ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันลอยกระทง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{ต้องการอ้างอิง}} ไฟล์:Loi krathong rafts Ban Khung Taphao.jpg|thumb|150px|กระทงทำจา..."
Matiia (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 202.29.178.244 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Loi krathong rafts Ban Khung Taphao.jpg|thumb|150px|กระทงทำจากวัสดุธรรมชาติ]]
 
'''วันลอยกระทง''' เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวัน[[ขึ้น 15 ค่ำ]] [[เดือน 12]] ตาม[[ปฏิทินจันทรคติไทย]] ตาม[[ปฏิทินจันทรคติล้านนา]] มักจะตกอยู่ในราวเดือน[[พฤศจิกายน]] ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]]บางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปี[[พ.ศ. 2544]]วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่[[31 ตุลาคม]]และจะมาตรงกันอีกครั้งในปี[[พ.ศ. 2563]]
ggwp
ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อ[[พระแม่คงคา]] บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอย[[พระพุทธบาท]]ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับ[[ประเทศไทย]]ประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น [[ประเทศลาว]]มักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา(ขึ้น15ค่ำ เดือน11)ในงาน[[ไหลเฮือไฟ]]ของลาว [[ประเทศกัมพูชา]] มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวงกลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน [[ประเทศเมียนมาร์]] ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้าย[[ดอกบัว]]บาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่[[เหรียญกษาปณ์]]ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมา[[พระแม่คงคา]]
 
== วันลอยกระทงในปฏิทินสุริยคติ ==
{{รอบปีนักษัตร|start=2539
|11-24|11-14|11-3|11-22|11-11|10-31|11-19|11-8|11-26|11-16|11-5|11-24
|11-12|11-2|11-21|11-10|11-28|11-17|11-6|11-25|11-14|11-3|11-22|11-11
|10-30|11-18|11-7|11-26|11-15|11-5
}}
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Loy Krathong Nov2004 SeanMcClean.jpg|thumb|200px|พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา]]
 
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้) ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัย[[พ่อขุนรามคำแหง]] มี[[นางนพมาศ]]หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำ[[ดอกโคทม]] ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป{{อ้างอิง}} ดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปอดกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้
 
== ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ==
[[ไฟล์:Chiang Mai, Yi Peng Festival 1.jpg|thumb|200px|โคมลอย]]
* [[ภาคเหนือ]]ตอนบน นิยมทำ[[โคมลอย]] เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวลม" หรือ "ว่าวไฟ" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่าง[[บัลลูน]] ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า '''[[ยี่เป็ง]]''' หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
** [[จังหวัดเชียงใหม่]] มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
** [[จังหวัดตาก]] จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
** [[จังหวัดสุโขทัย]] ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
* [[ภาคอีสาน]] ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า '''สิบสองเพ็ง''' หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
**[[จังหวัดร้อยเอ็ด]] ถือเป็นตัวแทนจัดงานลอยกระทงของภาคอีสาน ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดยมีชื่องานประเพณีว่า " สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป " ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ความพิเศษของงานมีการแสดง แสงสีเสียง ตำนานเมืองร้อยเอ็ด จัดให้มีการตกแต่งบริเวณเกาะบึงพลาญชัย(สถานที่จัดงาน)ให้เป็นเกาะสวรรค์ ตกแต่งสวยงาม ยิ่งใหญ่ มีขบวนกระทงอาเซียน มีการประกวดกระทงประทีปใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดกระทงอนุรักษ์ธรรมชาติ การประกวดขบวนแห่กระทงประทีป 12 หัวเมือง ตามตำนานเมืองร้อยเอ็ด การประกวดรำวงสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป การประกวดธิดาสาเกตนคร และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้จังหวัดร้อยเอ็ดยังได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ทั้งสองพระองค์ ทรงพระราชทานพระประทีปส่วนพระองค์ ร่วมลงลอยในบึงพลาญชัยทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
**[[จังหวัดสกลนคร]] ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำ[[ปราสาทผึ้ง]]โบราณ เรียกงานนี้ว่า[[เทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล]]
* [[ภาคกลาง]] มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
**[[กรุงเทพมหานคร]] จะมี[[งานภูเขาทอง]] เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
**[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
* [[ภาคใต้]] อย่างที่[[อำเภอหาดใหญ่]] [[จังหวัดสงขลา]] ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ใน[[จังหวัด]]อื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
 
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
 
== ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง ==
 
 
* เป็นการขอขมา[[พระแม่คงคา]] ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
* เป็นการสักการะรอย[[พระพุทธบาท]] ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทราย[[แม่น้ำนัมมทานที]] ในประเทศอินเดีย
* เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
* ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชา[[พระอุปคุต]] ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบ[[พระยาวสวัตตีมาราธิราช|พระยามาร]]ได้
* ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 วันลอยกระทง จะมีพิธี อาบน้ำเพ็ญ ในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่วงที่[[พระจันทร์]]อยู่กึ่งกลางพอดี และเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้อาบ จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
{{clear}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* ปัณณวัฒน์. ''ปฏิทิน 100 ปี พ.ศ. 2468-2568 คัมภีร์พยากรณ์คู่บ้าน.'' กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2550. ISBN 974-455-535-1
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Loi Krathong}}
 
{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล}}
[[หมวดหมู่:วันสำคัญของไทย|ลอยกระทง]]
[[หมวดหมู่:ประเพณีไทย]]