ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kalasee (คุย | ส่วนร่วม)
Kalasee (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44:
 
== ประวัติ ==
วันที่ [[18 เมษายน]] [[พ.ศ. 2541]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางศิลาฤกษ์ '''“มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี”''' (ในขณะนั้น) ณ หมู่บ้านไตรรัตน์ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
 
หากย้อนอดีต เมื่อวันที่ [[20 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2538]] คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้มหาวิทยาลัยมหิดลรับภารกิจในการจัดตั้งหมาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ในโครงการขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] จึงจัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยามหิดล ณ กาญจนบุรี ขึ้นในสังกัดสำนักงานอธิการบดีในปี พ.ศ. 2538 โดยรัฐบาลมีนโยบายที่จะกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท ประกอบกับในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 8 ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยามนุษย์ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงมีนโยบาย ที่จะขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค เพื่อยกระดับชีวิต รายได้ การสร้างงาน ตลอดจนฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้ดีขึ้น แต่เนื่องด้วยงบประมาณของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงใช้วิธีการขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยการให้มหาวิทยาลัยขอรัฐขยาย วิทยาเขตการศึกษา อันจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ ประกอบกับประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีความต้องการที่จะให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ณ จังหวัดกาญจนบุรีขึ้น ซึ่งจากการประสานงานระหว่าง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เห็นชอบที่จะให้มหาวิทยาลัยมหิดลขยายวิทยาเขตการศึกษาไปที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดหาที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบและศึกษา พื่นที่แปลงต่างๆ ที่เหมาะสม โดยได้เสนอพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยพิจารณารวม 3 แห่ง คือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอพนมทวน และอำเภอไทรโยค
 
วันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2538]] คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดเสนอไว้ทั้ง 3 แห่งและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติให้เลือกพื้นที่บริเวณอำเภอไทรโยค ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอโทรโยค เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ และบางส่วนอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี
 
เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2540]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] ได้เริ่มก่อสร้าง อาคารเรียนรวม และอาคารอำนวยการ ขึ้นเป็นจุดแรกของพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาพความทรงจำ และความภาคภูมิใจ ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรี และบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี เป็นอย่างยิ่งและในด้านพื้นที่ที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัย ณ กาญจนบุรี เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอไทรโยค สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นที่ดินจำนวน 58 แปลงเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ นอกจากนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่สวยงานสำหรับการประชุมและสัมมนา ชาวจังหวัดกาญจนบุรียังได้จัดซึ้งที่ดินติดริมแม่น้ำแควน้อย ในเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภทโทรโยค จำนวน 24 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา มอบให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย
 
วันที่ [[20 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2552]] มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 จึงได้ออกประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งส่วนงานออกเป็น 2 สำนักงาน 1 วิทยาเขต 17 คณะ 7 สถาบัน 5 วิทยาลัย 1 หอสมุดฯ (จากราชกิจจานุเบกษา 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เล่ม 126 ตอนที่ 168 ง หน้า 120-121) โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น '''มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี''' นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน <ref> ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/169/120.PDF การจัดตั้งส่วงานของมหาวิทยาลัยมหิดล], 16 กันยายน พ.ศ.2552</ref>
 
โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/169/120.PDF การจัดตั้งส่วงานของมหาวิทยาลัยมหิดล]</ref>
 
== ทำเนียบรองอธิการบดีวิทยาเขตกาญจนบุรี ==