ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ทำทำทำ
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{รวมไป|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
.นับตั้งแต่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[ประมุขแห่งรัฐ|ประมุข]]แห่ง[[ประเทศไทย]] เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบ'''พระราชกรณียกิจ'''ในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า "''เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม "''
 
ในปี พ.ศ. 2539 จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนัก จึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้ทรงเป็น "[[รายพระนามกษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช|มหาราช]]"<ref>[http://power.manager.co.th/69-84.html|พระบรมเดชานุภาพแห่งรัชกาลที่ 9]</ref>
บรรทัด 21:
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529}}
 
โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้ เช่น [[เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์]] [[เขื่อน]]ดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่[[จังหวัดลพบุรี]] จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก [[ฝาย]] [[อ่างเก็บน้ำ]] โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่ม[[โครงการฝนหลวง]] เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทชลประทาน
 
ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง มีพระราชดำริเรื่อง[แก้มลิง] ควบคุมการระบายน้ำจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[แม่น้ำท่าจีน]] ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่[อ่าวไท]]ตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ [[กังหันชัยพัฒนา]] ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่ม[[ออกซิเจน]] เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก [[กรมทรัพย์สินทางปัญญา]] [[กระทรวงพาณิชย์]] เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
 
=== ทรัพยากรดิน ===
;การ[[แกล้งดิน]]
 
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
 
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก 1 - 2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ คือควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
 
จากการทดลอง ทำให้พบว่า วิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ 3 วิธีการด้วยกัน คือ
* ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้
* ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน
* ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน
 
=== การปลูก[[หญ้าแฝก]] ===
 
=== พันธุ์พืชและสัตว์ ===
ทรงส่งเสริมการเลี้ยง[[ปลานิล]] ทรงจัดตั้ง[[โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา]] เพื่อวิจัยพันธุ์ข้าว พันธุ์พืชและปศุสัตว์
 
=== การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ===
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การผลิต[[เอทานอล]] [[แก๊สโซฮอล์]]และ[[ไบโอดีเซล]] เป็นต้น
 
=== เกษตรทฤษฎีใหม่ ===
{{บทความหลัก|ทฤษฎีใหม่}}
 
=== เศรษฐกิจพอเพียง ===
{{บทความหลัก|เศรษฐกิจพอเพียง}}
 
== พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ==
พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ
 
== พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข ==
[[ไฟล์:ในหลวงประทับพื้น.jpg|thumb]]
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้าน'''[[สุขภาพ]][[อนามัย]]''' ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ''ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง'' พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้
 
* โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
* โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
* โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
 
* หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
* โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
* โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
* โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
* หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
{{คำพูด|จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย <ref>พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒ </ref>}}
นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จพระบรมราชชนก]] ''พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย'' และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี|สมเด็จพระบรมราชชนนี]] ''พระมารดาของการแพทย์ชนบท'' ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป
 
== พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ==
[[ไฟล์:The king and educational activity.jpg|thumb]]
[[ไฟล์:The king gives a fund.jpg|thumb]]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อ ดังพระราชดำรัสที่ว่า
 
{{คำพูด|การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด <ref>พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔</ref>}} พระองค์จึงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
 
=== โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ===
[[โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์]]เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่[[ครู]]และ[[นักเรียน]]ของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้ง[[โรงเรียนรัฐบาล]]และ[[โรงเรียนเอกชน]] ดังนี้
* [[โรงเรียนจิตรลดา]]
* [[โรงเรียนราชวินิต]]
* [[โรงเรียนวังไกลกังวล]]
* [[โรงเรียนราชประชานุเคราะห์]]
* โรงเรียนราชประชาสมาสัย
* [[โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์]]
* [[โรงเรียนเพื่อลูกหลานชนบท]]
* [[โรงเรียนร่มเกล้า]]
* [[โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน]]
* [[โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์]]
* โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน
 
=== ทุนการศึกษาพระราชทาน ===