ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33:
เมื่อเจริญวัยขึ้น เจ้าพระยาอภัยราชาผู้เป็นบิดาได้นำตัวนายสิงห์เข้ารับราชการใน[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร]] และได้รับพระราชทานยศศักดิ์ในตำแหน่ง จมื่นเสมอใจราชและพระนายเสมอใจ ต่อมาได้เป็นพระยาเกษตรรักษาว่าการกรมนาฝ่ายพระราชวังบวรในสมัยรัชกาลที่ 2 ภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์สมบัติจึงโปรดให้เป็น'''พระยาราชสุภาวดี'''
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 [[เจ้าสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์]]พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง[[เวียงจันทน์]]คิดการกบฏกอบกู้เอกราชขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบปรามบรรดาพวกกบฏกองทัพลาว ในที่สุดท่านได้ปราบปรามกบฏกองทัพลาวสำเร็จและสามารถยกเข้าครองเมืองนคร[[จำปาศักดิ์]]ได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น'''เจ้าพระยาราชสุภาวดี'''ว่าที่สมุหนายก
 
เสร็จศึกเจ้าสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสถาปนาเจ้าพระยาราชสุภาวดีขึ้นเป็น'''เจ้าพระยาบดินทรเดชา'''ที่สมุหนายกใน พ.ศ. 2372 (เวลานั้นท่านอายุได้ 52 ปี)
 
อีกไม่กี่ปีต่อมา ([[พ.ศ. 2376]]) [[ญวน]]เกิดเข้าไปแทรกแซงหาทางจะเอา[[เขมร]]เป็นของตน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพขึ้นไปสู้รบกับญวนอีก จนกระทั่งญวนยอมทำไมตรีกับไทยแล้ว และเหตุการณ์ในกัมพูชากลับเป็นปกติตามเดิมเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2391 ท่านได้ควบคุมบ้านเมืองในเขมรนานถึง 15 ปีเต็ม
 
ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ใช้หลักความเฉียบขาดในการบังคับบัญชา จึงได้ผลคือปราบปรามกบฏเจ้ายุติสงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ แห่งนครเวียงจันทน์ และได้ช่วยป้องกันเขมรจากญวนได้สำเร็จตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนำเกียรติคุณมาสู่ทหารไทยและประเทศไทยอย่างมากมาย
 
ปีที่กลับจากเขมรมานั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา มีอายุย่าง 71 ปี แต่ก็ยังเข้มแข็งสามารถรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ต่อมาจนกระทั่งถึงวันอาทิตย์ที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2392]] ก็ถึงอสัญกรรมด้วย[[อหิวาตกโรค]]ซึ่งระบาดชุกชุมในปีนั้น รุ่งขึ้นปี พ.ศ. 2393 จึงได้พระราชทานเพลิงศพที่[[วัดสระเกศ]]
 
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดี|สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองด้วง)]] [[พระเจ้ากรุงกัมพูชา]] ได้ทราบว่า เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ถึงแก่[[อสัญกรรม]]แล้ว [[พระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดี|องหริรักษ์]]ระลึกถึงบุญคุณครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ช่วยเหลือปราบปรามหมู่ปัจจามิตรทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ ใกล้[[วัดโพธาราม]]ในเมืองอุดงมีชัย (เมืองหลวงเก่าเมืองเขมร) แล้วให้พระภิกษุสุกชาวเขมรช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้น ปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาขึ้นไว้เป็นอนุสาวรีย์ด้วยปูนเพชร และประกอบการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋ง ชาวเขมรเรียกว่า "รูปองบดินทร" ตลอดมาจนบัดนี้ รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. 2392
 
จากผลงานและคุณงามความดีที่ปรากฏต่อประเทศชาติ ทำให้อนุชนรุ่นหลังสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อเคารพสักการะและระลึกถึงพระคุณของท่านหลายแห่ง เช่น เมืองอุดงมีชัย ประเทศกัมพูชา, วัดจักรวรรดิราชาธิวาส (วัดสามปลื้ม) , [[โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] , [[โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒]], [[นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา|โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา]], [[โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔]] , [[โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี]] , โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ ,[[โรงเรียนเทพลีลา]], วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร , ค่ายบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 อ.มะขาม จ.จันทบุรี , ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) , กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว , ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ 16 อ.เมือง จ.ยโสธร