขาสูงของประเทศอินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้
 
เขตหนาว
ภูมิอากาศแบบหนาวชื้นภาคพื้นทวีป (Df) และหนาวแห้งภาคพื้นทวีป (Dw) มีฤดูร้อนสั้น แต่มีฤดูหนาวซึ่งมีมวลอากาศเย็นปกคลุมเป็นเวลานาน พบไม้จำพวกสน โอ๊ก และบูชในบริเวณตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน
 
เขตเย็น
ภูมิอากาศแบบทรุนดา (ET) มีภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีช่วงฤดูร้อนสั้นๆ ทำให้มีพืชจำพวกมอสและไลเคนเจริญเติบโตได้ พบบริเวณตอนเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย
 
เขตที่สูง
ภูมิอากาศแบบที่สูงและภูเขา (H) อุณหภูมิของอากาศจะลดต่ำลงตามความสูงของพื้นที่ รวมถึงมีปริมาณก๊าซออกซิเจนลดลง ทำให้บริเวณนี้มีอากาศหนาวเย็น พบไม้จำพวกสน โอ๊ก เช่น ประเทศภูฐาน เนปาล และเขตปกครองตนเองธิเบตของประเทศจีน
 
ใน[[เขตร้อน]] จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ [[ฤดูร้อน]] [[ฤดูหนาว]] (รวมกันเรียกว่า "[[ฤดูแล้ง]]") และ[[ฤดูฝน]]
 
ฤดูร้อน
 
เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(หรือที่เปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูฝน)เป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะในเดือนเมษายนประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ลำแสงของดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับผิวพื้นโลกในเวลาเที่ยงวันทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่จึงทำให้สภาวะอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปในฤดูนี้แม้ว่าประเทศไทยอากาศจะร้อนและแห้งแล้งแต่ในบางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาถึงประเทศไทยตอนบนได้ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศเย็น ที่แผ่ลงมากับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายได้พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกว่า "พายุฤดูร้อน"
 
ฤดูหนาว
 
ฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงปลายเดือนตุลาคมยังมีฝนตกอยู่จากนั้นลมหนาว และความกดอากาศสูงที่เคลื่อนตัวมาจากประเทศจีนจะเข้าครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอากาศจะค่อนข้างเย็นในช่วงเวลากลางคืนอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเลยหากเราเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของกลางวันกลางคืนตลอดในช่วง 1 ปีจะเห็นความยาวนานของกลางวันและกลางคืนเปลี่ยนไปในแต่ละวันเหตุที่เป็นเช่นนี้เป็นผลมาจากแกนหมุนของโลกเอียงทำให้แต่ละส่วนบนผิวโลกรับแสงอาทิตย์ในปริมาณที่แตกต่างกัน ความยาวนานของกลางวันกลางคืนจึงต่างกันด้วยบางช่วงทางซีกโลกเหนือได้รับแสงอาทิตย์นานกว่าแต่บางช่วงทางซีกโลกใต้ได้รับแสงอาทิตย์นานกว่าจึงเกิดฤดูกาลที่แตกต่างกันขึ้นบนโลกเราจะสังเกตได้ว่าในช่วงฤดูร้อนกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในช่วงฤดูหนาว กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวันโดยดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
ฤดูฝน
 
ฤดูฝนอยู่ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนตุลาคมโดยได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศต่ำจังหวัดที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือจังหวัดนครพนมและจังหวัดที่มี่ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดคือจังหวัดนครราชสีมาปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนอย่างไรก็ตามปริมาณฝนที่ตกในภูมิภาคนี้นั้นไม่สามารถจะคาดเดาได้เพราะมีปริมาณไม่สม่ำเสมอโดยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมีความแตกต่างกันจาก 2,000 มิลลิเมตรในบางพื้นที่ไปจนถึง 1,270 มิลลิเมตรในจังหวัดที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของภูมิภาคอย่าง บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา ในฤดูฝนสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติบางแห่งปิดทำการในบางช่วงเพราะเป็นช่วงเวลาที่ต้นไม้นานาชนิดกำลังต้องการการเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่และอาจเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวในกรณีที่เกิดเหตุน้ำท่วมหรือดินถล่ม
 
== สาเหตุในการเกิดฤดูกาล ==
[[ไฟล์:Seasonearth.png|thumb|right|275px|ภาพแสดงให้เห็นโลกในฤดูต่างๆ]]
[[ไฟล์:seasons.svg|frame|right|'''Fig. 1'''<br />This is a diagram of the seasons. Regardless of the time of day (i.e. the [[Earth]]'s rotation on its axis), the [[North Pole]] will be dark, and the [[South Pole]] will be illuminated; see also [[arctic winter]]. In addition to the density of [[Angle of incidence|incident]] light, the [[dissipation]] of light in the [[Earth's atmosphere|atmosphere]] is greater when it falls at a shallow angle.]]
 
ฤดูกาลเกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
วันที่ 21 มีนาคม ตำแหน่งแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์อยู่ที่เส้นศูนย์สูตรจุดขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้จะสว่าง เรียกวา วันวสันตวิษุวัต (vernal equinox) โลกจะมีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ช่วงละ 12 ชั่วโมง
วันที่ 21 มิถุนายน ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือสุดเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทำให้พื้นที่ตั้งแต่เส้นศูนย์สูตไปทางขั้วโลกเหนือ เรียกว่า ซีกโลกเหนือ จะมีเวลาที่เป็นกลางวันหรือสว่างมากกว่า 12 ชั่วโมง ส่วนพื้นที่ที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงไป เป็นซีกโลกใต้ จะมีเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน ซึ่งตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ในซีกโลกเหนือ วันที่ 21 มิถุนายน คือ วันอุตรายันหรือครีษมายัน (summer solstice)ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนขึ้นมาอยู่ ณ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์นั้น ทำให้ทุกพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีช่วงการรับแสงจากดวงอาทิตย์ยาวนานที่สุดถึง 24 ชั่วโมง (ที่ซีกโลกใต้พื้นที่ตั้งแต่เส้นแอนตาร์กติดเซอร์เคิลไปถึงขั้วโลกใต้จะมืด 24 ชั่วโมง ) ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน ตอนเหนือของสหพันธรัฐรัสเซียและตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า"พระอาทิตย์เที่ยงคืน หรือดวงอาทิตย์ไม่ลับขอบฟ้า" (Midnight Sun)
วันที่ 22 กันยายน คือ "วันศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ย้ายลงมาจากวันที่ 21 มิถุนายน วันละ 15 ลิปดาและมาตั้งฉากที่เส้นศูนย์สูตรอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ปรากฏการณ์ของซีกโลกเหนือที่เคยได้รับแสงอาทิตย์ยาวนานค่อยๆลดลง และจะมีช่วงเวลาระหว่างกลางวันกับกลางคืนเท่ากันอีกครั้งในวันนี้ นับจาดนี้ต่อไปตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะเลื่อนลงใต้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ดินแดนทางซีกโลกใต้เริ่มมีช่วงเวลากลางวันยาวขึ้นและเวลากลางคืนสั้นลง
วันที่ 21 ธันวาคม คือ " วันทักษิณายันหรือเหมายัน " (Winter solstice) ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ลงไปใต้สุดที่เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น ทำให้พื่นที่ซีกโลกใต้มีเวลากลางวันยาวทีสุดและที่ทวีปแอนตาร์กติกาจะได้เห็นปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน" เช่นกันสำหรับซีกโลกเหนือในระยะนี้จะได้รับแสงอาทิตย์สั้นทีสุด จึงเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ถัดจากวันที่ 21 ธันวาคมไป ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะขยับขึ้นไปที่เส้นศูนย์สูตรและครบ 1 รอบในวันที่ 21 มีนาคม
 
ฤดูกาลเกิดขึ้นเนื่องจากการเอียงของ[[แกนโลก]]ที่เอียงทำมุมประมาณ 23.5 [[องศา]]กับระนาบการหมุนของโลก ส่งผลให้ระยะเวลาในช่วงกลางวันและกลางคืน รวมถึงการดูดซับพลังงานจาก[[ดวงอาทิตย์]]แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของปี นั่นคือในช่วงที่[[ซีกโลกเหนือ]]หันเข้าหาดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือเนื่องจากได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากที่สุดและมีกลางวันที่ยาวนานที่สุด ทาง[[ซีกโลกใต้]]จะห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด นั่นคือเป็นฤดูหนาวของซีกโลกใต้ซึ่งมีกลางวันที่สั้นที่สุด
1.ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลทำให้มีอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น ๆ
2. ลมพายุหมุน ส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้จังทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง
3. ระยะใกล้ไกลทะเล จะทำให้อากาศมีความแตกต่างกันระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมาก เนื่องจากไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล
4. การวางตัวของภูเขาดงพญาเย็นและสันกำแพง ซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้กั้นลมฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ฤดูกาล"