ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย แสวงการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 27:
 
== การทำงาน ==
สมชาย ทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ สายการเมือง และสายทหาร ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ ไอ.เอ็น.เอ็น.กรุ๊ป ร่วมกับนายสนธิญาณ หนูแก้ว (สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม) ที่ถือหุ้นใหญ่โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกลุ่มบริษัทยูคอม (1) เป็นผู้ผลิตรายการร่วมด้วยช่วยกัน ได้รับสิทธิจากหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในการเข้ามาบริหารและผลิตรายการ “ร่วมด้วยช่วยกัน” เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่ธันวาคม 2540 เป็นต้นมา ปัจจุบันวิทยุร่วมด้วยช่วยกันยังคงออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมรักษาดินแดน เอฟเอ็ม 96 เมกกะเฮิร์ซ (2) เป็นเจ้าของสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ทำธุรกิจสำนักข่าว ผลิตข่าวและรายการวิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์ นอกจากนี้สมชายยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 2 สมัยติดต่อกัน พ.ศ.2546-2548,2548-2549
 
หลังเกิดการปฎิวัติรัฐประหาร ในปี 2549 สมชายได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จากสายวิชาชีพสื่อมวลชนในปี พ.ศ. 2549 หลังได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช. สมชายจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อเป็นการรักษาระยะห่างระหว่างการทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการทำงานของสมาคมฯ ในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่จะต้องติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายต่างๆ ในสังคม ในปีพ.ศ. 2551 สมชายได้รับการสรรหาให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ภาควิชาชีพ โดยมีมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเป็นผู้ส่งเข้ารับการสรรหา โดยได้ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นที่มาของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ "ไทยพีบีเอส" ในปัจจุบัน,พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ,พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551, พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553,พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าทางคดีของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ทางการเมือง กรณีการเสียชีวิต พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.21 รอ.) และผู้ชุมนุมทางการเมือง 10 เม.ย. 2553
 
ในปีพ.ศ. 2554 ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมัยที่ 2 โดยมีมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นผู้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา รับหน้าที่สำคัญ ๆ อาทิ โฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา 2551-2557 ,กรรมาธิการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา 2554-2557 ,กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานกฎหมาย วุฒิสภา 2556 ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิทางการเมือง 2555-2556 เป็นต้น ช่วยปลายปี 2556 ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม มีปัญหาทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ต่อมารัฐบาลจะประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างนำไปสู่การคัดค้านการเลือกตั้ง ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ สมชายได้ร่วมกับ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา หาทางออกให้กับประเทศ  โดยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากหลายองค์กร และมีความเห็นตรงกันให้วุฒิสภาทำการแก้ไขวิกฤติชาติ เพื่อยับยั้งความเสียหาย ด้วยการเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1.ให้มีการแก้ไขวิกฤติชาติ โดยคืนความสงบสุข ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ด้วยการจัดให้มีปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีอำนาจเต็มเพื่อดำเนินการ 2.เรียกร้อง ครม.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ขณะนั้น รัฐบาล และพรรคการเมืองทุกพรรค ให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาในการหาทางออกประเทศ ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชาติอย่างเต็มกำลังและลดเงื่อนไขความรุนแรงขัดแย้ง 3.วุฒิสภาพร้อมทุ่มเทการทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยจะนำความเห็นทุกภาคส่วนมาพิจารณาประกอบ และหากจำเป็นวุฒิสภาจะอาศัยข้อบังคับประชุมของวุฒิสภา เปิดประชุมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามประเพณีทั้งของสากล และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในที่สุด วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] (คสช.) อันมีพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการ[[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล]]
ในปีพ.ศ. 2554 ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมัยที่ 2 โดยมีมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นผู้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา
 
วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 สมชาย ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติ เป็นสมัยที่ 2 โดยมีตำแหน่งสำคัญ อาทิ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ,กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเครื่องการปฏิรูปประเทศ, กรรมการคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ,รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่สาม และกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน เป็นต้น
ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิทางการเมือง ๒๕๕๕-๒๕๕๗
 
และปัจจุบันได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติ เป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
== การอบรมและสัมมนา ==
เส้น 51 ⟶ 49:
สมาชิกวุฒิสภา 2551-2554 เป็นประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
 
นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 2 สมัย พ.ศ.2546-2548,2548-2549
 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอ็นเอ็นเรดิโอ จำกัด และผู้อำนวยการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน