ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:RSR.ThailandLOGO.jpg|180px|right]]
'''รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ''' ({{lang-en|International Express}}, รหัสขบวนรถ: 45/46) เป็นรถด่วนพิเศษขบวนหนึ่งของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ในอดีตวิ่งระหว่าง[[สถานีรถไฟกรุงเทพ]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] กับ[[สถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ]] เขตนอร์ทเทิร์นเซบรังเปไร [[รัฐปีนัง]] โดยใช้รหัสขบวน 35/36 ปัจจุบันจะสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีปาดังเบซาร์และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและไปซื้อตั๋วเพื่อขึ้นรถไฟ ''อีทีเอส'' ของมาเลเซียต่อไป
 
ชนิดรถที่ให้บริการ ได้แก่ รถนอนปรับอากาศชั้นที่ 1, รถนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 และรถเสบียง ส่วนมากใช้รถจักร[[จีอีเอ]]หรือ[[ฮิตะชิ (รถจักร)|ฮิตะชิ]]ทำการ
บรรทัด 7:
รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือชื่อเดิม ''รถด่วนสายใต้'' เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 วิ่งทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ต้นทางในขณะนั้นคือ[[สถานีรถไฟบางกอกน้อย]] และได้ย้ายต้นทางมาที่[[สถานีรถไฟกรุงเทพ]] ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 ต่อมาได้หยุดทำการเดินรถชั่วคราวระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2493 จนถึง 2 มกราคม พ.ศ. 2497 เนื่องจาก[[สะพานพระราม 6]] ถูกทำลาย
 
โดยปกติรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่ายและไปถึง[[สถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ]]ในช่วงสายของวันถัดมาโดยทำการเดินรถทุกวัน แต่ภายหลังในช่วงกลางปี พ.ศ. 2559 หลังจากที่ประเทศมาเลเซียได้มีการปรับปรุงการให้บริการรถไฟด้วยระบบรถไฟฟ้าทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร หรือขบวนรถไฟ ''อีทีเอส'' รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศจึงสิ้นสุดเส้นทางเพียงแค่สถานีปาดังเบซาร์ โดยจะพ่วงตู้โดยสารรวมไปกับ[[รถด่วนพิเศษทักษิณ]]ขบวนที่ 37/38 (กรุงเทพ - สุไหงโกลก - กรุงเทพ) และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและดำเนินการซื้อตั๋วเพื่อใช้บริการรถไฟของประเทศมาเลเซียเพื่อเดินทางไปยังที่หมายต่อไป
 
== สถานีรถไฟที่จอด==