ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
'''ภาษาจีน''' (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งใน[[ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต]] ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็น[[ภาษา]]เดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของ[[ภาษากลุ่มโรมานซ์]] เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง"
 
ประชากรประมาณ 1/52 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน [[ภาษาจีนกลาง]] หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็น[[ภาษาทางการ]]ของ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] และ[[สาธารณรัฐจีน]]หรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของ[[ประเทศสิงคโปร์]] (ร่วมกับ [[ภาษาอังกฤษ]] [[ภาษามาเลย์]] และ[[ภาษาทมิฬ]]) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ใน[[องค์การสหประชาชาติ]] (ร่วมกับ [[ภาษาอังกฤษ]] [[ภาษาอาหรับ]] [[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษารัสเซีย]] และ[[ภาษาสเปน]]) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ [[ฮ่องกง]] (ร่วมกับ[[ภาษาอังกฤษ]]) และ[[มาเก๊า]] (ร่วมกับ[[ภาษาโปรตุเกส]])
 
นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ [[อักษรจีนตัวเต็ม]] และ [[อักษรจีนตัวย่อ]]