ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย แสวงการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33:
ในปีพ.ศ. 2554 ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมัยที่ 2 โดยมีมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นผู้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา รับหน้าที่สำคัญ ๆ อาทิ โฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา 2551-2557 ,กรรมาธิการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา 2554-2557 ,กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานกฎหมาย วุฒิสภา 2556 ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิทางการเมือง 2555-2556 เป็นต้น ช่วยปลายปี 2556 ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม มีปัญหาทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ต่อมารัฐบาลจะประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างนำไปสู่การคัดค้านการเลือกตั้ง ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ สมชายได้ร่วมกับ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา หาทางออกให้กับประเทศ  โดยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากหลายองค์กร และมีความเห็นตรงกันให้วุฒิสภาทำการแก้ไขวิกฤติชาติ เพื่อยับยั้งความเสียหาย ด้วยการเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1.ให้มีการแก้ไขวิกฤติชาติ โดยคืนความสงบสุข ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ด้วยการจัดให้มีปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีอำนาจเต็มเพื่อดำเนินการ 2.เรียกร้อง ครม.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ขณะนั้น รัฐบาล และพรรคการเมืองทุกพรรค ให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาในการหาทางออกประเทศ ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชาติอย่างเต็มกำลังและลดเงื่อนไขความรุนแรงขัดแย้ง 3.วุฒิสภาพร้อมทุ่มเทการทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยจะนำความเห็นทุกภาคส่วนมาพิจารณาประกอบ และหากจำเป็นวุฒิสภาจะอาศัยข้อบังคับประชุมของวุฒิสภา เปิดประชุมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามประเพณีทั้งของสากล และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในที่สุด วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] (คสช.) อันมีพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการ[[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล]]
 
วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 สมชาย ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติ เป็นสมัยที่ 2 โดยมีตำแหน่งสำคัญ อาทิ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ,กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเครื่องการปฏิรูปประเทศ, กรรมการคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ,รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่สาม และกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ยังเป็นกรรมาธิการวิสามัญในการร่างกฎหมายอีกหลายฉบับ เป็นต้น
 
== การอบรมและสัมมนา ==
บรรทัด 43:
 
== ประสบการณ์การทำงาน ==
* สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 31 กรกฎาคม 2557[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]<ref>[http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/1_11.pdf ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ], สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557</ref> โดยได้ทำหน้าที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง อาทิ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเครื่องการปฏิรูปประเทศ, กรรมการคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ,รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่สาม และกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน เป็นต้น
 
* สมาชิกวุฒิสภา 2554-2557
สมาชิกวุฒิสภา 2554-2557 โดยได้ทำหน้าที่สำคัญๆ ในตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา, โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับพิทักษ์สถาบันพระมหากษตริย์ เป็นต้น
 
* สมาชิกวุฒิสภา 2551-2554
สมาชิกวุฒิสภา 2551-2554 เป็นประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
 
* นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 2 สมัย พ.ศ.2546-2548,2548-2549
 
* กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอ็นเอ็นเรดิโอ จำกัด และผู้อำนวยการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน
 
* บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อสมท.
 
* กรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==